7 เม.ย. 2553

แม่วงก์... มนเสน่ห์แห่งไพร


ต้นน้ำอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
โดย ต๋อยแซมเบ้
จากการที่ได้มีการนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในหลาย ๆปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินเท้าเข้าน้ำตกแม่กระสา ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม โดยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินเท้าหลายชั่วโมง น้ำตกแม่กี่ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของเอเชีย และยอดเขาที่สูงที่สุดของผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้หลากหลายสายพันธุ์ สัตว์ป่านานาชนิด โดยพื้นป่าแห่งนี้ได้ต้อนรับผู้มายืนคนแล้วคนเหล้า ปีแล้วปีเล้า ทำให้ผู้ที่มาเยือนพื้นป่าแห่งนี้ได้จดจำทั้งความเหนื่อย เมื่อยล้า เพื่อที่จะไปให้ถึงยอดเขาที่สูงที่สุดในพื้นป่าแห่งนี้นามว่า โมโกจู คำ ๆ นี้เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวเขาซึ่งอาจจะแปรได้ว่าเหมือนฝนจะตก ซึ่งคำ ๆ นี้มิได้กล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงแม้แต่น้อย หากผู้ที่หลงไหนในธรรมชาติแล้วการเดินขึ้นพิชิตของโมโกจูเป็นความใฝ่ฝันของนักเดินป่า ผู้พิสมัยการใช้ชีวิตท่ามกลางป่าเขาลำนำไพร เสมือนการได้พิชิตยอดเอเวอเรสต์ก็มิปาน ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาถา (ภาษาสันสกฤต: หมายถึง หน้าผากแห่งท้องฟ้า) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาจีน: [จูมู่หลั่งหม่า] หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์< นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปาและนักปีนเขาบางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว กลับมาพูดถึงโมโกจู" ชื่อนี้อาจจะแปลกหูสำหรับคนทั่วไป บางคนยังคิดว่าเป็นชื่อที่มาจากแถวทวีปแอฟริกา แต่สำหรับนักเดินทางผู้นิยมไพรอย่างแท้จริงแล้ว มันคือความใฝ่ฝันที่ใครหลายๆคนปรารถนาจะได้ไปสัมผัสสักแม้ครั้งหนึ่งในชีวิต สำหรับบางคนแล้วครั้งเดียวคงจะไม่เพียงพอ จนมีคำพูดของนักนิยมไพรเป็นบทร้อยกรองไว้ให้เราได้ศึกษา ในบทกลอนนั้น ๆ โดยมีคำหลาย ๆ คำดังคำว่า ถ้าเวลาคือการเดินทาง....เข็มทิศก็คือจุดหมาย ความสุขมันไม่ได้เดินมาหาเราหรอก แต่มันรอให้เราเดินไปหามันต่างหาก น้ำแม่วงก์ลำน้ำสาขาสายสำคัญของแม่น้ำสะแกรัง และไหลรวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดอุทัยธานีแม่วงเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชน 2 ฝั่งแม่น้ำมาช้านาน ความยาวของลำน้ำกว่า 180 กิโลเมตร ใน จ.อุทัยธานี และ จ.นครสวรรค์ เป็นจุดก่อร่างสร้างเป็นวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำที่พึ่งพาอาศัย "น้ำ" กันมาช้านาน จนปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย ภัยแล้ง น้ำไม่พอ น้ำท่วม และน้ำเสีย แต่กระนั้นน้ำแม่วง ยังนับว่าเป็นแม่น้ำที่ยังมีชีวิต และเอื้อประโยชน์ต่อผู้คนอย่างมหาศาล จนอาจเรียกได้ว่าแม่วง เป็นแม่น้ำสายสุดท้าย ของผืนป่าตะวันตกที่ยังไม่ถูกสร้างเขื่อนป่าต้นน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงที่มีลำน้ำสาขามากมายที่ไหลมารวมกัน เดิมผืนป่าแม่วงมีการสัมปทานป่าไม้การบุกเบิกการเกษตร การลักลอบตัดไม้ และการสัมปทานป่าไม้ โดยเฉพาะไม้สัก จนมีสภาพป่าเสื่อมโทรม ไม้ใหญ่ถูกตัดจนเกือบหมด จนเมื่อปี พ.