29 เม.ย. 2553

หมู่บ้านกล้วยไม้ฟ้ามุ่ย อูมฮวม




อูมฮวม : หมู่บ้านฟ้ามุ่ย หมู่บ้านอูมฮวม ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย
กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยจากหมู่บ้านอูมฮวม ซึ่งเป็นดินแดนของกล้วยไม้ฟ้ามุ่ย เพราะชาวบ้านอูมฮวมซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่า ถ้าบ้านไหนปลูกฟ้ามุ่ยได้งอกงามมีดอกดก ก็จะนำความรุ่งเรืองมาสู่ครอบครัวนั้น ทุก ๆ บ้านจึงมีกระถางกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยขนาดใหญ่แขวนให้เห็นกันอยู่ทั่วไปการเดินทางเข้าหมู่บ้านดังกล่าวมีช่องทางเดินเข้าได้หลายทาง กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยที่หมู่บ้านอูมฮวมเป็นกล้วยไม้ป่าขนานแท้ ไม่ใช่ฟ้ามุ่ยลูกผสมที่ขายกันอยู่ตามตลาดต้นไม้ หากใครอยากไปชมความเป็นธรรมชาติ และชมกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยที่เป็นกล้วยป่าแท้ ๆ ซึ่งจะออกดอกตั้งแต่พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ก็ลองไปเที่ยวอูมฮวมดูนะครับ

เส้นทางแรก การเดินทางไปหมู่บ้านอูมฮวมไปได้หลายทาง ทางแรกคือ เดินทางโดยเรือหางยาวจากเขื่อนภูมิพลไปยังหมู่บ้านอูมวาบ (ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของตำบลบ้านนา ก่อนทีน้ำจะท่วมหมู่บ้านบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนฯ จากนั้นเดินทางด้วยการเดินเท้าไปยังหมู่บ้านอูมฮวมโดยใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งต้องระวังช่วงเวลาที่ช้างป่าออกหากินด้วย พยายามหลีกเวลาให้ดี อย่าให้ไปเจอกันจะดีที่สุดถ้าเจอก็ตัวใครตัวมัน

เส้นทางที่สองเป็นอีกเส้นทางหนึ่งก็เดินทางโดยเรือหางยาวจากเขื่อนภูมิพลไปยังหมู่บ้านหินลาดนาไฮ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง เช่นกัน แต่เมื่อไปถึงหมู่บ้านหินลาดนาไฮแล้วก็จ้างมอเตอร์ไซต์ไปส่งยังหมู่บ้านอูมฮวม คันละ 600 บาท ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเวลาถึงทางที่ชันมาก ๆ คนจ้างที่ซ้อนท้ายไปก็ต้องลงมาช่วยดันรถมอเตอร์ไซต์ให้ขึ้นเขาด้วย ก็สนุกไปอีกอย่างหนึ่งแต่ช่วงหน้าฝนจะเข้าลำบากพอสมควร หรืออาจเข้าไม่ได้เลย

เส้นทางที่สามสำหรับเส้นทางสุดท้ายเป็นเส้นทางบนเขาผ่านทางหมู่บ้านหนองหลวงของอำเภอแม่ระมาด เดินทางด้วยรถโฟร์วิลล์ ประมาณ 5 ชั่วโมง (เส้นทางนี้สามารถทะลุถึงอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ได้)