ศ.2530 กรมป่าไม้ได้มีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ผืนป่าแห่งนี้จึงได้รับการอนุรักษ์และมีการฟื้นตัวตามธรรมชาติกลับมาอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากรายงานแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (2542-2546) พบว่าผืนป่าแม่วงมีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ มีสภาพป่าหลายประเภททั้งป่าดิบเขา ดิบแล้ง เบญจพรรณและเต็งรัง พบสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 549 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่น้อยกว่า 57 ชนิด นก 196 ชนิด ปลา 68 ชนิด เป็นต้น มีสมเสร็จ และเลียงผา เป็นสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง หมาจิ้งจอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ เสือโคร่ง เสือดำหรือเสือดาว วัวแดง หมีควาย นาก ชะนี นกเงือกกรามช้าง เป็นต้น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ยังประกอบด้วยป่าหลายประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ ซึ่งสำรวจพบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด และมีลักษณะพิเศษ คือมีไม้สักเป็นไม้เด่น โดยเฉพาะไม้สักที่กำลังฟื้นตัวขึ้นตามธรรมชาติขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น มีขนาดเส้นรอบวงโดยเฉลี่ย 80 ซม. อีกทั้งยังพบว่าเนื้อไม้สักมีสีทอง หรือที่เรียกว่า "สักทอง" ซึ่งในประเทศไทยจะพบผืนป่าสักทองธรรมชาติเช่นนี้เพียง 2 แห่งคือ ที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เท่านั้น นับเป็นพื้นที่ป่าที่รักษาพันธุกรรมสักตามธรรมชาติที่สำคัญ ป่าแม่วงก์จัดว่าเป็นป่าเต็งรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีไม้เต็งรัง พลวง ตะแบกเลือด ขึ้นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีความหนาแน่น 86.61 ต้น/ไร่ ลูกไม้ 656 ต้น/ไร่ และกล้าไม้ 2,270 ต้น/ไร่ ป่าดิบเขามีสภาพภูมิประเทศเป็นเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาถนนธงชัย มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม โดยมีเขาโมโกจูเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุด 1,964 ม.รทก. และเป็นต้นน้ำของน้ำแม่วงก์ ป่าดิบแล้ง พบพันธุ์ไม้ในวงยาง มีลูกไม้ขึ้นปกคลุมพื้นล่างอยู่อย่างหนาแน่น มีพันธุ์ไม้กว่า 43 ชนิด นอกจากนี้แม่วงก์ยังเป็นผืนป่าส่วนหนึ่งของป่าตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลกแห่งเดียวในประเทศไทย รวมเป็นป่าอนุรักษ์ที่ต่อเนื่องกันเป็นป่าผืนใหญ่กว่า 12 ล้านไร่ ถือเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเชื่อมโยงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และผืนป่าอนุรักษ์อื่นๆ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและชีวิตความเป็นอยู่ทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถเคลื่อนย้ายหากิน เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งรักษาพันธุกรรมที่สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้อยู่ได้ ป่าแม่วงก์ยังเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ยอดเขาโมโกจู ที่มีความสูงกว่า 1960 เมตร ร.ทก. น้ำตกแม่กะสา ซึ่งสูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีทั้งหมด 9 ชั้น รวมความสูง 900 เมตร บางชั้นมีความสูงกว่า 270 เมตร น้ำตกแม่เรวา มี 5 ชั้น บางชั้นมีความสูงกว่า 100 เมตร น้ำตกแม่กี่ -น้ำตกแม่วงก์ ที่มีความสวยงามมาก ซึ่งแหล่งธรรมชาติเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์กับคนท้องถิ่นและประเทศได้อย่างมาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวปีละ 30,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ต้นเหตุความขัดแย้ง…ลุ่มน้ำวิกฤต ลุ่มน้ำแม่วงจัดว่าอยู่ในสภาพที่วิกฤตอย่างยิ่ง นับตั้งแต่การขยายตัวของพื้นที่การเกษตรเป็นจำนวนมาก ในกิ่งอำเภอแม่วง และ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ จนน้ำในลำน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อประชาชนท้ายน้ำโดยเฉพาะในเขตอ.สว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.อุทัยธานี จนเกิดปัญหาน้ำเสียในเขตเมือง การขยายพื้นที่ทำการเกษตรในลักษณะพืชไร่เชิงเดี่ยว ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างและพังทลายของหน้าดิน ดินเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว มีการใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดมลพิษตามลำน้ำ ในขณะเดียวกัน ก็เกิดน้ำท่วมในที่ลุ่มและน้ำขัง ไม่สามารถระบายออกไปได้ เนื่องจากแนวถนนหลายสายได้กีดขวางทางน้ำ ท่อน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และในกรณีที่เกิดน้ำเอ่อหนุนจากแม่น้ำเจ้าพระยา (เหนือเขื่อนเจ้าพระยา) ยิ่งทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกไปได้ แม่น้ำวงและลำน้ำสาขามีสภาพตื้นเขิน ท้องน้ำมีแต่ตะกอนทราย เขื่อนขนาดเล็กและฝายต่าง ๆ ก็ตื้นเขินจากตะกอนทรายเช่นเดียวกัน ไม่สามารถรองรับน้ำได้เท่าที่ควร เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้แล้ว การลดลงของพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำ ก็เป็นปัจจัยทำให้ปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ในช่วงปี พ.ศ.2504-2538 จ.นครสวรรค์และ จ.อุทัยธานี มีพื้นที่ป่าลดลงถึง 2.8 ล้านไร่ มีการประเมินว่าลุ่มน้ำแม่วง มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ไม่ถึง 15 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และตอนบนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเท่านั้น จากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ลุ่มน้ำแม่วง อยู่ในภาวะวิกฤตเป็นอย่างยิ่ง เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ น้ำไม่พอใช้ น้ำท่วมขัง ฯลฯ การแก้ไขปัญหาของลุ่มน้ำ จึงต้องพิจารณาแก้ไขที่สาเหตุของปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และยั่งยืน อย่างไรก็ตาม น้ำแม่วงยังเป็นแม่น้ำที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดทั้งปี (ช่วงที่ไหลในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์) ปัจจุบันคาดว่าในประเทศไทยมีแม่น้ำไม่ถึง 10 สายที่ยังมีน้ำไหลตลอดทั้งปีเช่นนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ จึงนับว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ คือ ป่าต้นน้ำที่ป้อนน้ำให้กับประชาชนในลุ่มน้ำแม่วง แต่ความล้มเหลวในการบริหารการใช้ประโยชน์ที่ดิน และขาดประสิทธิภาพในการจัดการน้ำ ที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำแม่วง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมขัง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น เขื่อนแม่วงศ์เสียมากได้ ท่ามกลางปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ความพยายามในการจะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังนั้นกลับมีอยู่น้อยมาก และมีความพยายามจะทำให้เห็นว่ามีเพียงทางเดียวเท่านั้นในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด นั่นคือการสร้างเขื่อนแม่วง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขื่อนแม่วงถูกนำเสนอโดยกรมชลประทาน มาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเขื่อนขนาดใหญ่มีความสูง 57 เมตร ยาว 730 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 11,000 ไร่ ที่ระดับเก็บกักน้ำปกติ และ 12,375 ไร่ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด จะกักเก็บน้ำใช้งานได้ 230 ล้านลูกบาศทเมตร เพื่อพื้นที่ชลประทานเดิม 230,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานใหม่ 61,000 ไร่ และประเมินราคาก่อสร้างเมื่อปี 2539 จะใช้งบประมาณถึง 4,043 ล้านบาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือการสร้างเขื่อนแม่วง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าทันทีไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ ประเมินในเชิงปริมาณว่าจะมีไม้ใหญ่ 556,614 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้ 147,410 ลบ.