26 เม.ย. 2553

เดินป่า วิธีการเดิน สำหรับนักเดินมือใหม่



การเดินป่า วิธีการเดินป่า สำหรับนักเดินมือใหม่
ในการเดินป่าย่อมจะมีจุดหมายปลายทางที่เรากำหนดไว้ว่าจะต้องไปให้ถึง แต่บางครั้งการเดินทางสู่จุดหมายอาจจะมีทางเลือกให้เดินหลายเส้นทาง แต่เราควรจะพิจารณา ถึงหลัก 3 ประการคือ ความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง และระยะทางซึ่งทั้ง 3 ประการนี้ เราจะต้องนำมาพิจารณาเข้าด้วยกัน เพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทาง แต่ทว่าในเส้นทางนั้นอาจมีอุปสรรค สิ่ง กีดขวาง หรือภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป เราจึงมีข้อแนะนำถึงวิธีการเดินผ่านภูมิประเทศต่าง ๆ ดังนี้
การเดินทางตามสันเขา ... โดยทั่วไปแล้วเส้นทางเดินบนสันเขาจะเดินได้ง่ายกว่าการเดินตามหุบเขา ทางเดินของสัตว์มักจะผ่านไปบนสันเขาบ่อย ๆ และสัตว์ต่าง ๆ อาจจะใช้เส้นทางนี้ในการเดินก็ได้ นอกจากนี้บนสันเขามักจะมีต้นไม้หรือพันธุ์พืชต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคกีดขวางการเดินขึ้นอยู่น้อยมาก แต่จะมีจุดสูง ๆ ที่เราสามารถขึ้นไปสังเกตภูมิประเทศเบื้องล่างได้อีกด้วย การเดินบนสันเขาจะช่วยให้เราประหยัดพลังงานได้เยอะทีเดียว เพราะเราไม่ต้องปีนขึ้นปีนลงหรือลุยข้ามลำน้ำ ลำห้วย ดังจะเห็นได้จากชาวเขาที่มักชอบเดินตามสันเขาและมักจะเลี่ยงที่สูงชันหรือหุบเหว แต่การเดินบนสันเขาก็จะมีปัญหาอยู่บ้างเหมือนกัน คือ บนสันเขามักมีหลายเส้นทางทับกันอยู่อย่างสับสน อาจจะทำให้หลงทางได้ง่าย ดังนั้นจึงควรต้องทำการตรวจสอบทิศทางกับเข็มทิสหรือด้วยวิธีอื่นอยุ่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาในการหลงทาง
การเดินทางตามลำห้วย ...ในบริเวณริมลำห้วยต่าง ๆ จะมีความชื้นสูง ทำให้มีพันธุ์ไม้รกทึบยากแก่การเดินทาง ดังนั้นการเดินทางจึงมีความลำบากและเป็นไปอย่างล่าช้า บางแห่งเป็นปลักโคลน ทำให้พืชที่เป็นเครือเถาขึ้นอยู่หนาแน่น รวมทั้งพืชที่ทำให้คัน เช่น หมามุ่ยชอบขึ้นอยู่ด้วย หากจะต้องเดินในลำน้ำควรจะต้องระวังความลื่นที่เกิดจากก้อนหินกับตะไคร่น้ำที่เกาะอยู่ หินทรายในน้ำมักจะลื่น แต่ถ้าเป็นหินอัคนีก็จะมีความลื่นมาก จึงไม่ควรเดินในลำน้ำที่มีหินอัคนีเป็นพื้น เพราะจะทำให้ลื่นได้ง่ายมาก ในบริเวณป่าห่างจากชุมชนไม่นานนัก ตามริมลำห้วยมักจะมีทางเดินของชาวบ้านที่มาหาปลาอยู่ด้วยเสมอ แต่จุดที่จะใช้ตรวจสอบกับแผนที่ได้ก็คือ หน้าผาริมน้ำหรือริมห้วยต่าง ๆ การเดินทางตามลำห้วย มีข้อดีตรงที่เราสามารถหาน้ำและอาหารเพื่อบริโภคได้ง่าย นอกจากนี้ยังต้องระวังงูซึ่งมักอยู่ใต้หลืบหินและขอนไม้ ต้นไม้ริมน้ำด้วยนะครับ
การเดินทางตามชายฝั่งทะเล ...โดยปกติตามชายฝั่งทะเลมักจะมีความยาวและอ้อมโค้ง แต่นั่นก็เป็นแนวหลักที่ดีที่สุดในการหาทิศและยังหาอาหารได้ง่ายอีกด้วย ชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายหรือว่าชะง่อนหิน ก็จะมีความสะดวกในการเดินทางพอประมาณ แต่หากเป็น หาดเลนที่มีป่าเลนน้ำเค็มขึ้นอยู่ จะเป็นอุปสรรคที่กีดขวางการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง ควรที่จะหาทางเดินอื่นหลีกเลี่ยงไป
การเดินทางในป่าทึบ ...การเดินทางในป่าทึบนั้นจะต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุด และนักเดินป่าที่ดีนั้นย่อมเป็นผู้ที่รู้จักใช้เสียงในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น ในการเดินป่า เราจะต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น หู ตา จมูก และสัมผัสที่เราต้องใช้ให้น้อยที่สุดคือ เสียง ที่จะต้องใช้ในตอนหยุดพัก ในแต่ละชั่วโมงหรือเมื่อมีเหตุจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ดังนั้นนักเดินป่าที่ดีจึงต้องฝึกตนเองให้มีความสามารถเดินผ่านป่ารกทึบอย่างเงียบ ๆ ได้อยู่เสมอ โดยจะค่อย ๆ แหวกต้นไม้ไป ซึ่งอาจจะมีโอกาสได้พบเห็นสัตว์ป่าได้อีกด้วย ต้องระวังอย่าให้กิ่งไม้ครูดเป็นแผลหรือถลอกฟกช้ำ และระวังอย่าเดินหลงทางจะทำให้เสียกำลังใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรต้องจดจำเอาไว้ อย่า ใสใจกับต้นไม้ พุ่มไม้ที่อยู่ตรงหน้าเรามากนัก ให้ใช้สายตามองออกไปไกล ๆ อย่าสักแต่ว่ามองดูป่า จงมองให้ทะลุปรุโปร่ง ควรจะหยุดเดินบ้างเป็นครั้งคราว สำรวจดูตามพื้นดิน คอยเงี่ยหูฟังเสียงต่าง ๆ และสังเกตทิศทางเอาไว้ให้ดี ๆ ในพื้นที่ ๆ มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ควรใช้มีดตัดป่าตัดเป็นช่องพอที่จะเดินผ่านไปได้เท่านั้น การ ตัดไม้ด้วยมีดควรใช้มีดฟันเฉียงขึ้นหรือเฉียงลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดเสียงเบากว่าการฟันอย่างช้า ๆ เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายพันธุ์แล้วยังก่อให้เกิดเสียงดังได้ยินไปก้องป่า
สัตว์ป่ามักจะใช้เส้นทางด่านสัตวืในการเดิน ทางด่านสัตว์นี้มักคดเคี้ยว วกวน แต่ก็จะนำเราไปสุ่แหล่งน้ำหรือที่โล่งได้ ถ้าเราจะเดินตามต้องตรวสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นทิศทางเดียวกับที่เราต้องการไป โดยหมั่นตรวจสอบทิศทางอยู่เสมอเมื่อเดินไปตามทิศทางนั้น
เมื่อจำเป็นที่จะต้องปีนต้นไม้เพื่อสังเกตการณ์หรือเก็บอาหารต้องลองตรวจสอบดูเสียก่อนว่ากิ่งไม้
ข้อแนะนำก่อนการเดินป่า จากข้อมูลพื้นฐานในหนังสือแหล่งท่องเที่ยวครับ
วางแผนเรียบร้อย ไปจนถึงที่เริ่มเดินเท้าแล้ว เราจะต้องตรวจดูความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ทุกชิ้นก่อนว่าอยู่ครบถ้วนหรือไม่ โดยปกติแล้วเมื่อเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ลงในเป้หลังแล้ว จะพบว่าข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ จะมีที่ที่เหมาะสมของมันอยู่แล้วตามช่องเป้หลังต่าง ๆ เมื่อท่านเริ่มเดินป่าไปหลาย ๆ ครั้ง ทุกอย่างก็จะเข้าที่ไปโดยอัตโนมัติ แต่ช่วงแรกควรถามผู้ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน จะทำให้เราได้รับความรู้และประโยชน์มากที่สุด ก่อนจะเริ่มเดินทางสัก 30 นาที ขอให้ดื่มน้ำให้อิ่มและเติมน้ำในกระติกให้เต็ม เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องเก็บไว้ใช้ และขอแนะนำว่าให้นำอาหารแห้งเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋องและข้าวสารใสไปในสัมภาระส่วนตัวของคุณสัก 1 ชุดไว้ก่อนเสมอ ในกรณีที่มีคนหาบสัมภาระให้ แต่ถ้าหากไม่มีคนหาบก็ขอให้แบ่งอาหารกระจายไปในกลุ่มโดยทั่วถึงกันเป็นชุด ๆ เผื่อว่าในกรณีที่พลัดหลงกันจะได้มีอาหารรับประทานกันทุกคน และอีกอย่างหนึ่งที่จะละเลยกันไม่ได้ก็คือ การศึกษาเส้นทางที่เราจะเดินทางไป เพราะในบางครั้งอาจมีลำธารมาขวางกั้น หรืออาจมีป่าทึบมากจนไม่สามารถ ผ่านไปได้ ทำให้เราต้องเปลี่ยนทิศทางในการเดิน หรือถ้าคุณต้องการเดินทางไปให้ถึงหมู่บ้านของชาวบ้านท้องถิ่นให้เดินลำะารและแม่น้ำ เพราะชาวบ้านมักจะอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำชุมทางแม่น้ำทุกแห่ง มักจะเป็นเส้นทางการคมนาคม และประกอบการค้าของชาวบ้านเสมอ เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการผจญภัยให้เต็มที่ จึงควรตรวจดูแผนที่และทิสทางก่อนที่จะเริ่มออกเดินทางด้วย
เมื่อทุกอย่างได้เตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางแล้ว เราก็เริ่มออกเดินทางกันได้เลย ในการเดินทางนั้นควรจะเดินไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเดินทางเป็นเส้นตรงเลยทีเดียว เมื่อพบว่าจะมีสิ่งกีดขวาง ก็ให้พยายามใช้วิธีหลีกเลี่ยงเพื่อเป็นการออมกำลังไว้ จึงไม่ควรใช้กำลังฝ่าอุปสรรคนั้นเข้าไปโดยไม่จำเป็น เช่น เดินหลบเลี่ยงไปสักหน่อยดีกว่าที่เราจะต้องใช้กำลังบุกฝ่าป่าที่รกทึบเข้าไป เพียงเพราะมองเห็นแค่ระยะทางสั้นกว่า และในการเดินป่าไม่ควรเดินอย่างรีบร้อน แต่ควรเดินพิจารณาไปอย่างช้า ๆ และมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามทางเดิน ตลอดเวลาของการเดินทางต้องใช้ความระมัดระวังให้เป็นพิเศษ อย่าเดินด้วยความซุ่มซ่าม เพราะจะทำให้เกิดการฟกฟ้ำดำเขียวหรือบาดแผลขึ้นกับตัวเราได้ ต้องฝึกตัวเองให้เป็นคนที่มีสายตาว่องไว และคุ้นเคยกับสภาพของป่า นั่นคือการหัดสังเกตสิ่งที่กีดขวางให้ดีเสียก่อน ซึ่งการใช้สายตาในการสังเกตจะใช้ 2 ลักษณะคือ
1. ใช้สายตามองแบบกว้าง ๆ เมื่อตอนแรกที่เรามองป่า ก็มองสภาพทั่ว ๆ ไปของป่า ก้มองสภาพทั่ว ๆ ไปของป่า กวาดสายตาไปอย่างรวดเร็วให้ทั่วบริเวณนั้น เก็บสภาพทั่ว ๆ ไปของบริเวณนั้นเอาไว้ก่อน เช่น ลักษณะของป่า ลักษณะของกลุ่มไม้ แนวเส้นทาง ฯลฯ
2. ใช้สายตามองเฉพาะจุด เมื่อเรามองสภาพทั่ว ๆ ไป ของป่าแล้ว จากนั้นให้มองพิจารณาจุดเด่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือมีสีสันที่แปลกออกไปจากต้นอื่น ๆ ที่สังเกตและจำได้ง่าย นักเดินป่าที่ดีไม่ควรใช้เสียงในการเดินทาง หากจำเป็นก็ขอให้เสียงที่ใช้นั้นเบาที่สุดและน้อยครั้งที่สุด ใช้ประสาททั้งหมดจดจ่ออยู่กับธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งประสาทตา ประสาทหูและประสาทจมูก ควรทำการตรวจสอบทิศทางในการเดินทางอยู่เสมอ คือควรจะรู้ว่าตัวเราและคณะกำลังมุ่งไปทิศทางใดบ้าง เช่น มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกบางครั้งก็หักเหไปทางตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย พอหยุดพักก็หมั่นตรวจสอบกับแผนที่ จะทำให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่า เราอยู่ตรงจุดใดของพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดและถูกต้องที่สุด เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ ที่เราคาดไม่ถึง
เมื่อการเดินทางของเราจะต้องเดินตามลำห้วย จะต้องใช้ความระมัดระวังให้ดี ขอแนะนำว่าห้ามถอดรองเท้าเดินในลำห้วยเพราะอาจจะทำให้เท้าบาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้กลายมาเป็นอุปสรรคในการเดินป่า จึงควรยอมให้รองเท้าเปียกจะดีกว่า เนื่องจากในลำน้ำอาจมีหอยที่เปลือกบางแตกบาดเราได้ แม้ว่าจะช่วยทรงตัวได้ดีกว่าบ้างก็ตาม ในขณะเดินป่าควรป้องกันอันตรายจากแมลงต่าง ๆ โดยการสวมเสื้ออยู่ตลอดเวลา อย่าถลกแขนเสื้อขึ้นถ้าไม่ได้อยู่ในที่โล่งแจ้งที่มีอากาศโปร่งสบาย จงพยายามปกปิดทุกส่วนของร่างกาย ในการเดินป่าถ้าพบกิ่งไม้ที่เป็นราหรือหญ้าเขียว ที่เป็นฝอยที่เกิดขึ้นทั่วไป ควรจะเดินหลีกเลี่ยงเพราะหากว่าเราเดินเหยียบอาจจะทำให้ลื่น จนถึงขั้นหกล้มได้ ในกรณีที่เกิดการพลัดหลงกันอย่าได้ตะโกนเรียกหากันโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เหนื่อยเปล่า อีกประการหนึ่งก็คือการกู่เรียกโดยไม่รู้ถึงวิธีการ ที่ถูกต้องนั้นจะยิ่งทำให้ยิ่งหลงทิศหนักเข้าไปอีก ควรจะใช้วิธีการเคาะหรือตีต้นไม้สูง ๆ ด้วยท่อนไม้ เพราะจะทำให้เกิดเสียงได้ยินก้องไปไกลกว่าเสียงก้องตะโกน ในเวลากลางคืนสัตว์ป่าทั้งหลายจะเดินตามลำห้วยและตามสันเขา ดังนั้นเราควรจะอยู่ให้ห่างจากบริเวณดังกล่าว หากจะเดินทางออกไปจากที่พักและมีความต้องการที่จะเดินกลับเข้ามาอีกในภายหลังควรจะต้องทำเครื่องหมายไว้ตามทางที่เดินไปให้เห็นอย่างชัดเจนเพื่อที่จะสามารถกลับที่พักได้อย่างถูกต้องและไม่พลัดหลง ในการเดินทางข้ามลำห้วยคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ควรเดินข้ามคู่ไปกับคนที่ว่ายน้ำเป็น เพื่อที่จะได้ช่วยดูแลช่วยเหลือกันได้ เพราะคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นมักจะตื่นกลัวแม้ว่าน้ำไม่ลึกนัก ยิ่งถ้าข้ามรวมเป็นกลุ่มเดียวกันแล้วก็จะมีปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในการข้ามลำห้วยหรือลำธารถ้าน้ำไม่ลึกมากนักเพื่อความปลอดภัยของตัวเรา ควรใช้เชือกขึงข้ามลำธารไว้พยุงตัวไม่ให้ลื่นล้ม เพื่อเป็นการป้องกันที่ดีอีกวิธีหนึ่ง แน่นอนอยู่แล้วว่าการใช้ชีวิตอยู่ในป่าและในเมืองก็ตาม ร่างกายของคนเราก็ต้องมีความต้องการอาหารและน้ำเป็นธรรมดา แต่เมื่อเราอยู่ในป่า อาหารและน้ำคงจะหาไม่ได้ง่าย ๆ เหมือนกับเราอยู่ในเมือง ดังนั้นการแสวงหาอาหารในป่า จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ละเอียดเพราะหากว่าเราไม่มีความรู้จริง การนำพืชบางชนิดมาเป็นอาหาร จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจากอาหารเป็นพิษได้ เราจึงแนะนำวิธีการแสวงหาอาหารในป่าโดยใช้น้ำและพืชที่จะนำมาเป็นอาหาร เพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ในป่าได้อย่างไม่อดอาหาร
ร่างกายของคนเรามีความต้องการน้ำวันละ 2-5 ลิตร แต่ไม่ใช่ว่าน้ำทุกชนิดจะปลอดภัยสำหรับดื่ม การแสวงหาน้ำในฤดูฝนไม่มีความลำบากมากนัก เพราะน้ำฝนมักจะมีขังอยู่ทั่ว ๆ ไป ตามลำธารและแอ่งน้ำ และถึงแม้ว่าตามลำธารจะไม่มีน้ำขังอยู่ แต่เราจะสามารถขุดบ่อลงไปในบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำและในลำห้วยตามท้องธารหรือหุบเขาก็จะได้น้ำกินและน้ำใช้ตามที่ต้องการ แต่สำหรับฤดูแล้งการแสวงหาน้ำ อาจจะมีความยากลำบากและยุ่งยากมากพอสมควร แต่เราก็ยังพอมีวิธีในการแสวงหาน้ำอยู่ดังนี้
1. สอบถามชาวบ้านถึงแหล่งน้ำ เพื่อเป็นการสะดวกควรให้ชาวบ้านที่รู้ว่ามีแหล่งน้ำที่ใดนำทางหรือชี้บอกทางให้
2. หาตามหุบเขา,ซอกหิน หน้าแล้งจะสังเกตเห็นว่าต้นไม้ ต้นหญ้าบนภูเขาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งกรอบ ให้เราสังเกตที่หุบเขา ถ้าพบว่าหุบเขาใดมีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปี ก็ให้เราไปหาน้ำตามหุบเขานั้น ซึ่งจะมีน้ำไหลซึมออกจากซอกหินตลอดปี
3. ขุดลำะารที่น้ำแห้งใหม่ ๆ ทำเป็นบ่อเล็ก ๆ ลึกลงไป ก็จะพบเจอน้ำตามที่เราต้องการ
4. หาจากเถาวัลย์ ผลไม้ ต้นไม้ เถาวัลย์น้ำจะขึ้นอยู่ตามพื้นที่แห้งแล้งเป็นส่วนมาก เช่น สะแกเถาว์,เถานางนูน,หวาย และต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ต้นพลวง ,ต้นกล้วยป่า,รวมทั้งน้ำจากผลไม้และ ต้นไผ่ก็ใช้ดื่มได้ทั้งนั้น
5. ใช้อุปกรณ์ที่นำติดตัวไปทำเครื่องกักไอน้ำ เช่น เสื้อกันฝนหรือพลาสติคก็ได้ โดยเมื่อเข้าไปในพื้นที่ที่แห้งแล้งและเป็นพื้นที่โล่งแจ้งปราศจากต้นไม้ ให้ขุดหลุมกว้าง 3 ฟุต ลึกประมาณ 18 นิ้ว เอาก้อนหินใส่ลงไปก้นหลุม หาภาชนะรองน้ำไว้ตรงกลางหลุม เอาพลาสติคคลุมปากหลุมแล้วเอาดินกลบไว้รอบ ๆ ตรงกลางเอาก้อนหินวางไว้เพื่อถ่วงให้เป็นรูปกรวย เมื่อความร้อนจากดวงอาทิตย์ เผาก้อนหินและดินในหลุม ความชื้นที่มีอยู่จะระเหยเป็นไอขึ้นมากระทบกับพลาสติคมากเข้าก็จะกลายเป็นหยดน้ำไหลไปยังภาชนะที่เราเตรียมไว้รองรับเพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้บริโภคต่อไป
การหาน้ำในป่า เพื่อใช้ดื่มและประกอบอาหาร ... เมื่อเราเดินทางเข้าไปในป่าโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นโขดเขาทุรกันดาร น้ำดื่มจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเดินทางในป่าจะทำให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อ จึงต้องการความชุ่มชื้นและเสริมพลังอยู่บ่อย ๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่จะตามมาก็คือ วิธีการหาน้ำและจะทราบได้อย่างไรว่าน้ำชนิดใดที่ดื่มเข้าไปแล้วจะไม่มีอันตรายต่อร่างกาย เราอาจต้องเดินตะลุยเข้าไป ในป่าที่มีความแห้งแล้งหรือบนภูเขาสูงเป็นระยะทางไกล ๆ แต่ไม่พบว่ามีแหล่งน้ำ หรือเราอาจจะอยู่ในบริเวณที่มีน้ำมากแต่น้ำนั่นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเราดื่มเข้าไปจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ หากเราได้ มีการเรียนรู้ถึงการดำรงชีพในป่า ปัญหาเหล่านี้เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ ซึ่งในขั้นแรกเราจะต้องรู้จักกับพืชพันธุ์ต้นไม้ที่มีน้ำที่เราสามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย ขั้นต่อไปต้องรู้จักวิธีป้องกันเมื่อจะดื่มน้ำ ในลำห้วยหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ในป่า โดยคำนึงถึงช่วงเวลาหรือฤดูกาลของปีและสภาพพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับพืชที่ให้น้ำแล้ว ปัญหาเกี่ยวกับการหาน้ำดื่มไม่ได้ก็จะหมดสิ้นไป ซึ่งพืชที่ให้น้ำนั้นมี มากมายหลายชนิดแต่บางชนิดก็ไม่ปลอดภัย....
1. ไม้แหง ต้นไม้พวกแหงนี้ เราจะพบในป่าที่แห้งแล้งไม่มีน้ำ แต่ต้นไม้แหงจะมีน้ำ ต้นแหงหนุ่ม ๆ ที่มีโคนในราว 4 นิ้ว จะให้น้ำได้ดีที่สุด วิธีการก็คือตัดตรงโคนก่อนแล้วจึงตัดยอดปลายออกโดยให้ลำต้นยาวประมาณ 6 ฟุต แล้วคว่ำปลายลงจากนั้นจึงเอาภาชนะที่เตรียมไว้หรือปล้องไผ่ก็ได้รองรับน้ำจากต้นแหง น้ำในต้นไม้แหงจะหยดลงมาด้วยกรรมวิธีแบบนี้ ต้นแหงแต่ละต้นจะสามารถให้น้ำเต็มถ้วยได้ภายในไม่กี่นาที รสชาติของน้ำที่ไหลออกมาจากลำต้นแหงอาจจะไม่เหมือนกับน้ำบ่อหรือน้ำประปา และเป็นแหล่งน้ำที่แน่นอนมีความปลอดภัยที่สุดในบรรดาต้นไม้อื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง
2. ไม้ก่อเดือย ต้นก่อเดือยจะเจริญเติบโตและขึ้นอยู่ในที่สูง วิธีการเอาไม้จากไม้ก่อเดือย ก็ใช้วิธีการเดียวกับไม้แหง น้ำจากไม้ก่อเดือยปราศจากรสชาติ แต่ก็มีความปลอดภัย ไม้ก่อเดือยจัดเป็นต้นไม้ที่สำคัญชนิดหนึ่ง บางครั้งเราอาจจะพบในทุ่งปศุสัตว์ที่กันดารและขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในฤดูแล้ง
3.กล้วยป่า กล้วยป่าทุกชนิดจะให้น้ำที่ปลอดภัย แม้ว่ารสชาติของน้ำที่ได้จะไม่ดีนัก แต่ก็ใช้ในการดื่มและประกอบอาหารได้ วิธีการเอาน้ำจากต้นกล้วยก็ไม่ยากนัก ขั้นแรกก็คือตัดต้นกล้วย แล้วลอกเอาเปลือกออกเป็นกาบ ๆ แล้วเอากาบกล้วยนั้นมาบีบคั้นเหมือนกับการที่เราซักผ้าแล้วบิดผ้าออกตากแล้วน้ำก็จะหยดลงใส่ภาชนะที่เราเตรียมไว้สำหรับรองรับน้ำ ดงกล้วยป่าเราจะสามารถมองเห็นได้แต่ไกล ซึ่งดงกล้วยป่าสามารถให้ประโยชน์แก่นักเดินป่า ผจญไพรได้หลายข้อเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ใบตองมุงหลังคา ผลของกล้วยป่าก็ใช้รับประทานเป็นอาหารและสามารถให้น้ำสำหรับดื่มและประกอบอาหารได้อีกด้วย
4. ไม้ไผ่ ในป่านั้นพืชที่ให้น้ำบริสุทธิ์ที่สุดคือไม้ไผ่ แต่จะหาต้นไม้ที่มีน้ำในลำปล้องนั้นยากมาก จะต้องหาจากต้นไผ่ที่งอกขึ้นมาได้อายุประมาณ 1 ปี ซึ่งจะสังเกตได้จากลำต้นของมันที่เขียวงามผิดกับต้นแก่ที่จะมีจุดเป็นดอกดวง อนึ่งต้องหาต้นไผ่ที่มีหนอนไชรุตรงปลายต้นเมื่อมันยังเพิ่งแตกหน่อเพราะต้นไผ่แบบนี้จะมีน้ำ แต่ในการการเลือกหาต้นไผ่ที่มีน้ำก็ต้องระมัดระวังอย่างหนึ่งคือ ถ้ามีตัวคล้ายวุ้นอยู่ข้างในปล้องไผ่ก็อย่าใช้น้ำนั้นดื่ม เพราะปล้องไผ่ที่มี น้ำสะอาดที่สามารถใช้ดื่มได้นั้นจะต้องมองเห็นน้ำในปล้องไผ่ใสแจ๋ว

23 เม.ย. 2553

เข้าป่ามาหุ้งข้าวโดยใช้หม้อสนามกันดีกว่า


วิธีการใช้หม้อสนาม
ขั้นตอนที่ 1 หาไม้ไผ่ที่สดขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่มากถ้าใหญ่มากช่วงตอกลงดินจะไม่แน่นและตอกยาก และเล็กเกินไปจะรับน้ำหนักของหม้อสนามไม่ไหว ทำเป็นเสาตัดปลายเป็นปากฉลามหรือใช้กิ่งไผ่ที่มีกิ่งก้านอยู่แล้วไว้เพื่อวางคาน 2 เสาต้องเป็นไม้ที่สดเพื่อมิให้ไหม้ไฟขณะหุ้งข้าว
ขั้นตอนที่ 2 ตอกเสาไม้ไผ่ให้ห่างกันประมาณ1-1.5 เมตรโดยให้ด้านที่เป็นปากฉลามหรือด้านที่มีกิ่งวางคานได้และเพื่อมิให้เสาถูกไฟไหม้ได้
ขั้นตอนที่ 3 หาคานไม้ไผ่ปกติจะใช้ไม้ไผ่เพราะหาง่ายขนาดพอที่จะรับน้ำหนักหม้อสนามได้หากมีหม้อหลายใบหุ้งพร้อมกันต้องตัดให้ยาวกว่าที่ตอกไว้เพื่อวางเป็นคานหุ้งขาวถ้าหากตอกเสาห่างกัน 1 เมตรต้องตัดคานให้ได้ 1.5 เมตร ถ้าวางเสาห่างกัน 1.5 เมตร ตัดเสาคาน 2 เมตร
ขั้นตอนที่ 4 ก่อไฟระหว่างเสาทั้งสองให้ไฟลุกไหม้ให้เรียบร้อยก่อน
ขั้นตอนที่ 5 ล้างหม้อสนามให้สะอาดใส่ข้าวสาร 1 ใน 4 ของหม้อประมาณเอาก็ได้ครับอย่าใส่ข้าวมากเกินไป จะทำให้ข้าวด้านบนจะไม่สุกหรือสุกๆ ดิบๆ ด้านล่างจะไหม้ ซาวข้าวให้สะอาดใส่น้ำเกือบเต็มหรือตามขีดข้างหม้อสนามบริเวณปากหม้อสนามจะมีขีดข้าง ๆ ใส่ให้น้ำอยู่ในระดับขีดหรือมากกว่าได้นิดหน่อยปิดฝา(หม้อสนามตามที่ซื้อไปมีอยู่ 3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 ตัวหม้อสนาม ชิ้นที่ 2 ฝาหม้อปิด ชิ้นที่ 3 ถาดรองหรือจาน) ให้ใช้ฝาหม้อปิดอย่างเดียวไม่ต้องใส่ถาดปิดเพราะถาดนำไปใช้ใส่กับข้าวหรือเป็นจานใส่อาหาร (ถ้าใส่ข้าวน้อยจะไม่พอรับประทานและต้องเสียเวลาหุ้งใหม่ อย่าใส่ข้าวสารถึงครึ่งหม้อมากเกินไป โดยปกติหม้อสนาม 1 ใบเมื่อหุ้งแล้วจะรับประทานได้ถ้าเป็นผู้ชาย 5 คนสำหรับคนเมือง ถ้าผู้หญิงรับประทานได้ 5-7 คน
ขั้นตอนที่ 6 นำหม้อสนามวางใส่คานไม้ตั้งไฟที่ลุกอยู่ ไฟแรงเท่าไรก็ได้ถ้าไฟไม่ลุกหรือไฟไม่แรงพอข้าวจะสุกช้าการหุ้งข้าวด้วยหม้อสนามจะใช้เวลารวดเร็วไม่นานมาก ต่างกับการหุ้งข้าวด้วยวิธีอื่นดังนั้นต้องเฝ้าและดูอยู่ตลอดเวลามิฉะนั้นข้าวจะไหม้ได้
ขั้นตอนที่ 7 ตรวจดูว่าหม้อข้าวเดือดหรือยัง โดยให้สังเกตุและปฏิบัติดังนี้
วิธีที่ 1 หากเป็นช่วงเวลากลางวันที่สามารถมองเห็นได้ตรวจดูว่าหม้อสนามจะมีน้ำล้นออกมาอยู่ตลอดเวลาโดยมีน้ำซาวข้าวสีขาวขุ่นหยดออกจากปากหม้อเมื่อน้ำไม่หยดแล้วให้เคลื่อนหม้อสนามออกจากไฟที่ลุกอยู่โดยใช้ไม้ที่เป็นตะขอเกี่ยวแล้วยกหม้อที่สุกแล้ววางใช้ข้าง ๆ กองไฟเป็นการดงหม้อข้าวเพื่อให้สุกเต็มที่ อย่าใช้มือจับหม้อสนามเด็กขาดเพราะหม้อสนามจะร้อนมากไม่ต้องเปิดฝากหม้อปล่อยไว้อย่างนั้น
วิธีที่ 2 ถ้าเป็นช่วงกลางคืนที่ไม่สามารถมองเห็นน้ำที่ล้นหม้อสนามได้ให้ใช้ไม้ไผ่ที่เป็นกิ่งเล็ก ๆ ขนาด 1-2 ฟุต จิ่มไปที่หม้อสนามที่กำลังตั้งไว้อยู่โดยปกติหากข้าวเดือดไม้ที่ใช้จิ๋มกับหม้อสนามจะสัญญาณสั่นสะเทือนมาที่มือเราก็จะทราบว่าข้าวกำลังเดือดอยู่ซึ่งต้องตรวจดูปล่อย ๆ หากหม้อสนามไม่สั่นสะเทือนให้เลี่อนหม้อสนามออกจากไฟที่กำลังหุ้งข้าว แล้ววางหม้อสนามไว้ข้าง ๆ กองไฟเพื่อให้ข้าวสุกได้เต็มที่แต่วิธีนี้ต้องทำปล่อย ๆ จะเกิดความชำนาญเองหรือใช้ไฟฉายส่องดูบ่อย ๆ ครับ (ทดลองหุ้งอยู่ที่บ้านก่อนน๊ะเดี๋ยวเข้าป่าแล้วจะไม่ได้กินข้าว)

เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการนำอาวุธปืนไปน่าสนใจน๊ะ




กองวิจัยและวางแผน ส่วนราชการกรมตำรวจ ที่ 0503 ( ส ) / 27663 วันที่ 30 กันยายน 2525
เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณสถาน
ผบช. , ผบก. , หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าทุกหน่วยงาน
ตามบันทึก ตร.ที่ 0501 /30476 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2517 กำหนดแนวทางในการปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ ให้ใช้ดุลพินิจในการตรวจค้น จับกุมผู้พกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณสถานให้เป็นการถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ได้บัญญัติไว้ ต่อมาได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 ทวิ แห่ง พรบ. อาวุธปืนฯพ.ศ. 2490 ขึ้นอีก ในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบันยังคงมีปัญหาเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้นพบบุคคลพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะ โดยมีเพียงใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ( ป. 4 ) แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ( ป. 12 )ก็มักจะควบคุมตัวมาดำเนินคดีทุกรายไป ทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกตรวจค้นและจับกุม เพื่อให้การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง จึงขอซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 8 ทวิ แห่ง พรบ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 3 กำหนดว่า ห้ามมิให้ผู้ใดพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่กรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่ากรณีใดห้ามมิให้พกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยหรือพาไปในที่ชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายยังคงเปิดโอกาส ให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์นำเอาอาวุธปืนที่ตนมีไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาติดตัวไปเพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สินได้ ภายในขอบเขตที่กฎหมายให้กระทำได้ตามแนวคำชี้ขาดไม่ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาจากเจ้าพนักงานซึ่งถือว่าโดยสภาพเป็นกรณีที่ต้องมีอาวุธปืนติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ มีแนวทางพอสรุปได้ดังนี้คือ
1. ถ้าได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋าเก็บไว้ในช่องเก็บของท้ายรถ ซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
2. เอาอาวุธปืนใส่กระเป๋าใส่กุญแจแล้ววางไว้ในรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ในทันทีทันใด
3. ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด จำนวนเป็นหมื่นๆ นำติดตัวมาแล้วมีอาวุธปืนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว ใส่ช่องเก็บของหน้ารถยนต์เพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน
4. ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด นำอาวุธปืนติดตัวมาด้วย โดยแยกอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนออกจากกัน ใส่กระเป๋าเอกสารไว้ที่พนักเบาะหลังรถยนต์
5. ห่ออาวุธปืน และแหนบบรรจุกระสุนปืน ( แมกกาซีน ) แยกออกคนละห่อเก็บไว้ในกระโปรงรถยนต์ซึ่งใส่กุญแจ
จึงแจ้งมาเพื่อทราบและแจ้งให้ข้าราชการตำรวจที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อใช้เป็นดุลพินิจ
ประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนี้ต่อไป
ลงชื่อ พล.ต.ท.ณรงค์ มหานนท์ ( ณรงค์ มหานนท์ )
รองอ.ตร.ปป.ปร.ท.อ.ตร.
ดูเรื่องปืนได้ที่นี่ครับ http://www.gunsandgames.com/
ซึ่งใช้กับปืนสั้นเท่านั้น ปืนยาวไม่มีใบพกพา เก็บให้มิดชิดก็พอ
รวมรวมโดย
ต๋อยแซมเบ้

คำคม สำนวนไทย



การยอมเสียเปรียบผู้อื่น คือ เมตตา = ค้ำจุนโลก

“วัน เวลา ที่ผันผ่าน คือตำนานของเรื่องราว”

"ชีวิตที่สันโดษ เรียบง่าย ย่อมมีความสุขเสมอ"

" ไม่มีความสุขใด ดีไปกว่าการใช้ชีวิต อย่างพอประมาณ "

“หมดความภูมิใจ ก็หมดรัก หมดรักก็ไม่เหลือใจให้กัน”

“คนต่างกับสัตว์ที่ "ความคิด" , คนต่างกับมนุษย์ที่ "ศีลธรรม"
มนุษย์เราจะอยู่เป็นปกติสุขได้ต้องมีดีบ้างเลวบ้างปนกันไป
หากดีเกินไปคนจักริษยา หากเลวเกินไปคนหมู่มากจะรังเกียจ หากจะอยู่ในสังคมทั่วไปอย่างปกติสุขต้องมีดีบ้างเลวบ้างปนกันไป "สมเด็จพุทธาจารย์ (โต พรหมรังสี)"

อัศวิน ผู้แกล้วกล้า ขี่ม้า ใช้ ทวน ถือดาบ
พล ธนู เป็น พวกไร้เกียรติ พวกขี้ขลาด ...
พลปืน ถือเป็นพวกชั้นต่ำ พอกะ พวกสถุล ...

" เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่ หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี "
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า''บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ''แม้มารจะมีอำนาจยิ่งใหญ่ถึงอย่างนี้ แต่มนุษย์ผู้ฝึกอบรมดีแล้วด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็พิชิตมารได้ด้วยคุณธรรมของตน และมนุษย์ที่มีคุณธรรมสูงเช่นนี้ เทพเจ้าทั้งปวงตลอดถึงพรหมย่อมนบไห้ว.

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้ แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..

เพราะฉันจะไป ด้วยหัวใจดวงนี้ สองขาที่มีจะปีนสู่ภูผา
เพราะฉันจะไป ให้เห็นความสุขแท้มันด้วยตา
เมื่อได้มองลงมาเห็นโลกในมุมอีกมุม มันคงช่างงดงาม

ความจริงในใจ ไม่เคยมีใครแทนที่ความรู้สึก ที่ฉันยังมีให้เธอ

วิถีคนกล้า คือการกระทำ ไม่ใช่เพียงแค่คิด
วิถีผู้กล้า กล้าทำ ต้องกล้ารับผิดชอบ.


เบื่อ ๆ อยาก ๆ อยากแล้วก็เบื่อ เบื่อแล้วก็อยาก แต่เกือบทุกครั้ง อยากมากกว่าเบื่อ


หลังจากพายุผ่านไป..ท้องฟ้าสดใสขึ้นทันตา..อุปสรรคนานาก็ผ่านเลยไป..ชีวิตใหม่เริ่มก้าวเดินอย่างทรนง..แข็งแกร่งดุจหมู่เกาะ.....กลางคลื่นลม..

น้ำย่อมตกจากที่สูง เพราะแรงดึงดูดของโลก
มนุษย์ย่อมถูกดึงให้ต่ำได้ เพราะอำนาจจากกิเลสของตนเอง

ชีวิตก็เหมือนการขี่จักรยาน จะสนุกได้มันต้องรู้จักถีบ

ต้นไม้แห่งเสรีภาพ ต้องรดด้วยเลือดของทรราช และผู้รักชาติเป็นครั้งคราว

คนจนๆก็คนทั่วไป ประชาธิปไตย สร้างจากประชาชน

" อดีตไม่ขยัน ปัจจุบันไม่ขนขวาย อนาคตไม่ต้องทำนาย "

"คนเก่งจริงไม่เรื่องมาก คนฉลาดจริงไม่มากเรื่อง"

ก็แค่อยากเห็นโลกให้กว้างไกลกว่าที่เคยเห็น
แค่อยากเป็นคนเดินดินเที่ยวท่องไปในโลกกว้าง

ในโลกกว้าง เราคิดว่าเรารู้อะไรมากแล้ว
แต่เราลืมไปว่าเรายังไม่รู้อะไรอีกมากเสียกว่าที่เรารู้

จะอยู่แบบไร้ค่า
หรือจะยอมเสียสละเพื่อปกป้องบางสิ่ง


ชีวิต คือ ความฝัน
สิ่งสำคัญ คือ เงินตรา
ยอดปราถนา คือความสุข

ไม่รู้พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร มีเพียงแต่วันนี้และตัวเรา ถามตัวเองยังว่าวันนี้มีความสุขรึยัง

อุปสรรคคือสิ่งที่น่าตกใจก็ต่อเมื่อ.....คุณไม่ได้มองไปที่จุดหมายปลายทาง

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือลูก ลำดับรองคือครอบครัว ส่วนตัวลำดับสุดท้าย
เดินหน้าแบบเฉียงๆ ไม่เอนเอียงไปทางไหน
ไม่เร่งรีบจนเกินไป ช้าๆไวๆ ให้พองดงาม

•• ปัจจุบันเป็นผลของอดีต และเป็นเหตุของอนาคต ••

"แผ่นดินนี้ ปู่ย่า ตายายสร้าง เคยทอดร่าง ลงถมถิ่น แผ่นดินแม่
ขอลูกไทย รักษามั่น ไม่ผันแปร เป็นไทยแท้ มิใช่ไทย แต่ในนาม"
คำขวัญพระราชทานเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ปี 52

H had มี
A unceasingly ไม่หยุดหย่อน
S shame ละอาย
B but แต่
A annoyance น่าลำคาญ
N no ไม่
D dispute โต้เถียง
รวมความก็คือ
hate dispute but seek unceasingly annoyance,no shame
แปลไทยได้ความว่า
เกลียดการทะเลาะแต่ชอบหาเรื่องรำคาญใจมาให้ไม่หยุดหย่อนและไม่มีความละอายใจ

พ...........พึ่งพาอาศัยกันในยามเดือดร้อนได้
ว............ไว้ใจได้ซึ่งกันและกันเชื่อมั่นจริงใจ
ก............มีความเกรงใจกันไม่ทำให้เดือดร้อน

และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด

"ชีวิตไม่ใช่เทียนที่ดับแล้วจุดใหม่ได้ จงพึงรักษาไว้ให้นานที่สุด"

โขนมีเฉพาะในละครหรือเป็นเรื่องจริง



โลกและปรัญญาชีวิตกับความเป็นจริง
ในโลกแห่งความเป็นจริง และการแข่งขันในทุก ๆ ด้าน เพื่อการดำรงชีวิตในภาวะเศษฐกิจปัจจุบันดังนั้นจึงอยากให้ทุกคน รองหันมาดูตัวเองเสียบ้าง มนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร เครื่องจักยังมีการเสื่อมสลายไปตามสภาพ โดยขณะที่ทุกคนดูแลรถยนต์ป้ายแดงมากกว่าดูแลตัวเองเสมือนชีวิตของเราได้มาฟรี ๆ เลยลืมคิดไปว่าจะต้องดูแลตัวเองให้มากกว่าดูแลรถยนต์ ชีวิตเรายืนยาวกว่าของที่อยู่ภายนอกร่างกาย หรือของใช้มากมายนัก
เราทำงานหนักก็พักเสียงบ้าง ร่างกายเราก็ไม่ต่างกับสิ่งของเครื่องใช้ย่อมมีการเสื่อมสลายลง คงไม่ต้องรอให้สลบคาโต๊ะทำงานถึงจะหยุดทำได้ เมื่อพ่อแม่ให้เรามาครบ 32 ต่อไปก็คงเป็นหน้าที่ของเราเองที่จะต้องดูแลร่างกายของเราต่อไป สนใจกับร่างกายเราบ้าง ไม่จำเป็นต้องสวยด้วยเครื่องสำอาง เหล่อ เท่เพราะเสื้อผ้าเครื่องประดับ ขอเพียงดูแลร่างกายให้สะอาด ขอให้ใส่เสื้อผ้า ของประดับอะไรก็ดูดี ตลอดจนการจัดระเบียบวินัยให้กับชีวิตบ้าง ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้สมบูรณ์ ไม่ใช่รับผิดชอบในการงานดีแต่ไม่ดูแลตัวเอง รองคิดดูเราอยู่ที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้าน กับเพื่อนร่วมงานไม่มีการแบ่งชั้น วรรณะ ทุกคนมีความสำคัญในการทำงานเหมือน ๆ กันหมด เพียงแต่รับผิดชอบหน้าที่ของเราให้ดูที่สุดเท่านั้นเป็นพอ ขอเพียงแต่รักษาและเคารพมารยาทในการอยู่ร่วมกับสังคมการทำงานร่วมกัน ซึ่งไม่ว่าการทำงานอะไรก็ตามเราต้องทำตัวให้อยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไม่ใช่อยู่อย่างเอาตัวรอด ตัวใครตัวมัน เรียกง่าย ๆ ว่าเห็นแก่ตัว เพราะการเอาตัวรอดไม่ใช่วิถีทางที่ถูกต้องกับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรหรอกที่จะราบรื่นอย่างที่วาดฝัน ไม่มีสิ่งใดได้มาโดยไม่ต้องมีการสูญเสีย การสูญเสียอาจทำให้ได้บางสิ่งกลับมาหรือเพื่อแรกกับคำว่า“เสียใจด้วยนะ” ไม่มีใครอยากได้ยินคำ ๆ นี้ หรือการแสดงออกจากผู้คนรอบข้าง สิ่งนี้อยู่ที่ว่าจะมีการแก้ไขให้มันดีได้อย่างไร แม้ว่าจะไม่หมดไปแต่ก็ได้มีความคิด และได้ทำ ไม่ใช้แค่คิดแต่ไม่ทำหรือทำแต่อย่าให้มันเลวลงเท่านั้นเป็นพอ บางคนเกิดมาใกล้ตายยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เพราะติดอยู่กับ “ความหลง กับหัวโขนที่มีผู้นำมาใส่ให้ไว้” จึงอยากให้ทุกคนรู้จักคำว่า “พอ” อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ความสุข หรือจุดสุดท้ายของชีวิตก็เป็นได้
ต๋อย
24/7/2552