ม. ในจำนวนนี้เป็นไม้สักกว่า 57,913 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้ 12,260 ลบ.ม. และรวมถึงลูกไม้ 3,923,128 ต้น และกล้าไม้ 12,344,904 ต้น ต้องถูกน้ำท่วม หรือคิดง่าย ๆ ว่าในพื้นที่ 1 ไร่ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ 80 ต้น เป็นไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น ซึ่งหากใช้เวลาในการปลูกไม้เหล่านี้ต้องใช้เวลานับสิบปี และอีกหลายสิบปีกว่าที่ไม้จะโตได้มากขนาดนี้ ในเชิงคุณภาพ ป่าที่ราบลุ่ม (ไม่เกิน 300 ม.รทก.) จะมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่าป่าที่อยู่ในพื้นที่สูง และพื้นที่มีลักษณะแตกต่างจากกันในการดำรงชีพของสัตว์ป่า ป่าที่ราบลุ่ม มีความสำคัญมากต่อสัตว์ป่า และเป็นพื้นที่ที่สัตว์ป่าต้องใช้ประโยชน์ ทั้งแบบชั่วคราว และบางชนิดจะอาศัยอยู่ได้เฉพาะที่ราบลุ่มเท่านั้น เช่น เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ แหล่งหากินที่สำคัญของสัตว์ป่า โดยเฉพาะในหน้าแล้ง สัตว์ป่าบางชนิดจะอาศัยอยู่เฉพาะที่ลุ่มหรือใกล้แม่น้ำ เท่านั้น ป่าที่ลุ่ม เช่นในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน เพราะหากไม่กลายเป็นที่ตั้งบ้านชุมชนหรือทำเกษตรกรรมแล้ว ก็จะมีการสร้างเขื่อนท่วมพื้นที่ป่าที่ลุ่มไปจนเกือบจะหาไม่ได้แล้วในประเทศไทย ป่าที่ราบลุ่ม ในอุทยานแห่งชาติแม่วง เป็นแหล่งน้ำ เส้นทางเดินของสัตว์ป่า และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า หากถูกน้ำท่วม อ่างเก็บน้ำจะเป็นตัวกีดขวางทางเดินของสัตว์ป่า (พื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์จะถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อน) และแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น 2 ส่วน จึงนับเป็นการสูญเสียในด้านระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้ ยังไม่นับการสูญเสียที่จะตามมาจากการสร้างเขื่อนในป่า ดังจะเห็นได้จากเขื่อนหลายแห่ง เช่น เขื่อนทับเสลา ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ปรากฏว่าภายหลังการสร้างเขื่อนเพียงไม่กี่ปี ป่าต้นน้ำเหนือเขื่อนก็ถูกบุกรุกทำลายไปเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนเขาแหลม ก็มีการบุกรุกพื้นที่ป่านับแสนไร่ และเป็นปัญหาที่ยากในการแก้ไขดังเช่น ที่เห็นในปัจจุบันกรณีบ้าน 3 หลัง การสูญเสียระบบนิเวศจากการสร้างเขื่อนแม่วง จึงเป็นการสูญเสียที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคนในลุ่มน้ำแม่วงในระยะยาว หากผืนป่าแม่วงต้องถูกทำลายไปจนส่งผลกระทบต่อความสามารถของป่าในการป้อนน้ำให้กับคนในลุ่มน้ำ และจะทำให้ปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำรุนแรงมากกว่าในปัจจุบัน ทางออก มีมากกว่าการสร้างเขื่อนการที่ปัญหาในลุ่มน้ำแม่วง มีอยู่มาก และสะสมมาเป็นระยะนานนับสิบปี การแก้ไขจึงไม่สามารถจะใช้วิธีการใด วิธีการหนึ่ง แต่หากจะต้องมีการผสมผสานวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ซึ่งจะทำให้สามารถการแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร ยั่งยืน มากกว่าการสร้างเขื่อนแม่วง แหล่งน้ำขนาดเล็กใกล้บ้าน ไม่สูญเสียน้ำ แหล่งน้ำขนาดเล็ก ถือเป็นการกักเก็บน้ำแบบหนึ่ง จึงควรมีการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งถึงแม้ว่าจะกักเก็บน้ำได้น้อย แต่จะมีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมากกว่า ลดการสูญเสียน้ำในการขนส่งน้ำ ซึ่งมีการสูญเสียน้ำมากกว่า 50-60 % และหากมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วยก็จะ สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำได้มากซึ่งหากนำงบประมาณที่จะใช้สร้างเขื่อน 4,000 กว่าล้านบาท(เมื่อปี 2539 ปัจจุบันอาจมากกว่า 7,000 