เรื่องของชีวิตที่ทุกคนต้องหันมาดูบ้าง



เรื่องมีอยู่ว่า.....
ชายคนหนึ่งเคยลงโทษลูกสาววัย 5 ขวบของเขา
เพราะนำเงินไปซื้อกระดาษห่อของขวัญสีทองม้วน
หนึ่งซึ่งมีราคาแพง

ในขณะที่การเงินที่บ้านฝืดเคือง และเค้าก็อารมณ์เสียอีกครั้งเมื่อลูกสาวของเขานำกระดาษสีทองราคาแพงนั้น มาห่อกล่องของขวัญเพียงเพื่อตกแต่งไว้ใต้ต้นคริสต์มาส แต่กระนั้น...ลูกสาวตัวน้อยก็ได้มอบกล่องของขวัญนั้นให้พ่อของเธอในเช้าวันรุ่งขึ้น และพูดว่า ' นี่สำหรับพ่อค่ะ ' พ่อของเธอกระอักกระอ่วนกับอาการที่ได้แสดงออกไปก่อนหน้านี้
แต่แล้วความโกรธก็ได้พุ่งพล่านขึ้นอีกครั้งเมื่อ
เขาพบว่ามันเป็นเพียงกล่องเปล่า
เขาพูดด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราดว่า

' ลูกไม่รู้จริงๆอย่างนั้นหรือว่าการจะให้ของขวัญใคร
มันจะต้องมีอะไรอยู่ในกล่องของขวัญด้วย ? '
เด็กน้อยมองไปที่พ่อของเธอด้วยน้ำตา
และพูดว่า ' โอ...พ่อจ๋า มันไม่ใช่กล่องเปล่าเลย หนูเป่าจูบเข้าไปจนเต็ม '

ชายคนนั้นสะอึก ตัวชาด้วยความเสียใจ
เขาทรุดตัวลงแล้วโอบกอดลูกสาวไว้แน่น

เขาขอให้ลูกสาวยกโทษให้เขา
กับท่าทางโกรธเกรี้ยวเกินเหตุของเขา

ต่อมาไม่นานอุบัติเหตุก็ได้คร่าชีวิตลูก
สาวของชายคนนั้นไป

และว่ากันว่าเขาเก็บกล่องของขวัญสีทองล้ำค่านั้น
ไว้ข้างเตียงตลอดชีวิตของเขาเลยทีเดียว

และเมื่อใดก็ตามที่เขารู้สึกท้อแท้ใจ
หรือต้องเผชิญกับปัญหาที่ยากเย็นแสนเข็น เขาจะเปิดกล่องใบนี้

เพื่อหยิบจูบในจินตนาการขึ้นมาหนึ่งจูบ
แล้วรำลึกถึงความรักของลูกน้อย ที่ได้ใส่จูบนั้นไว้ให้เขา


ในความเป็นจริง ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
พวกเราทุกคนล้วนได้รับกล่องของขวัญสีทองซึ่ง
บรรจุด้วยความรัก ที่ปราศจากเงื่อนไข และรอยจูบจาก
ลูกๆ และจากครอบครัวของเรา


ไม่มีสมบัติใด ล้ำค่าไปกว่านี้อีกแล้ว

แล้วทำเหมือนกับว่าไม่มีอะไรกระทบใจคุณเลยแม้แต่น้อย

มองโลกในแง่ดี และปฏิบัตดี

ฉันขอขอบคุณสำหรับ....

สำหรับสามีที่นอนกรนทั้งคืน
เพราะนั่นหมายถึงเขากำลังหลับอยู่ที่บ้านกับฉัน ไม่ใช่กับผู้หญิงอื่น

สำหรับลูกสาววัยรุ่นที่กำลังบ่นเรื่องล้างจานอยู่
เพราะนั่นหมายถึงเธออยู่บ้าน ไม่ใช่ที่ถนน

สำหรับภาษีที่ต้องเสีย
เพราะนั่นหมายถึงฉันมีงานทำ

สำหรับข้าวของต่างๆ ที่ต้องคอยเก็บหลังงานปาร์ตี้
เพราะนั่นหมายถึงฉันถูกห้อมล้อมด้วยเพื่อนฝูง

สำหรับเสื้อผ้าที่พอดีจนเกือบจะคับเกินไป
เพราะนั่นหมายถึงฉันยังมีกิน

สำหรับเงาที่คอยมองดูฉันทำงาน
เพราะนั่นหมายถึงฉัน กำลังได้รับแสงแดด

สำหรับพื้นที่ต้องคอยขัดถู และหน้าต่างที่ต้องทำความสะอาด
เพราะนั่นหมายถึงฉันมีบ้านให้ดูแลรักษา

สำหรับที่จอดรถที่อยู่ไกลสุดของลานจอดรถ
เพราะนั่นหมายถึงฉันสามารถเดินได้ และฉันมีรถ

สำหรับผ้ากองโตที่รอการซักรีด
เพราะนั่นหมายถึงฉันมีเสื้อผ้าสวมใส่

สำหรับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทุกสิ้นวัน
เพราะนั่นหมายถึงฉันสามารถทำงานหนักได้

สำหรับเสียงปลุกในทุกๆ เช้า
เพราะนั่นหมายถึงฉันยังมีชีวิตอยู่

และสุดท้าย.......
สำหรับอีเมล์ที่ส่งมาหาฉัน
เพราะนั่นหมายถึงฉันยังมีเพื่อน

ระหัสป่า7.5.4 หกวันห้าคืนบนเขาหลวง เขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช






ระหัสป่า 7.5 หกวันห้าคืนบนเขาหลวง เขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 15-20 มีนาคม 2551
การเดินทางจากจังหวัดนนทบุรีโดยเมื่อเวลา ประมาณ 19.30 น. จากจังหวัดนนทบุรีเพื่อร่วมสำรวจอุทยานแห่งชาติเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราชกับเพื่อร่วมทีมได้แก่ คุณเอกหรือ(Hot ice) ช่างกล้องมืออาชีพ ทราบชื่อในภายหลัง โดยที่ยังไม่เคยได้สัมผัสและพบหน้ากันมาก่อน สำหรับบุคคลที่มีหัวใจคนแบกเป้ที่มีใจเดียวกันแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่เป็นสาระสำคัญ การได้ไปร่วมสำรวจร่วมกันสำคัญยิ่งกว่า ประกอบกับความพร้อมของจิตใจ และการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันต่างหาก ข้าพเจ้านั่งรถแท็กซี่จากจังหวัดนนทบุรี โดยออกจากแถว ๆ หน้าโรงพยาบาลศรีธัญญาก็ประมาณ ทุ่มกว่า ๆ และถึงสถานีขนสายสายใต้ก็เกือบสองทุ่มเข้าไปแล้ว เมื่อได้พบหน้าค่าตาซึ่งกันและกันแล้วเราก็ซื้อตั๋วที่สถานีที่จุดขายโดยจุดหมายปลายที่ที่อำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช กำหนดของรถทัวร์ปรับอากาศออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่เวลา 20.50 น. โดยรถของบริษัทนครศรีราชาทัวร์ค่ารถยนต์โดยสาย 618 บาทเป็นรถทัวร์นอนที่ค่อนข้างสบายไม่ถึงกับลำบากมากนักนอนหลับบ้างตื่นบ้างตลอดทางจนถึงรุ่งเช้า
เช้าวันที่ 15 มีนาคม 2551 เก้าโมงเช้ารถทัวร์พาเราเดินทางผ่านอำเภอสิชล ถึงอำเภอท่าศาลา พนักงานบริการบนรถร้องบอกว่าผู้โดยสารที่จะลงท่าศาลาเตรียมตัวได้แล้วค่ะ ข้าพเจ้าและคุณเอกก็เตรียมตัวลงรถทัวร์ซึ่งคุณเอกมีความคุ้นเคยกับทีมงานนี้อยู่แล้ว ในส่วนตัวของข้าพเจ้ายังไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน ผู้มารับเรา มีรถยนต์กระบะ ทราบภายหลังเป็นเพื่อนของบอย ชื่อสา บ่อยหรือทาร์ซาน และทร อดีดพรานป่าในแถบเทือกเขาหลวงมารับ เราเดินทางเข้าอำเภอท่าศาลาเพื่อรับประทานอาหารเช้า เรารับประทานอาหารเช้าดื่มกาแฟ ปลาท่องโก้ และเดินเลือกซื้อของรองเท้าฟองมีดโกนหนวด และเมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วเราทั้งสี่คนพร้อมสาผู้อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ได้นั่งรถยนต์กระบะไปหาพี่รินพรานป่าผู้ชำนาญการใช้ชีวิตในป่าอย่างโชกโชน พี่รินหรือผู้อยู่ในพื้นที่เรียกว่าสหายริน ชายผู้นี่เป็นทหารเก่าเป็นหน่วยต่อสู้ยุทธวิธี มีความคล้องตัวสูง เก่งทั้งในด้านการรบการใช้ชีวิตในป่า การล่า การดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอด เรานั่งกินกาแฟบ้านพิ่รินอยู่ครู่ใหญ่ เราลาพี่รินและนั่งรถยนต์ลัดเลาะไปตามหมู่บ้านเพื่อหาทางขึ้นสำรวจยอดเขาเจดีย์ ซึ่งยอดเขาลูกดังกล่าวยังไม่มีผู้ใดขึ้นไปสำรวจ กลุ่มของเราประกอบด้วย บอย(ทาร์ซาน) ทร พรานป่าซึ่งเป็นพรานหนุ่มที่หันหลังให้กลับการล่าสัตว์ กลับมาเป็นนักอนุรักษ์ป่าในพื้นที่เขาหลวง พี่เอก(HOT ICE)ช่างกล้องอิสสระ และตัวผมเองที่ทุกคนรู้จักในนามของ
ต๋อยแซมเบ้ เมื่อถึงจุดส่งตัวผู้สำรวจทั้งสี่คน เราได้เปลี่ยนชุดจากชุดคนเมืองมาเป็นคนเดินป่า บอยเปลี่ยนเสื้อผ้าใส่ถุงเท้า ถุงกันทาก ทรพรานหนุ่มเตรียมในลักษณะเดียวกัน พี่เอกเปลี่ยนเป็นชุดเดินป่าเช่นกันแต่ไม่ใช้ถุงกันทากแต่ใส่ถุงเท้าที่ใช้เล่นกีฬาอย่างหนาและยาวแทน ส่วนตัวผมซึ่งการเดินป่าแต่ละครั้งจะไม่ได้สนใจในเรื่องเล่านี้มากนัก ไม่ตระหนักถึงทากเนื่องจากป่าในพื้นที่ทางเหนือเป็นประจำ ลักษณะพื้นที่ ภูมิอากาศทางพื้นที่ทางภาคเหนือจะแตกต่างจากลักษณะพื้นที่ทางภาคใต้ ทางเหนือจะเป็นลักษณะป่าดิบแล้ง แต่พื้นที่ทางภาคใต้จะแตกต่างกันที่เป็นลักษณะป่าดิบชื้นเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะพื้นที่จะมีฝนตลอดทั้งปี ฉะนั้นการเดินป่าครั้งนี้จึงจำเป็นต้องตระหนักถึงฝน ฟ้าอากาศเป็นหลัก เราออกเดินทางจากจุดที่เปลี่ยนเสื้อผ้าก็ ใกล้เวลาเที่ยงเข้าไปแล้ว เราทั้งสี่คนเดินลัดเลาะสุ่มทุ่มพุ่มไม้ ผ่านป่าไม้แดง ซึ่งบอยจะอธิบายบอกเล่าถึงลักษณะของป่าไม้ในลักษณะต่าง ๆ กันบอยเล่าให้ฟังว่า พื้นที่ในลักษณะนี้เป็นป่าชั้นแรกๆ จะเป็นลักษณะของป่าไม้แดงซึ่งจะเป็นป่าไม้ที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าดังนั้นจึงมีผู้ลักลอบเข้าตัดไม้ทำลายป่าในช่วงนี้พอสมควร กระผมเดินไปสักระยะก็รู้สึกว่าเจ้าทากน้อยนี้เริ่มจะเป็นปัญหากับผมเสียแล้วเนื่องจากไม่ได้เตรียมตัวเกี่ยวกับการนำถุงกันทากมาแต่ยังไม่เป็นปัญหามากนัก กลุ่มเราทั้งสี่เดินขึ้นทางชันไปเรื่อย ๆ ป่าไม้นา ๆ ชนิดมากมาย ความสมบูรณ์ยังมีอยู่ตลอดเส้นทางเดิน เหนื่อยก็หยุดพักบ้างเป็นบางโอกาส ซึ่งหากมีการหยุดพักครั้งใดปัญหาจะเป็นทากที่เกาะตามเท้า จะตรวจที่บริเวณรองเท้า ถุงเท้าว่ามีทากเกาะอยู่หรือไม่ มีทากเข้าซุกซ่อนในถุงเท้าอยู่หรือไม่ เป็นเช่นนี้ไปตลอดระยะทางที่เดิน และทุกย่างก้าวของสำรวจดูว่ามีการชุมนุมของทากบ้างหรือไม่ ซึ่งจากจุดเดินนี่จะเป็นทางขึ้นที่ลาดชันไปเรื่อย ๆ ผู้เขียนเองเริ่มที่จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อหน้าขาด้านขวา แต่ก็ยังสามารถเดินด้วยไปเรื่อย ๆ ได้ไม่เร็วมากนัก ก้าวย่างที่ละก้าวอย่างสม่ำเสมอ เหงื่อไหลเป็นน้ำ ก้มมองตนเอง เสื้อที่ใส่เต็มไปด้วยเหงื่อ คิดในใจเหนื่อยมากนักก็หยุดดูทากที่เกาะที่ขาครั้งหนึ่งวันนี้เราใช้เวลาเดินถึงจุดที่พัก กลุ่มของเราตั้งที่พักอยู่บนยอดเขาพญานาคราชเราตั้งชื่อกันเอง ซึ่งจุดนี้มีว่านชนิดหนึ่งชื่อว่านพญานาคราชขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ต้นของว่ายชนิดนี้ผิวเปลือกค่ายงูเหลือมมีลวดลายสีเดียวกับงู หากถ้าเดินเพลิน ๆ ไม่สั่งเกตุก็ทำให้ตกใจได้นึกว่างูขนาดเล็ก เจ้าของพื้นที่ทาร์ซานบอย เล่าให้ฟังว่าว่านชนิดนี้เป็นว่านที่นำไปจัดทำจตุคามรามเทพที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ระยะหนึ่ง และสามารถป้องกันพิษจากสัตว์ร้าย ๆ ได้หลายชนิด เราเดินถึงยอดเขาพญานาคราชก็ล่วงเลยเวลาเข้าไปเกือบสามโม่งเย็น พวกเราวางสัมภาระ และนั่งลงเพื่อตรวจดูบริเวณรอบ ๆ บอยบอกทีมของเราว่า เราพักกันที่นี้ก็แล้วกัน เมื่อได้ยินว่าเราจะนอนกันที่ยอดดงพญานาคราช ในส่วนตัวของผู้เขียนเองสิ่งแรกก็คือตรวจดูตัวทากผู้หิวโหยที่เกาะตามถุงเท้า รองเท้า และผิวหนังที่เจ้าตัวดูดเลือดนี้สามารถเข้าไปได้ เมื่อถอดถุงเท้าออกก็พบว่าเท้าซ้ายมีเจ้าทากน้อยสองตัวเกาะอยู่ที่หลังเท้ามันเกาะกินดูดเลือดอยู่ข้าพเจ้าเองก็ไม่ชอบอยู่แล้วก็จับมันออกและเช็ดเลือดที่ไหล แต่บริเวณที่ถูกทากกัดทั้งสองจุดมีเลือดไหลออกมาอยู่ตลอดเวลาแต่เป็นเลือดที่ไหลในลักษณะที่ถูกไม่ขีดข่วนและไม่มีการเจ็บปวดแต่อย่างใด เท้าด้านขวามีทากเกาะอยู่และได้ตรวจดูบริเวณข้อเท้า หลังเท้าด้านขวา ร่องนิ้วเท้าก็ไม่พบเจ้าทากอีกซึ่งบริเวณเท้าด้านขวาถูกเจ้าทากกัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สัตว์ตัวจิ๋วที่ดูไม่มีพิษภัยอะไรมากไปกว่าเจ็บๆคันๆ หากเปรียบเทียบทากแล้วก็เหมือนยุงที่สูบหรือดูดเลือดเช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่ปล่อยให้มันล่วงล้ำ เข้าสู่ส่วนที่สำคัญของร่างกาย เจ้าตัวจิ๋วนี้กลับเป็นสิ่งมีชีวิตที่นักเดินทางท่องป่า ต่างตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ ขยะแขยง สร้างภาพให้เป็นมารร้ายตัวฉกาจฉกรรณ์ แต่การเดินทางเข้าไปในป่าหน้าฝนนั้น คงจะหนีไปไม่พ้นกับเพื่อนร่วมทางที่ไม่พึงประสงค์ชนิดนี้อย่างแน่นอนอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ใช้ในการเกาะติดกับลำตัวเหยื่อคือ แว่นดูด (Sucker) ซึ่งมีอยู่ทั้งทางด้านหัวและด้านท้าย แต่มันสามารถดูดเลือดได้จากทางแว่นดูดด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ส่วนแว่นดูดทางด้านท้ายทำหน้าที่ยึดเกาะ อย่างนุ่มนวล โดยที่เราไม่รู้สึกตัวเลย ป่าหน้าฝนอันชุ่มชื้นเป็นเวลาที่ทากดูจะเริงร่าเป็นพิเศษ ภาพที่นักเดินทางที่สาละวนกับการปลดทากออกจากขากางเกง หรือเสียงร้องวี๊ดว๊าย คงจะชินหูชินตาหรือเป็นสีสันของนักเดินป่าหลายๆท่าน แม้บางคนจะมีถุงกันทากสวมใส่ไว้ตลอดซึ่งความจริง ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันอะไรเท่าไหร่นัก เพราะหากไม่ปลดทากออกพวกมันก็จะคืบคลานขึ้นสูงจนหาทางดูดเลือดจนได้อยู่ดี จากที่เกาะต่ำๆ ก็ค่อยๆคืบคลานสูงขึ้นเรื่อยๆ ถุงกันทากคงช่วยได้แต่เพียงให้เราเห็นตัวมันก่อนที่จะดูดเลือดเรา วิธีกำจัดที่ง่ายที่สุดก็คือ มือของเรานั่นแหละที่ใช้ทั้งดึงทั้งเด็ดทากรับรู้เหยื่อของมันว่าอยู่ที่ไหน ได้จากแรงสั่นสะเทือนจากพื้นดินเพราะฉะนั้น การชิงเดินเป็นคนแรกๆ อาจจะปลอดภัยกว่าเดินท้ายๆ ทากเกาะติดไปกับลำตัวหรือขาด้วยแว่นดูดและอีกวิธีก็ใส่ถุงเท้าที่มีความยาวทับถุงกันทากอีกครั้งซึ่งปกติแล้วทากจะมี(Sucker) หรือแวนดูดเมื่อเกาะติดกับถุงเท้าแล้วก็จะใช้ส่วนหัวที่เป็น(Sucker) และรีดตัวเข้าไปในถุงเท้าเพื่อดูดเลือกแต่ภายในถุงเท้าจะมีถุงกันทากอีกชั้นซึ่งทากไม่สามารถที่จะเข้าไปได้ ดังนั้นจึงเป็นการป้องกันที่ดีอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากลำตัวของมันเหนียว และ ยืดหยุ่นได้ดีมากจนเราคาดไม่ถึง ทากดูดเลือดจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยการใช้แว่นดูดด้านท้ายยืดเกาะติดกับพื้น เมื่อกล้ามเนื้อตามเส้นรอบวงหดตัว มันก็จะยืดไปข้างหน้า ใช้แว่นดูดรอบปากยึดเกาะติดกับพื้น และค่อยๆปล่อยแว่นดูดด้านท้ายออกจากที่เกาะ ตอนนี้กล้ามเนื้อตามยาวจะหดตัว ดึงเอาส่วนท้ายของลำตัวไปเกาะข้างหน้าได้ เป็นวิธีกระดื๊บๆไปตามพื้นดิน หรือตามตัวของเหยื่อจนถึงจุดที่มันพอใจถึงจะหยุดวิธีการกัด และดูดเลือดของทากนั้น มันจะใช้ปากของมันซึ่งอยู่ทางแว่นดูดด้านหน้าเท่านั้น ภายในแว่นดูดด้านหน้าจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็นสามแฉก แต่ละแฉกก็จะมีฟันเล็กๆอยู่มากมาย ขากรรไกรของมันนี่แหละที่ทำให้เรามองเห็นแผลจากการดูดเลือดของมันเป็นสามแฉกเช่นกันขณะที่มันดูดเลือดจะปล่อยสาร Histamine เพื่อให้หลอดเลือดขยายตัว และHirudin ซึ่งสารดังกล่าวทำให้เลือดไม่แข็งตัว ดังนั้นหากเราถูกทากดูดเลือดจะไหลอยู่ช่วงหนึ่ง เลือดก็จะหยุดเป็นปกติจึงไม่น่ากลัวอะไรมากนัก พวกเราทั้งสี่คนเริ่มกลางผ้าใบ ผูกเปล ส่วน HOT ice ก็แยกไปผูกเปล เลยขึ้นไปทางเดินขึ้นยอดเจดีย์โดยไม่ห่างกันมากนักเป็นอันเรียบร้อยสำหรับที่นอน จากนั้นบอย และพรานเจ้าป่าทรแห่งเขาหลวงได้เดินลงทางลาดชันอีกครั้งเพื่อไปหาแหล่งน้ำมาประกอบอาหาร การหาน้ำครั้งนี้ใช้เวลาเกือบชั่วโมง จึงได้ยินเสียงคนคุยกันดังแวว ๆ มา เราทำอาหารกันง่าย ๆ และรับประทานข้าวกันท่ามกลางความหนาวเย็น และในช่วงคืนนี้เป็นคืนที่หมอกลงหนาจัดมาก น้ำค้างตกเหมือนฝนตก เนื่องจากอากาศหนาวเย็น หมอกลงหนา จนถึงเช้าบางครั้งการเข้าป่าเพื่อศึกษาธรรมชาติ สำรวจแหล่งท่องเที่ยวในหลาย ๆ คนจะมีความมุ่งหมั่น ความพยายามที่จะค้นหาสิ่งที่ตัวตนต้องการแต่ในส่วนตัวของข้าพเจ้าเองคิดเพียงว่าการได้ออกเที่ยวสัมผัสกับกลิ่นไอของป่า ความเป็นป่าซึ่งเราจะหาไม่ได้ในพื้นที่ที่เป็นถนนคอนกรีต ในสังคมเมือง ความรู้ตัวตนของตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แม้นว่าเราทั้งสี่คนจะไม่เคยได้รู้จักกันมาก่อน ไม่รู้อุปนิสัยใจคอกัน แต่มีจิตใจเดียวกันคำพูดที่ผมได้ยินอยู่เสมอสำหรับเพื่อร่วมทาง ซึ่งอาจจะไม่ใช่การเดินทางในทริปนี้ ซึ่งสำหรับบอยแล้วเขาทำธุรกิจด้านท่องเที่ยวเดินป่า เที่ยวทะเลในพื้นที่โซลทางภาคใต้“ความสุขมันไม่ได้เดินมาหาเราหรอก แต่มันรอให้เราเดินไปหามันต่างหาก” หมอกลงหนามาก กว่าเราจะตื่นขึ้นมาโดยไม่มีการล้างหน้า แปรงฟัน เพื่อประหยัดน้ำเราทั้ง 4 ลุกขึ้นมาหุงอาหาร ต้มกาแฟกินและนั่งคุยกันถึงเรื่องต่าง ๆมือกล้องกิติมาศักดิ์ของเรา Hot ice ก็สาระวนเกี่ยวกับการถ่ายภาพบนยอดเขานาคราชตั้งแต่เช้าตรู่ จากนั้นเราก็เก็บสัมภาระลงเป้สะพายหลังเตรียมเดินขึ้นยอดเขาเจดีย์ก็เกือบสิบโมงเช้า เราเดินแบบสบาย ๆ ประมาณชั่วโมงเศษก็บรรลุถึงเป้าหมายยอดเจดีย์ พวกเราตกลงจะพักกันบริเวณยอดเจดีย์เพื่อหาแนวทาง และดูวิว บนยอดเขาเจดีย์ว่ามีความสวย อลังการขนาดไหน เราวางสิ่งของและเริ่มกางเต้นตามที่เคยปฏิบัติกันมา บอยและทรอีกเช่นเคย อาสาลงหาน้ำเพราะเขาชำนาญทางในพื้นที่แหล่งนี้ ผู้นำทางและพรานป่าได้ลงหาน้ำเงียบหายชั่วโมงเศษก็ได้ยินเสียงคุยและเสียงต้นไม้หักดังมาจากฝังตรงข้ามที่เราเดินขึ้นมาจึงทราบว่าทั้งสองได้หาน้ำได้แล้วมาแต่ต้องใช้เวลาในการหาน้ำที่เป็นระยะเวลาไกลพอสมควร ดังนั้นเราจึงพูดคุยกันว่าหากเป็นทริปที่พานักท่องเที่ยวเพื่อขึ้นยอดเจดีย์แล้วปัญหาคือน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นปัญหาสำคัญสำหรับนักเดินป่า เราจัดเตรียมอาหารกันตามปกติ โดยฝีมีของพรานป่าทรอีกเช่นเคย และตามปกติแล้วเมื่อข้าพเจ้าหยุดเมื่อไรก็จะต้องตรวจดูว่ามีแขกที่ไม่รับเชิญมาเยี่ยมหรือไม่ จากผลการตรวจสอบมีบ้างแต่ไม่เป็นปัญหา ถึงช่วงเวลาค่ำผู้เขียนเองก็คว้ามีดเดินด้วยรองเท้าฟองน้ำเพื่อหาฟืนสุมไฟ และเข้านอนตามปกติเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา คืนนี้ลมแรงคงเนื่องจากกลุ่มของเราขึ้นอยู่นอนอยู่บนยอดเจดีย์ที่เป็นส่วนยอดสุดจึงไม่มีที่หลบลมนี่เอง แต่คืนนี้ไม่มีหมอกลงเหมือนยอดเขาพญานาคราช อากาศในป่าไม่ว่าฤดูไหนก็จะหนาวเป็นปกติ ข้าพเจ้านอนหลับไปโดยไม่ตรวจว่าที่เท้าหรือข้อเท้ามีเจ้าป่าแห่งเขาหลวงมาเยี่ยมเยียนหรือไม่
เช้าอันหนาวเหน็บข้าพเจ้าตกใจตื่นเมื่อได้ยินเสียงนกร้อง กับเสียงที่บอยบอกให้ มือกล้องของเราถ่ายภาพไว้ โดยที่ไม่ทราบเลยว่าเจ้าป่าแห่งยอดเจดีย์ได้เกาะติดกับเท้าข้างขวาระห่างร่องนิ้วนางกับนิ้วก้อยตั้งแต่เมื่อไหร่ จากเจ้าทากตัวน้อยตัวเท้าก้านไม้ขีดขณะนี้ลำตัวของมันเกือบเท้านิ้วโป้งได้แต่ตกลงที่เปลข้าพเจ้าได้จับดูและได้ใช้มีดประจำตัวแทงเข้าไปในตัวของมันเลือดสีแดงข้นไหลออกมาแต่ที่นิ้วเท้าเลือดได้หยุดไหลและมีแต่รอยเลือดที่แห้งเล็กน้อยติดอยู่เท่านั้น เรากินข้าว กินกาแฟกันตามปกติจากนั้นก็เก็บสัมภาระขึ้นหลังออกเดินทางจากยอดเจดีย์โดยลงไปทางอีกฝากที่เดินมาจากดงยอดพญานาคราช เราเดินลัดเลาะลงตามแนวป่าไปเรื่อย ๆ อากาศเย็นสบาย เดินไปคุยกันไปจนถึงแหล่งน้ำก็ช่วงเที่ยวพอดีเราหุงข้าวกันที่แห่งน้ำนี้ มีน้ำตกลงมาจากซอกหิน เราอาบน้ำ สระผมเพื่อชำระร่างกาย ข้าพเจ้าถอดเสื้อออกตรวจดูก็พบเจ้าทากน้อยอีกสองตัวเกาะติดที่เสื้อ และอีกหนึ่งตัวเกาะบริเวณด้านหลังจึงให้ทรจัดการกับมันเสียข้าพเจ้าคิดอยู่ในใจว่ามันขึ้นมาอยู่บริเวณด้านหลังได้อย่างไรนึกไปนึกมาก็พอจะเข้าใจว่าช่วงที่ลื่นล้มช่วงลงทางที่ลาดชันบนป่าอาจจะเป็นช่วงนั้นก็ได้ที่เช้าทากถือโอกาสเกาะติดเสื้อและมุดเข้าไปด้านหลังได้ หรือช่วงที่พักเหนื่อยแล้ววางเป้สพายหลังและช่วงที่เอาเป้ขึ้นสะพานไหล่คงไม่ได้ตรวจดูว่ามีเจ้าตัวจิ๋วเกาะอยู่ และจากการตรวจบริเวณข้อเท้าหลังเท้าก็มีทากอยู่แต่ไม่ได้เป็นปัญหามากนัก แค่กัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และออกเดินทางกันอีกเพื่อหาที่พักแรมอีกคืนเราลงมา พอถึงทางด่านบอยเจ้าของพื้นที่ได้บอกกับพวกเราว่าคืนนี้เราคงพักกันที่นี่แต่คืนนี้บริเวณดังกล่าวไม่น่าไว้วางใจเพราะเป็นทางด่านอาจจะมีเจ้าถิ่นที่ไม่ได้รับเชิญมาเยี่ยมเยียนทักทายเราเพราะฉะนั้น คืนนี้เราทั้งสี่คนควรนอนรวมกลุ่มกันไว้ กาง Flysheet รวมกลุ่มกันไฟสุ่มไว้เตรียมสำหรับทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า
เช้านี้เราทั้งสี่คนนั่งรับประทานเช้ากันอย่างง่าย ๆ ต้มน้ำชงกาแฟ และนั่งดื่มคุยกันเบาๆ และออกเดินทางสำรวจกันต่อเดินลงทางหุบเขาเราพบสถานที่ที่เคยมีการทำเหมืองแร่ดีบุกเก่า เราเดินทวนขึ้นเหนือน้ำต้นเหมืองและพักแรมกันล่องน้ำกลางเหมืองนั้นเองเรานั่งคุยกันบริเวณรอบกองไฟ ช่วงพบค่ำเราก็พบแขกที่ไม่ได้รับเชิญ เลียงผาได้ลงมากินน้ำ เราพบตัวซึ่งอยู่ในระยะไม่ถึง 50 เมตร ทรเคยบอกว่าสัตว์ในพื้นที่ป่าทางภาคใต้จะไม่กลัวไฟที่เราก่อขึ้นซึ่งต่างจากสัตว์ป่าในพื้นที่ทางเหนือหรือในพื้นที่อื่นเพราะสัตว์จะไม่กล้าเข้าใกล้ไฟหากเราก่อกองไฟไว้ เนื่องจากพื้นที่ทางภาคใต้จะไม่มีไฟป่าให้สัตว์เหล่านี้ได้หนี้ตายดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่าการที่เราก่อกองไฟจึงไม่ใช่สิ่งที่ทำให้สัตว์คุ้นเคย เรานั่งคุยในเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่แต่ละคนได้ผ่านพบประสบการณ์ ทั้งเรื่องการเดินป่า การใช้ชีวิตในป่า คุณเอกนั่งคุยเรื่อย ๆ พร้อมกับ
เหล้าลิกอร์ ที่ยังเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย ลิกอร์เป็นเหล้าขาวที่บ้านของบอยเป็นผู้ผลิตขาย ข้าพเจ้าถามว่าเหตุใดจึงชื่อลิกอร์ก็ได้รับ่คำตอบว่า เมืองนครศรีธรรมราชในสมัยก่อนชื่อลิกอร์ จึงใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่อของเหล้า เรานั่งอยู่กันจนดึกพอสมควรก็แยกย้ายกันเข้านอน
เช้าแล้วก็เหมือนกับเช้าของทุกวันที่ผ่านมา ทรตื่นก่อนคนอื่นออกไปล้างจาน ชาม ส่วนผมตื่นเป็นคนที่สองลุกมาก็ก่อไฟซึ่งในช่วงคืนที่ผ่านมาไฟได้หมอดหมดไปแล้ว ป่าภาคใต้ต่างจากป่าเหนือก็เรื่องฟืนที่เก็บมาทำเชื้อเพลิงจะมีความชื้นสูงก่อไฟติดอยากจึงต้องใช้เวลาในการก่อไฟพอสมควรสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือยางในรถยนต์เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีไม่ว่าจะเป็นช่วงหน้าฝน อากาศชื้นอย่างไร ก็ทำให้การก่อไฟง่ายขึ้น เมื่อไฟติดแล้วทรก็ เตรียมอาหาร และบรรเทาความหนาวเย็น เราจัดการกับอาหารมื้อเช้าเก็บของลงเป้ แต่เช้านี้เรายังจะไม่เดินต่อแต่ออกไปสำรวจด้านล่างของเหมือง เราเดินไปตามล่องน้ำ มีน้ำไหลกระทบก้อนหินเป็นแนวยาวปกติแล้วพื้นที่ทางภาคใต้เป็นป่าชื้นดังนั้นเราจะพบเห็นเฟรินส์ต่าง ๆ ที่เกาะตามโคตรหินเป็นสีเขียวขจีแทบมองไม่เห็นก้อนหินว่าก้อนหินชนิดนี้เป็นหินอะไร เราสำรวจเดินอยู่ประมาณชั่วโมงเศษก็เดินกลับที่เดิมที่เราพักและวางสัมภาระไว้ กลุ่มเรายกเป้ขึ้นบ่าออกเดินทางกันต่อ เราเดินตามป้ายของนักสำรวจที่มีพิกัด GPS บอกไว้ ผ่านหน้าผาที่ก้อนหินคว๊อสสีขาวทั้งแท่งตั้งตระง่านอยู่ด้านซ้ายมือ บอย ทร และ Hot ice ปีนขึ้นไปบนยอดเขา แต่ตัวผู้เขียนเองไม่ค่อยชอบที่สูงนักจึงลงไปสำรวจด้านล่าง จากนั้นเราก็นั่งต้มกาแฟดื่มกันมื้อเที่ยงมื้อนี้เราไม่ได้กินข้าวเที่ยงโดยเหตุผลที่ว่าอาหารเริ่มลดน้อยลงแต่เราจะต้องใช้เวลาเดินอีก 1 วัน ดังนั้นเราจึงต้องประหยัดเพื่อความอยู่รอด จากนั้นเราเดินตามทางของผู้สำรวจลงเขามาเรื่อย ๆ จากการอ่านพิกัดความสูงจากพันกว่าเมตร ลงมาถึงสามร้อยกว่าเมตรและลงสู่น้ำตกที่ได้ยินเสียงตั้งแต่แรก พักเหนื่อยกันที่น้ำตกและพยายามหาทางที่นักสำรวจใช้เดินเพื่อเข้าทางเดินเข้าทางด่าน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่พบร่องรอย หรือฝนตกจนล่องรอยดังกล่าวลบหายไป บอยเอยปากบอกว่าถ้าหาทางไม่พบอาจจะต้องโรยตัวผ่านหน้าผาที่มีน้ำตกกันไป โดยหันมาถามข้าพเจ้าว่าพอไปได้หรือไม่ข้าพเจ้าตอบว่าหากจำเป็นก็ไปได้ ปกติแล้วข้าพเจ้าไม่ชอบที่สูงแต่หากจำเป็นและไม่มีทางเลือกก็สามารถที่จะทำได้เช่นกัน ข้าพเจ้าเอยตอบไปว่าลองหาทางตัดขึ้นสันเขาก่อนดีกว่า เพื่อหาแนวทางกลับด้านล่างอีกครั้งซึ่งการโรยตัวผ่านน้ำตกลงด้านล่างจำเป็นต้องใช้เวลาเช่นกัน แต่เราก็ยังมีทางเลือกอื่นได้แก่การตัดขึ้นสันเขาเลยแม้ว่าจะเป็นทางชันก็ตาม ดังนั้นบอยตัดสินใจทันทีเดินตัดขึ้นสันเขา แล้วเราก็พบความสำเร็จเราพบเส้นทางที่นักสำรวจใช้เดินอยู่บนสันเขานี้เอง เส้นทางที่ทำให้เราหลงก็อาจจะเป็นทางน้ำ น้ำตก เพราะว่าเมื่อลงน้ำแล้วการที่จะขึ้นเพื่อหาทางใหม่นั้นจะไม่มีจุดที่เราพอจะสังเกตได้ และจะไม่ทราบได้เลยว่าบุคคลที่ใช้เส้นทางนี้เริ่มต้นที่บริเวณใด น้ำอาจจะทำลายทางขึ้นจนไม่สามารถเห็นเส้นทางเก่าได้ ดังนั้นการเดินจึงยึดเส้นทางด่านของสัตว์เป็นที่สังเกตไว้ และการดูล่องน้ำเป็นสำคัญ เรารีบเดินลัดเลาะผ่านต้นไม้ลงพื้นลงอีกครั้งจนถึงธารน้ำด้านล่าง เราวางสัมภาระ สิ่งสำคัญสิ่งแรกที่เราสำรวจคือแหล่งน้ำแห่งนี้มีอาหารสำหรับเราหรือไม่ ปลา พืชผัก เมื่อดูพิกัดจากจุดสุดท้ายที่อยู่ประมาณสี่ร้อยกว่าเมตรถ้าอยู่ในระดับนี้ก็ประมาณสามร้อยกว่าเมตรต้องมีอาหารพอที่ประทังชีวิตในค่ำคืนนี้ได้อย่างแน่นอน ความคิดและกังวลใจก็หมดไปเมื่อเราพบปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำตัวไม่ใหญ่มากแต่ก็ที่สามารถนำมาเป็นอาหารได้ เราทั้งสี่คนตัดสินใจพักแรมกันที่ธารน้ำแห่งนี้เพื่อหาอาหารเย็นมื้อนี้ก่อน จะได้มีเรียวแรงเดินทางต่อในวันต่อไป เราจัดการกางผ้าใบ ทาร์ซานบอยกาง Flysheet อย่างเช่นที่เคยปฏิบัติมา โดย Flysheet ของบอยก็จะมี Hot ice และบอยนอนใน Flysheet ส่วนผู้เขียนเองขึ้นไปนอนอีกสถานที่หนึ่งใช้ต้นไม้ต้นเดียวกันไม่ห่างกันมากนัก ทรเริ่มใช้วิชาพรานป่าที่ได้เรียนรู้จากผู้เป็นพ่อที่ได้สอนให้ในครั้งเยาว์วัย จนเป็นหนุ่มและจากพรานผู้ล่ามาเป็นพรานผู้อนุรักษ์แทน เขาผูกเบ็ด ส่วนข้าพเจ้าก็หาฟืนก่อไฟ ข้าพเจ้าหาฟืนไว้เป็นจำนวนมาก ก่อไฟแล้วก็หุงข้าวด้วยหม้อสนาม แต่สำหรับมื้อนี้ยังไม่ทราบว่าจะกินข้าวกับอะไรกันเลย สัมภาระที่เป็นอาหารก็เหลือแต่เกลือ เครื่องแกง พริก เวลาล่วงเลยไปสักพักใหญ่ ๆ ทรก็ใช้ความสามารถในการตกปลา ดุกภูเขาขนาดเท่าหัวแม่มือ ข้าพเจ้าเห็นปลาจึงเอยว่าปลาดุก ทรบอกว่าปลามัด ทางภาคใต้เรียกว่าปลาดุกภูเขาว่าปลามัด ปลาชนิดนี้ต่างกับปลาดุกทั่วไปได้แก่ มีครีบแต่จะไม่ทำให้คนเจ็บปวดจะไม่ทิ่มแทงมือ สถานที่ที่เราพักค้างแรมเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณสามร้อยกว่าเมตรปลาที่ที่เราจับได้บริเวณที่พักจึงตัวไม่โตมากนัก จากนั้นเราก็นั่งรอผลปลา ทรหายเข้าป่าไปพักใหญ่ก็ได้กบตัวน้อยมาสองสามตัว วิชาพรานป่าที่มีประสบการณ์ในป่าแห่งนี้จึงทำให้เขาจัดการกับกบทำเหยื่อเพื่อตกปลาเรานั่งคอยที่พักริมกองไฟ นั่งคิดถึงอะไรเรื่อย ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านมาบ้างครั้งก็คิดตนเอง ว่าเรามาทำอะไรที่นี่ ย้อนคิดถึงตนเอง พรางก็ยกไม้ที่เก็บมาตั้งแต่ช่วงเย็นใส่และสุ่มไฟให้สว่างไว้ ข้าพเจ้านั่งอยู่ท่าความเงียบ ส่วน Hot ice ก็นั่งอยู่บนเปลนั่งบันทึกข้อมูลของตนเอง จนได้เห็นแสงไฟจากแบตเตอรี่ ที่ทรใช้ติดกับศีรษะแสงไฟวูบวาบ ไปมาและเดินมาอยู่ตรงข้างกองไฟผลที่ได้คือปลามัดอยู่ในจานประมาณสิบกว่าตัว ข้าพเจ้าจัดการทำปลาหันเป็นท่อน ๆ ล้างด้วยเกลือให้สะอาดจากนั้นเป็นหน้าที่ของ Hot ice เป็นกุ๊กผัดเผ็ดปลามัด เราทำอาหารอย่างเรียบง่าย ทรกับบอยออกหาปลาอีกครั้งแล้วก็กลับมาพร้อมด้วยปลามัดอีกจำนวนหนึ่ง และกบอีกสองสามตัว จากนั้นเรากินข้าวกันท่ามกลางกองไฟที่อยู่ใกล้ ๆ และแสงจันทร์ที่นวลสว่างไปทั่วบริเวณ เราพูดคุยกันบ้างตามประสานักเดินป่า นักผจญไพร ทรก็เริ่มออกสำรวจพื้นที่ใกล้ ๆ เพื่อหาอาหารอีกครั้ง ๆ นี้เป็นการหากบไม่ใช่ปลาอย่างเช่นเคย เรานั่งรอทรอยู่ครู่ใหญ่ ๆ ทรก็กลับมาพร้อมกับบอกว่าเจอเจ้าถิ่นเข้าให้ตัวใหญ่มากแต่เป็นหมูป่า ทรเอยกับกลุ่มเราว่าหากเป็นสมัยก่อนที่เป็นนักพรานนักล่าสมัยนั้น ได้กินหมูย่างแน่นอน ทรได้กบมาห้าหกตัวผสมกับปลามัดที่ได้มาก็พอที่จะเป็นอาหารมือเช้าได้เรานั่งคุยกันอีกพักก็แยกย้ายกันเข้านอน
วันสุดท้ายของการอยู่ร่วมกันในป่ากลุ่มเราลุกออกจากเปลสนามก็ออกมาทำการล้างหน้าแปรงฟัน ส่วนมื้อกล้องของเรายกกระเป๋ากล้องทั้งใบออกมาเช็ดทำความสะอาดผึ่งแดดโดยเหตุผลที่ว่าในระยะเวลาหลายวันที่ผ่านมาอุปกรณ์ได้จัดเก็บอยู่ในกระเป๋าความชื้น ไอน้ำได้เกาะจับทำให้ต้องนำมาให้ได้แสงสว่างบ้าง เช้านี้ผมเป็นผู้หุงข้าวอีกเช่นเคยแต่ด้วยความไม่ระวังเล็กน้อยทำให้ข้าวเกือบไหม้แต่ไม่ถึงกับไหม้จนไม่สามารถกินได้ เราจัดการกับปลามัดโดยนำปลาส่วนหนึ่งมาย่างร่วมกับกบอีกสองสามตัวและส่วนหนึ่งนำไปผัดกับข้าวรับผัดเผ็ดที่เหลือจากการกินในช่วงกลางคืนที่ผ่านมานับว่าเป็นอาหารมื้อที่อร่อยที่สุดเลยก็ว่าได้เรากินข้าว ล้างจานชามกันเรียบร้อยแล้วก็เก็บสัมภาระออกเดินต่อเพื่อหาทางออกจากป่า จากจุดนี้ข้าพเจ้าเองนึกอยู่ในใจว่าป่าช่วงนี้เป็นป่าช่วงด้านล่างลงมาอยู่ในระดับน้ำทะเลอยู่ที่สามร้อยกว่าเมตรเจ้าทากน้อยคงไม่มีอีกแล้ว แต่ข้าพเจ้าคิดผิดเสียแล้วแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในระดับน้ำทะเลน้อยมากเจ้าทากน้อยก็ยังตามเกาะติดอยู่เช่นเคย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าวิตกกังวลนัก เราใช้เวลาเดินกันอยู่ประมาณชั่วโมงเศษและแล้วเราก็เดินเจอสิ่งที่บ่งบอกถึงการเป็นชุมชนเมือง ต้นกล้วย นักเดินทางหรือนักเดินดงที่อยู่ในป่า หากเจอกล้วย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยป่า หรือกล้ายบ้าน หมายถึงว่าเราอยู่ในระยะของคนพื้นล่างแล้ว เราเดินอีกพักใหญ่ ๆ เราก็เจอต้นยางพารา เราเจอทางออกแล้วและเราก็เดินมาที่ทางข้ามน้ำ พบพรานเก่า ลุงแสงแก่ตกปลาอยู่ เรานั่งคุยกับลุงแก่ครู่ใหญ่ ๆ ถามถึงในเรื่องต่าง ๆ บนป่าแกเล่าให้ฟังว่าสมัยเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนได้มีการทำเหมืองดีบุกในพื้นที่ที่กลุ่มของเราเดินมา แต่ได้เลิกไปนานแล้ว สภาพพื้นป่าจึงเข้าอยู่ในสภาวะของป่าดิบ เราถามถึงว่าที่ที่เราอยู่เรียกว่าหมู่บ้านอะไร อยู่บริเวณไหนเมื่อทราบแล้วเราก็ยกมือไหว้ล้ำลาขอบคุณลุงและลาออกเดินทางจนถึงจุดรถยนต์มารับก็เป็นอันสิ้นสุดของการสำรวจป่าแห่งนี้การที่กลุ่มเราที่ไม่มีความคุ้นเคยกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีขอบเขต อิ่มก็อิ่มด้วยการ อดก็อดด้วยกัน เหนื่อยก็เหนื่อยด้วยกัน ปัญหาและอุปสรรคก็แก้ไขร่วมกัน อาจจะมีความขัดแย้งกันบ้างแต่ก็มีเหตุผลของตนเอง ยอมรับกันได้ ถอยกันคนละก้าว ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน แบ่งบันให้กับคนที่ด้อยโอกาสกว่า โลกเราคงน่าอยู่ และสงบสุข


ความผิดปกติของร่างกายของการเข้าสำรวจป่าเขาหลวง ณ อุทยานแห่งชาติเขานันครั้งนี้
ตัวข้าพเจ้าเอง ปกติแล้วข้าพเจ้าจะเป็นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่ตลอดเวลามีน้ำมูกไหลในช่วงเช้า ๆ ของทุกวันเมื่อตื่นนอนทุกครั้งที่ผ่านมาน้ำมูกจะไหลและคัดจมูกอยู่ตลอดเวลา โดยเป็นมานานพอสมควรหลายปี จากการที่ข้าพเจ้าได้เดินป่าอยู่เป็นประจำในพื้นที่ทางภาคเหนือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ตาก ซึ่งการเดินในพื้นที่ดังกล่าวข้าพเจ้าไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับทากที่เกาะกินดูดเลือดผิดกับครั้งนี้ที่ถูกทากกัดมากกว่า 10 จุดในบริเวณหลังเท้าทั้งสองข้างในช่วงที่รู้สึกปวดคงเป็นวันที่ 20 มีนาคม 2551 ช่วงสุดท้ายที่ค้างคืนที่ริมน้ำตกหรือจุดหาปลาดุกภูเขาข้าพเจ้ารู้สึกปวดที่หลังเท้าด้านซ้ายมากจึงขอยาหม่องของทรมาทา จากการสังเกตหากมีการเดินแล้วจะรู้สึกปวดแต่ไม่มากนักพอที่จะทนได้ จากวันที่ 21 มีนาคม 2551 เป็นต้นมาข้าพเจ้าไม่ได้คิดในเรื่องที่มีโรคภูมิแพ้หรือแพ้อากาศในช่วงเช้าเลยจนกระทั่งเดินทางกลับบ้านที่ราชบุรี ถึงช่วงเช้าวันที่ 22 มีนาคม 2551 ช่วงสาย ๆ ทางโรงเรียนลูกชายได้เชิญผู้ปกครองเข้าไปเพื่อประชุมในเรื่องต่าง ๆ ของโรงเรียนจากนั้นข้าพเจ้าเดินทางกลับบ้านที่ราชบุรี ข้าพเจ้าอยู่ที่บ้านราชบุรีตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2551 จนถึงเช้าวันที่ 25 มีนาคม 2551 ข้าพเจ้าได้ขับรถยนต์มาปฏิบัติงานตามปกติจนถึงวันที่ข้าพเจ้าได้เขียนบันทึกฉบับนี้ โรคภูมิแพ้ที่ข้าพเจ้าเป็นอยู่ไม่ได้เป็นปัญหาอุปสรรค์เลย ซึ่งข้าพเจ้าคิดได้ก็คงจะเป็นวันที่ 24 มีนาคม 2551 เพราะในช่วงเช้าของทุกวันข้าพเจ้าตื่นนอนจะต้องลงมาสั่งน้ำมูกทุกครั้งแต่เช้าวันนี้ไม่มีอาการดังกล่าว ข้าพเจ้าก็ไม่ได้คิดอะไรมากก็คิดแต่เพียงว่าวันนี้คงไม่แพ้อะไรจึงทำให้น้ำมูกไม่ไหล แต่จากวันนั้นถึงวันที่ 1 เมษายน 2551 อาการของข้าพเจ้าก็ไม่เกิดอาการของโรคแพ้อากาศหรือภูมิแพ้อีกจนข้าพเจ้าแปลกใจว่าอาการดังกล่าวหายได้อย่างไรในเมื่ออาการดังกล่าวเป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจของข้าพเจ้าตลอดมา ตั้งแต่ฝนเริ่มจะตกก็จะรู้สึกคัดจมูก รับประทานอาหารไปก็ต้องสั่งน้ำมูกไปเป็นประจำ จนต้องนำยาแก้แพ้มาติดกระเป่าไว้เป็นประจำซึ่งยาดังกล่าวจะไม่ขาดกระเป๋าข้าพเจ้าอย่างเด็ดขาด บางครั้งแค่จาม 1-2 ครั้งน้ำมูกก็จะไหลอยู่ตลอดเวลาทั้งวันจนต้องนำยาที่เก็บในกระเป๋ามารับประทานและนอนผักผ่อนสัก 1-2 ชั่วโมงอาการดังกล่าวก็จะหายไปซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของข้าพเจ้าไปเสียแล้วในเรื่องการแพ้อากาศหรือภูมิแพ้ จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2551 ที่เขียนบันทึกเขาหลวงข้าพเจ้าไม่มีปัญหาดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว จึงทำให้ข้าพเจ้าแปลกใจว่าเกิดจากสาเหตุใด เหตุใดอาการดังกล่าวจึงไม่เกิดกับตัวข้าพเจ้าอีก ไม่มีอาการดังกล่าวให้เป็นที่กังวนใจ น้ำมูกไม่ไหลในช่วงเช้า ถึงแม้นว่าการปฏิบัติงานประจำจะมีการจามอยู่บ้างแต่ก็ไม่ทำให้เกิดน้ำมูกไหลจนต้องหายามารับประทานอีก จากวันที่15 มีนาคม 2551 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2551 ข้าพเจ้าไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับโรคแพ้อากาศหรือภูมิแพ้อีกและจะเริ่มมีปัญหาอีกครั้งในช่วงเดิน เมษายน แต่ก็ไม่เหมือนครั้งที่เคยเป็นมามากนัก
สารสำคัญ 2 ชนิดที่ทากปล่อยเข้าสู่แผล ดังนี้
1.สารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับฮีสตามีน (Histamine) ที่จะช่วยกระตุ้นหลอดเลือดของเหยื่อให้ขยายตัว
2. สารฮีรูดีน (Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือดซึ่งจะทำให้เลือดของเหยื่อไหลไม่หยุด ถึงแม้ว่าทากจะปล่อยตัวหลุดไปแล้วเป็นที่สงสัยกันว่าหน้าแล้งแล้วทากจะไปอยู่ที่ไหน เพราะทากจำเป็น
ต้องมีผิวหนังที่ชุ่มชื้นตลอดเวลา มันจึงไม่สามารถทนทานกับสภาพที่แห้งแล้งได้เมื่อถึงหน้าแล้ง ทากจะค่อยๆรวมตัวกันไปอยู่ในที่มีความชื้นสูงเช่น ริมลำธาร แต่มันจะไม่ลงไปแช่ในน้ำโดยตรง มันจะใช้วิธี
มุดลงไปใต้ดินที่มีความชื้นสูงกว่าในช่วงระยะเวลานี้ พวกมันอยู่นิ่งๆไม่มีการตอบสนองใดๆ อาจกินเวลาถึง 6 เดือน เพื่อรอให้ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้ง ทากก็เช่นเดียวกับไส้เดือน คือเป็นกระเทยมีสองเพศในตัวเดียวกัน แต่จะไม่สามารถขยายพันธุ์ด้วยตัวเองจำเป็นต้องจับคู่กัน เพื่อแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ ทากที่แสดงเป็นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มเข้าสู่ทากที่แสดงเป็นตัวเมียและขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานต่อไปใช่ว่าทากจะมีแต่ด้านร้ายกาจ ในทางการแพทย์พบว่าทากก็มีประโยชน์ โดยการนำทั้งตัวทาก หรือสารที่ได้มาจากตัวทากซึ่งก็คือ Hirudin มาใช้ในการทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดที่หัวใจ ทุกชีวิตต่างก็มีด้านดีและด้านร้าย แล้วแต่มุมมองว่าจะมองเห็นด้านไหนมากกว่ากัน ดั่งเช่นเจ้าทากสัตว์ตัวจิ๋วแห่งป่าดิบ แม้จะเป็นสัตว์ที่ใครๆต่างพากันขยะแขยงและรังเกียจแต่ถึงอย่างไรทากก็เป็นส่วนหนึ่งของสมดุลย์ภายในป่า และยังสร้างสีสันให้แก่นักเดินป่า แล้วคุณล่ะเริ่มรักเจ้าทากตัวน้อยนี้ขึ้นมาบ้างหรือยัง