ล้านบาท) มาใช้ก็อาจช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมได้มากกว่าที่จะได้จากการสร้างเขื่อนแม่วง ทั้งนี้ หากนำงบประมาณในการสร้างเขื่อน มาใช้ในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งมีทั้งหมด 22 ตำบล 136 หมู่บ้าน จะทำให้ท้องถิ่นมีงบประมาณในการจัดหาน้ำอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่นไม่น้อยกว่า ตำบลละ 200 ล้านบาทหรือหมู่บ้านละ 30 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้น้ำเท่านั้น แต่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในทุกๆ ด้าน เช่น การพัฒนาอาชีพ ฯลฯ อนึ่ง จากการศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง (2537) พบว่าการสร้างเขื่อนแม่วงตอนบนจะแก้ไขการขาดแคลนน้ำได้เพียง 19 % เท่านั้น (เขื่อนแม่วงตอนล่างแก้ได้ 56 %) และเขื่อนแม่วงยังอาจเป็นไม่มีน้ำกักเก็บตามที่คาดการณ์ไว้ จากความความแปรปรวนของปริมาณน้ำท่า เช่น เขื่อนทับเสลาที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเฉลี่ยไม่ถึง 60 % ของความจุอ่างเก็บน้ำ2. คืนชีวิต..ฟื้นฟูแม่น้ำลำน้ำสาขาของแม่วงหลายแห่ง ณ ปัจจุบันมีสภาพเหมือนแม่น้ำที่ตายแล้ว คือมีสภาพตื้นเขินและมีแต่ตะกอนทราย ทำให้ประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำในลำน้ำลดลงน้อย และมีผลต่อการทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น การฟื้นฟูแม่น้ำ ด้วยการขุดลอกทราย และขจัดสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำ จะทำให้แม่น้ำมีส่วนบรรเทาปัญหาได้ รวมถึงการขุดลอกตะกอนหน้าฝาย ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของฝายลดลง ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ 3. สู่การเกษตรยั่งยืนหากยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชอย่างไม่เหมาะสมกับสภาพของดินและน้ำ ดังเช่นที่ผ่านมา ก็เชื่อว่าถึงแม้ว่าจะมีการสร้างเขื่อนแม่วงขึ้นก็จะไม่สามารถจ่ายน้ำได้อย่างเพียงพอ จะเกิดการแย่งชิงและความขัดแย้งในการใช้น้ำมากขึ้น ดังเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ความเหมาะสมของดินและน้ำ ในลักษณะเกษตรผสมผสาน จึงเป็นการจัดการด้านความต้องการน้ำให้เกิดความสมดุล กรณีเขื่อนทับเสลา ก็พบว่าเพียงระยะเวลาไม่กี่ปีหลังจากการสร้างเขื่อน ก็เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำขึ้นมาอีกเหมือนเดิม เพราะการปลูกพืชไม่เหมาะสมกับน้ำที่มีอยู่ (ไม่นับที่มีการขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นมากเกินไป) 4. ป่าต้นน้ำ…แหล่งเก็บน้ำถาวร ป่าต้นน้ำซึ่งเปรียบเหมือนแหล่งผลิตน้ำถาวร และเป็นความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งของลุ่มน้ำ ทำให้ปริมาณฝนตกเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงมา น้ำท่าในฤดูแล้งลดลง นอกจากนี้ป่าสามารถช่วยชะลอการไหลของน้ำมิให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน กักเก็บน้ำซึมลงในดินและปล่อยออกมาในช่วงฤดูแล้งได้ การที่ป่าต้นน้ำที่เหลืออยู่ไม่ถึง 15 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำ จึงเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ซึ่งหากยังปล่อยให้มีการบุกรุกตัดไม้ ทำลายป่า ล่าสัตว์ ต่อไปอีก ทั้งปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้การฟื้นฟูป่าในชุมชน ป่าริมแม่น้ำ จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของพื้นที่ ลดการระเหยของน้ำได้ 5. ปรับปรุงประสิทธิภาพชลประทาน ได้น้ำเพิ่มขึ้น 10 %จากการศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง (2537) พบว่าหากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการจ่ายน้ำในพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นอีก 10 % จะทำให้มีน้ำชลประทานเพิ่มขึ้น 264 ล้านลบ.ม./ปี ซึ่งมากกว่าน้ำที่จะได้จากเขื่อนแม่วง (230 ล้านลบ.ม.) เสียอีก ซึ่งหากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบชลประทาน จะทำให้ประหยัดงบประมาณหลายพันล้านบาท และไม่มีผลกระทบต่อป่าไม้ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นอกจากนี้ ควรหยุดการขยายพื้นที่ชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ ใช้เงินลงทุนสูง และทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างคนที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานและไม่ได้อยู่ จึงควรให้ความสำคัญกับการชลประทานขนาดเล็กที่เหมาะสมกับพื้นที่ กระจายให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 6. สร้าง "แก้มลิง" ป้องกันน้ำท่วมจากข้อมูลน้ำฝนรายปี พบว่าฝนมีการกระจายทั่วไปในพื้นที่ลุ่มน้ำ ดังนั้นไม่มีประโยชน์แต่อย่างไรที่จะสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำ การป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม จึงควรมีการสร้าง "แก้มลิง" หรือพื้นที่รับน้ำหลากในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม การขุดลอกคูคลองให้สามารถระบายน้ำท่วม และที่สำคัญจะต้องทำลายสิ่งกีดขวางการระบายของน้ำ โดยเฉพาะ "ถนน" ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นทราบดีว่าถนนหลายสายเช่น สายลาดยาว-เขาชนกัน คือตัวการที่กักน้ำให้”ท่วมขัง” ไม่สามารถระบายไปไหนได้ จนสร้างความเสียหายให้กับพืชผลการเกษตรและพื้นที่ในเขตอำเภอลาดยาว ในขณะที่การสร้างเขื่อนแม่วงตอนบน สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้เพียง 25 % เท่านั้น ตอนล่างแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ 62 % จากรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(เพิ่มเติม) 2540) เพราะเป็นเขื่อนแม่วงตอนบนตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ มีพื้นที่รับน้ำเพียง 11.8 %ของพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกรังเท่านั้น การสร้างเขื่อนแม่วงในพื้นที่ต้นน้ำจึงไม่มีประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วม 7. การสร้างเขื่อนนอกป่าหากได้มีการตรวจสอบจากสาธารณะเป็นที่ชัดแจ้ง ว่าเขื่อนจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนและน้ำท่วมได้จริง ก็ควรมีการดำเนินการก่อสร้างนอกพื้นที่ป่า ซึ่งอาจมีการลดขนาดเพื่อลดปัญหาด้านสังคม ทั้งนี้ควรจะมีการดูแลผลกระทบด้านสังคมอย่างดีและให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วม แนวทางออกข้างต้น จึงควรได้รับการพิจารณาให้ความสำคัญและควรดำเนินการในทันทีไม่ว่าจะมีการสร้างเขื่อนหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที ดีกว่าจะมารอการสร้างเขื่อนและไม่ทำให้ชาวบ้านคิดแต่เพียงการสร้างเขื่อน เพราะเข้าใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยไม่มีการคิดหาแนวอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหา น้ำแม่วง สายน้ำสุดท้ายของป่าตะวันตก ที่ยังมีชีวิตและไม่ถูกกั้นทำลายจากการสร้างเขื่อน ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ แหล่งรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทั้ง ป่า สัตว์ป่า และป่าต้นน้ำสุดท้ายของลุ่มน้ำแม่วง ที่เป็นแหล่งป้อนน้ำให้กับคนทั้งหมดในลุ่มน้ำ จะอยู่ต่อไปก็เพื่อประโยชน์ของคนในลุ่มน้ำทั้งหมดนั่นเอง เอกสารอ้างอิง 1. เอกสารประกอบข้อมูลพื้นฐานแผนแม่บทการจัดการพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ - กำแพงเพชร 2542 2. รายงานการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน้ำ โครงการแม่วง กรมป่าไม้ 2537 การศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง สำนักงาน 3. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(เพิ่มเติม) กรมชลประทาน 2540

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น