ต๋อยแซเมบ้
1 เมษายน 2551

21 เม.ย. 2553

วิเคราะห์เขื่อนได้มากกว่าเสีย หรือเสียมากได้





ต้นน้ำอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
โดย ต๋อยแซมเบ้
จากการที่ได้มีการนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในหลาย ๆปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินเท้าเข้าน้ำตกแม่กระสา ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม โดยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินเท้าหลายชั่วโมง น้ำตกแม่กี่ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของเอเชีย และยอดเขาที่สูงที่สุดของผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้หลากหลายสายพันธุ์ สัตว์ป่านานาชนิด โดยพื้นป่าแห่งนี้ได้ต้อนรับผู้มายืนคนแล้วคนเหล้า ปีแล้วปีเล้า ทำให้ผู้ที่มาเยือนพื้นป่าแห่งนี้ได้จดจำทั้งความเหนื่อย เมื่อยล้า เพื่อที่จะไปให้ถึงยอดเขาที่สูงที่สุดในพื้นป่าแห่งนี้นามว่า โมโกจู คำ ๆ นี้เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวเขาซึ่งอาจจะแปรได้ว่าเหมือนฝนจะตก ซึ่งคำ ๆ นี้มิได้กล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงแม้แต่น้อย หากผู้ที่หลงไหนในธรรมชาติแล้วการเดินขึ้นพิชิตของโมโกจูเป็นความใฝ่ฝันของนักเดินป่า ผู้พิสมัยการใช้ชีวิตท่ามกลางป่าเขาลำนำไพร เสมือนการได้พิชิตยอดเอเวอเรสต์ก็มิปาน ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาถา (ภาษาสันสกฤต: หมายถึง หน้าผากแห่งท้องฟ้า) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาจีน: [จูมู่หลั่งหม่า] หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์< นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปาและนักปีนเขาบางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว กลับมาพูดถึงโมโกจู" ชื่อนี้อาจจะแปลกหูสำหรับคนทั่วไป บางคนยังคิดว่าเป็นชื่อที่มาจากแถวทวีปแอฟริกา แต่สำหรับนักเดินทางผู้นิยมไพรอย่างแท้จริงแล้ว มันคือความใฝ่ฝันที่ใครหลายๆคนปรารถนาจะได้ไปสัมผัสสักแม้ครั้งหนึ่งในชีวิต สำหรับบางคนแล้วครั้งเดียวคงจะไม่เพียงพอ จนมีคำพูดของนักนิยมไพรเป็นบทร้อยกรองไว้ให้เราได้ศึกษา ในบทกลอนนั้น ๆ โดยมีคำหลาย ๆ คำดังคำว่า ถ้าเวลาคือการเดินทาง....เข็มทิศก็คือจุดหมาย ความสุขมันไม่ได้เดินมาหาเราหรอก แต่มันรอให้เราเดินไปหามันต่างหาก
น้ำแม่วงก์ลำน้ำสาขาสายสำคัญของแม่น้ำสะแกรัง และไหลรวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่จังหวัดอุทัยธานีแม่วงเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชน 2 ฝั่งแม่น้ำมาช้านาน ความยาวของลำน้ำกว่า 180 กิโลเมตร ใน จ.อุทัยธานี และ จ.นครสวรรค์ เป็นจุดก่อร่างสร้างเป็นวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำที่พึ่งพาอาศัย "น้ำ" กันมาช้านาน จนปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย ภัยแล้ง น้ำไม่พอ น้ำท่วม และน้ำเสีย แต่กระนั้นน้ำแม่วง ยังนับว่าเป็นแม่น้ำที่ยังมีชีวิต และเอื้อประโยชน์ต่อผู้คนอย่างมหาศาล จนอาจเรียกได้ว่าแม่วง เป็นแม่น้ำสายสุดท้าย ของผืนป่าตะวันตกที่ยังไม่ถูกสร้างเขื่อนป่าต้นน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงที่มีลำน้ำสาขามากมายที่ไหลมารวมกัน เดิมผืนป่าแม่วงมีการสัมปทานป่าไม้การบุกเบิกการเกษตร การลักลอบตัดไม้ และการสัมปทานป่าไม้ โดยเฉพาะไม้สัก จนมีสภาพป่าเสื่อมโทรม ไม้ใหญ่ถูกตัดจนเกือบหมด จนเมื่อปี พ.ศ.2530 กรมป่าไม้ได้มีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ผืนป่าแห่งนี้จึงได้รับการอนุรักษ์และมีการฟื้นตัวตามธรรมชาติกลับมาอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากรายงานแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (2542-2546) พบว่าผืนป่าแม่วงมีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ มีสภาพป่าหลายประเภททั้งป่าดิบเขา ดิบแล้ง เบญจพรรณและเต็งรัง พบสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 549 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่น้อยกว่า 57 ชนิด นก 196 ชนิด ปลา 68 ชนิด เป็นต้น มีสมเสร็จ และเลียงผา เป็นสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง หมาจิ้งจอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ เสือโคร่ง เสือดำหรือเสือดาว วัวแดง หมีควาย นาก ชะนี นกเงือกกรามช้าง เป็นต้น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ยังประกอบด้วยป่าหลายประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ ซึ่งสำรวจพบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด และมีลักษณะพิเศษ คือมีไม้สักเป็นไม้เด่น โดยเฉพาะไม้สักที่กำลังฟื้นตัวขึ้นตามธรรมชาติขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น มีขนาดเส้นรอบวงโดยเฉลี่ย 80 ซม. อีกทั้งยังพบว่าเนื้อไม้สักมีสีทอง หรือที่เรียกว่า "สักทอง" ซึ่งในประเทศไทยจะพบผืนป่าสักทองธรรมชาติเช่นนี้เพียง 2 แห่งคือ ที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เท่านั้น นับเป็นพื้นที่ป่าที่รักษาพันธุกรรมสักตามธรรมชาติที่สำคัญ ป่าแม่วงก์จัดว่าเป็นป่าเต็งรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีไม้เต็งรัง พลวง ตะแบกเลือด ขึ้นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีความหนาแน่น 86.61 ต้น/ไร่ ลูกไม้ 656 ต้น/ไร่ และกล้าไม้ 2,270 ต้น/ไร่ ป่าดิบเขามีสภาพภูมิประเทศเป็นเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาถนนธงชัย มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม โดยมีเขาโมโกจูเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุด 1,964 ม.รทก. และเป็นต้นน้ำของน้ำแม่วงก์ ป่าดิบแล้ง พบพันธุ์ไม้ในวงยาง มีลูกไม้ขึ้นปกคลุมพื้นล่างอยู่อย่างหนาแน่น มีพันธุ์ไม้กว่า 43 ชนิด นอกจากนี้แม่วงก์ยังเป็นผืนป่าส่วนหนึ่งของป่าตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลกแห่งเดียวในประเทศไทย รวมเป็นป่าอนุรักษ์ที่ต่อเนื่องกันเป็นป่าผืนใหญ่กว่า 12 ล้านไร่ ถือเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเชื่อมโยงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และผืนป่าอนุรักษ์อื่นๆ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและชีวิตความเป็นอยู่ทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถเคลื่อนย้ายหากิน เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งรักษาพันธุกรรมที่สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้อยู่ได้ ป่าแม่วงก์ยังเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ยอดเขาโมโกจู ที่มีความสูงกว่า 1964เมตร ร.ทก. น้ำตกแม่กะสา ซึ่งสูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีทั้งหมด 9 ชั้น รวมความสูง 900 เมตร บางชั้นมีความสูงกว่า 270 เมตร น้ำตกแม่เรวา มี 5 ชั้น บางชั้นมีความสูงกว่า 100 เมตร น้ำตกแม่กี่ -น้ำตกแม่วงก์ ที่มีความสวยงามมาก ซึ่งแหล่งธรรมชาติเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์กับคนท้องถิ่นและประเทศได้อย่างมาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวปีละ 30,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ต้นเหตุความขัดแย้ง…ลุ่มน้ำวิกฤต
ลุ่มน้ำแม่วงจัดว่าอยู่ในสภาพที่วิกฤตอย่างยิ่ง นับตั้งแต่การขยายตัวของพื้นที่การเกษตรเป็นจำนวนมาก ในกิ่งอำเภอแม่วง และ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ จนน้ำในลำน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อประชาชนท้ายน้ำโดยเฉพาะในเขตอ.สว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.อุทัยธานี จนเกิดปัญหาน้ำเสียในเขตเมือง การขยายพื้นที่ทำการเกษตรในลักษณะพืชไร่เชิงเดี่ยว ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างและพังทลายของหน้าดิน ดินเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว มีการใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดมลพิษตามลำน้ำ ในขณะเดียวกัน ก็เกิดน้ำท่วมในที่ลุ่มและน้ำขัง ไม่สามารถระบายออกไปได้ เนื่องจากแนวถนนหลายสายได้กีดขวางทางน้ำ ท่อน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และในกรณีที่เกิดน้ำเอ่อหนุนจากแม่น้ำเจ้าพระยา (เหนือเขื่อนเจ้าพระยา) ยิ่งทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกไปได้ แม่น้ำวงและลำน้ำสาขามีสภาพตื้นเขิน ท้องน้ำมีแต่ตะกอนทราย เขื่อนขนาดเล็กและฝายต่าง ๆ ก็ตื้นเขินจากตะกอนทรายเช่นเดียวกัน ไม่สามารถรองรับน้ำได้เท่าที่ควร เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้แล้ว การลดลงของพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำ ก็เป็นปัจจัยทำให้ปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ในช่วงปี พ.ศ.2504-2538 จ.นครสวรรค์และ จ.อุทัยธานี มีพื้นที่ป่าลดลงถึง 2.8 ล้านไร่ มีการประเมินว่าลุ่มน้ำแม่วง มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ไม่ถึง 15 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และตอนบนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเท่านั้น จากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ลุ่มน้ำแม่วง อยู่ในภาวะวิกฤตเป็นอย่างยิ่ง เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ น้ำไม่พอใช้ น้ำท่วมขัง ฯลฯ การแก้ไขปัญหาของลุ่มน้ำ จึงต้องพิจารณาแก้ไขที่สาเหตุของปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และยั่งยืน อย่างไรก็ตาม น้ำแม่วงยังเป็นแม่น้ำที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดทั้งปี (ช่วงที่ไหลในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์) ปัจจุบันคาดว่าในประเทศไทยมีแม่น้ำไม่ถึง 10 สายที่ยังมีน้ำไหลตลอดทั้งปีเช่นนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ จึงนับว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ คือ ป่าต้นน้ำที่ป้อนน้ำให้กับประชาชนในลุ่มน้ำแม่วง แต่ความล้มเหลวในการบริหารการใช้ประโยชน์ที่ดิน และขาดประสิทธิภาพในการจัดการน้ำ ที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำแม่วง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมขัง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น


เขื่อนแม่วงก์ ได้มากเสีย หรือเสียมากได้
ท่ามกลางปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ความพยายามในการจะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังนั้นกลับมีอยู่น้อยมาก และมีความพยายามจะทำให้เห็นว่ามีเพียงทางเดียวเท่านั้นในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด นั่นคือการสร้างเขื่อนแม่วง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขื่อนแม่วงถูกนำเสนอโดยกรมชลประทาน มาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเขื่อนขนาดใหญ่มีความสูง 57 เมตร ยาว 730 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 11,000 ไร่ ที่ระดับเก็บกักน้ำปกติ และ 12,375 ไร่ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด จะกักเก็บน้ำใช้งานได้ 230 ล้านลูกบาศทเมตร เพื่อพื้นที่ชลประทานเดิม 230,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานใหม่ 61,000 ไร่ และประเมินราคาก่อสร้างเมื่อปี 2539 จะใช้งบประมาณถึง 4,043 ล้านบาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือการสร้างเขื่อนแม่วง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าทันทีไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ ประเมินในเชิงปริมาณว่าจะมีไม้ใหญ่ 556,614 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้ 147,410 ลบ.ม. ในจำนวนนี้เป็นไม้สักกว่า 57,913 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้ 12,260 ลบ.ม. และรวมถึงลูกไม้ 3,923,128 ต้น และกล้าไม้ 12,344,904 ต้น ต้องถูกน้ำท่วม หรือคิดง่าย ๆ ว่าในพื้นที่ 1 ไร่ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ 80 ต้น เป็นไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น ซึ่งหากใช้เวลาในการปลูกไม้เหล่านี้ต้องใช้เวลานับสิบปี และอีกหลายสิบปีกว่าที่ไม้จะโตได้มากขนาดนี้ ในเชิงคุณภาพ ป่าที่ราบลุ่ม (ไม่เกิน 300 ม.รทก.) จะมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่าป่าที่อยู่ในพื้นที่สูง และพื้นที่มีลักษณะแตกต่างจากกันในการดำรงชีพของสัตว์ป่า ป่าที่ราบลุ่ม มีความสำคัญมากต่อสัตว์ป่า และเป็นพื้นที่ที่สัตว์ป่าต้องใช้ประโยชน์ ทั้งแบบชั่วคราว และบางชนิดจะอาศัยอยู่ได้เฉพาะที่ราบลุ่มเท่านั้น เช่น เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ แหล่งหากินที่สำคัญของสัตว์ป่า โดยเฉพาะในหน้าแล้ง สัตว์ป่าบางชนิดจะอาศัยอยู่เฉพาะที่ลุ่มหรือใกล้แม่น้ำ เท่านั้น ป่าที่ลุ่ม เช่นในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน เพราะหากไม่กลายเป็นที่ตั้งบ้านชุมชนหรือทำเกษตรกรรมแล้ว ก็จะมีการสร้างเขื่อนท่วมพื้นที่ป่าที่ลุ่มไปจนเกือบจะหาไม่ได้แล้วในประเทศไทย ป่าที่ราบลุ่ม ในอุทยานแห่งชาติแม่วง เป็นแหล่งน้ำ เส้นทางเดินของสัตว์ป่า และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า หากถูกน้ำท่วม อ่างเก็บน้ำจะเป็นตัวกีดขวางทางเดินของสัตว์ป่า (พื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์จะถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อน) และแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น 2 ส่วน จึงนับเป็นการสูญเสียในด้านระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้ ยังไม่นับการสูญเสียที่จะตามมาจากการสร้างเขื่อนในป่า ดังจะเห็นได้จากเขื่อนหลายแห่ง เช่น เขื่อนทับเสลา ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ปรากฏว่าภายหลังการสร้างเขื่อนเพียงไม่กี่ปี ป่าต้นน้ำเหนือเขื่อนก็ถูกบุกรุกทำลายไปเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนเขาแหลม ก็มีการบุกรุกพื้นที่ป่านับแสนไร่ และเป็นปัญหาที่ยากในการแก้ไขดังเช่น ที่เห็นในปัจจุบันกรณีบ้าน 3 หลัง การสูญเสียระบบนิเวศจากการสร้างเขื่อนแม่วง จึงเป็นการสูญเสียที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคนในลุ่มน้ำแม่วงในระยะยาว หากผืนป่าแม่วงต้องถูกทำลายไปจนส่งผลกระทบต่อความสามารถของป่าในการป้อนน้ำให้กับคนในลุ่มน้ำ และจะทำให้ปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำรุนแรงมากกว่าในปัจจุบัน ทางออก มีมากกว่าการสร้างเขื่อนการที่ปัญหาในลุ่มน้ำแม่วง มีอยู่มาก และสะสมมาเป็นระยะนานนับสิบปี การแก้ไขจึงไม่สามารถจะใช้วิธีการใด วิธีการหนึ่ง แต่หากจะต้องมีการผสมผสานวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ซึ่งจะทำให้สามารถการแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร ยั่งยืน มากกว่าการสร้างเขื่อนแม่วง แหล่งน้ำขนาดเล็กใกล้บ้าน ไม่สูญเสียน้ำ แหล่งน้ำขนาดเล็ก ถือเป็นการกักเก็บน้ำแบบหนึ่ง จึงควรมีการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งถึงแม้ว่าจะกักเก็บน้ำได้น้อย แต่จะมีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมากกว่า ลดการสูญเสียน้ำในการขนส่งน้ำ ซึ่งมีการสูญเสียน้ำมากกว่า 50-60 % และหากมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วยก็จะ สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำได้มากซึ่งหากนำงบประมาณที่จะใช้สร้างเขื่อน 4,000 กว่าล้านบาท(เมื่อปี 2539 ปัจจุบันอาจมากกว่า 7,000 ล้านบาท) มาใช้ก็อาจช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมได้มากกว่าที่จะได้จากการสร้างเขื่อนแม่วง ทั้งนี้ หากนำงบประมาณในการสร้างเขื่อน มาใช้ในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งมีทั้งหมด 22 ตำบล 136 หมู่บ้าน จะทำให้ท้องถิ่นมีงบประมาณในการจัดหาน้ำอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่นไม่น้อยกว่า ตำบลละ 200 ล้านบาทหรือหมู่บ้านละ 30 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้น้ำเท่านั้น แต่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในทุกๆ ด้าน เช่น การพัฒนาอาชีพ ฯลฯ อนึ่ง จากการศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง (2537) พบว่าการสร้างเขื่อนแม่วงตอนบนจะแก้ไขการขาดแคลนน้ำได้เพียง 19 % เท่านั้น (เขื่อนแม่วงตอนล่างแก้ได้ 56 %) และเขื่อนแม่วงยังอาจเป็นไม่มีน้ำกักเก็บตามที่คาดการณ์ไว้ จากความความแปรปรวนของปริมาณน้ำท่า เช่น เขื่อนทับเสลาที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเฉลี่ยไม่ถึง 60 % ของความจุอ่างเก็บน้ำ2. คืนชีวิต..ฟื้นฟูแม่น้ำลำน้ำสาขาของแม่วงหลายแห่ง ณ ปัจจุบันมีสภาพเหมือนแม่น้ำที่ตายแล้ว คือมีสภาพตื้นเขินและมีแต่ตะกอนทราย ทำให้ประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำในลำน้ำลดลงน้อย และมีผลต่อการทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น การฟื้นฟูแม่น้ำ ด้วยการขุดลอกทราย และขจัดสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำ จะทำให้แม่น้ำมีส่วนบรรเทาปัญหาได้ รวมถึงการขุดลอกตะกอนหน้าฝาย ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของฝายลดลง ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ 3. สู่การเกษตรยั่งยืนหากยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชอย่างไม่เหมาะสมกับสภาพของดินและน้ำ ดังเช่นที่ผ่านมา ก็เชื่อว่าถึงแม้ว่าจะมีการสร้างเขื่อนแม่วงขึ้นก็จะไม่สามารถจ่ายน้ำได้อย่างเพียงพอ จะเกิดการแย่งชิงและความขัดแย้งในการใช้น้ำมากขึ้น ดังเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ความเหมาะสมของดินและน้ำ ในลักษณะเกษตรผสมผสาน จึงเป็นการจัดการด้านความต้องการน้ำให้เกิดความสมดุล กรณีเขื่อนทับเสลา ก็พบว่าเพียงระยะเวลาไม่กี่ปีหลังจากการสร้างเขื่อน ก็เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำขึ้นมาอีกเหมือนเดิม เพราะการปลูกพืชไม่เหมาะสมกับน้ำที่มีอยู่ (ไม่นับที่มีการขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นมากเกินไป) 4. ป่าต้นน้ำ…แหล่งเก็บน้ำถาวร ป่าต้นน้ำซึ่งเปรียบเหมือนแหล่งผลิตน้ำถาวร และเป็นความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งของลุ่มน้ำ ทำให้ปริมาณฝนตกเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงมา น้ำท่าในฤดูแล้งลดลง นอกจากนี้ป่าสามารถช่วยชะลอการไหลของน้ำมิให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน กักเก็บน้ำซึมลงในดินและปล่อยออกมาในช่วงฤดูแล้งได้ การที่ป่าต้นน้ำที่เหลืออยู่ไม่ถึง 15 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำ จึงเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ซึ่งหากยังปล่อยให้มีการบุกรุกตัดไม้ ทำลายป่า ล่าสัตว์ ต่อไปอีก ทั้งปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้การฟื้นฟูป่าในชุมชน ป่าริมแม่น้ำ จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของพื้นที่ ลดการระเหยของน้ำได้ 5. ปรับปรุงประสิทธิภาพชลประทาน ได้น้ำเพิ่มขึ้น 10 %จากการศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง (2537) พบว่าหากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการจ่ายน้ำในพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นอีก 10 % จะทำให้มีน้ำชลประทานเพิ่มขึ้น 264 ล้านลบ.ม./ปี ซึ่งมากกว่าน้ำที่จะได้จากเขื่อนแม่วง (230 ล้านลบ.ม.) เสียอีก ซึ่งหากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบชลประทาน จะทำให้ประหยัดงบประมาณหลายพันล้านบาท และไม่มีผลกระทบต่อป่าไม้ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นอกจากนี้ ควรหยุดการขยายพื้นที่ชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ ใช้เงินลงทุนสูง และทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างคนที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานและไม่ได้อยู่ จึงควรให้ความสำคัญกับการชลประทานขนาดเล็กที่เหมาะสมกับพื้นที่ กระจายให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 6. สร้าง "แก้มลิง" ป้องกันน้ำท่วมจากข้อมูลน้ำฝนรายปี พบว่าฝนมีการกระจายทั่วไปในพื้นที่ลุ่มน้ำ ดังนั้นไม่มีประโยชน์แต่อย่างไรที่จะสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำ การป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม จึงควรมีการสร้าง "แก้มลิง" หรือพื้นที่รับน้ำหลากในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม การขุดลอกคูคลองให้สามารถระบายน้ำท่วม และที่สำคัญจะต้องทำลายสิ่งกีดขวางการระบายของน้ำ โดยเฉพาะ "ถนน" ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นทราบดีว่าถนนหลายสายเช่น สายลาดยาว-เขาชนกัน คือตัวการที่กักน้ำให้”ท่วมขัง” ไม่สามารถระบายไปไหนได้ จนสร้างความเสียหายให้กับพืชผลการเกษตรและพื้นที่ในเขตอำเภอลาดยาว ในขณะที่การสร้างเขื่อนแม่วงตอนบน สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้เพียง 25 % เท่านั้น ตอนล่างแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ 62 % จากรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(เพิ่มเติม) 2540) เพราะเป็นเขื่อนแม่วงตอนบนตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ มีพื้นที่รับน้ำเพียง 11.8 %ของพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกรังเท่านั้น การสร้างเขื่อนแม่วงในพื้นที่ต้นน้ำจึงไม่มีประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วม 7. การสร้างเขื่อนนอกป่าหากได้มีการตรวจสอบจากสาธารณะเป็นที่ชัดแจ้ง ว่าเขื่อนจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนและน้ำท่วมได้จริง ก็ควรมีการดำเนินการก่อสร้างนอกพื้นที่ป่า ซึ่งอาจมีการลดขนาดเพื่อลดปัญหาด้านสังคม ทั้งนี้ควรจะมีการดูแลผลกระทบด้านสังคมอย่างดีและให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วม แนวทางออกข้างต้น จึงควรได้รับการพิจารณาให้ความสำคัญและควรดำเนินการในทันทีไม่ว่าจะมีการสร้างเขื่อนหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที ดีกว่าจะมารอการสร้างเขื่อนและไม่ทำให้ชาวบ้านคิดแต่เพียงการสร้างเขื่อน เพราะเข้าใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยไม่มีการคิดหาแนวอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหา น้ำแม่วง สายน้ำสุดท้ายของป่าตะวันตก ที่ยังมีชีวิตและไม่ถูกกั้นทำลายจากการสร้างเขื่อน ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ แหล่งรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทั้ง ป่า สัตว์ป่า และป่าต้นน้ำสุดท้ายของลุ่มน้ำแม่วง ที่เป็นแหล่งป้อนน้ำให้กับคนทั้งหมดในลุ่มน้ำ จะอยู่ต่อไปก็เพื่อประโยชน์ของคนในลุ่มน้ำทั้งหมดนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง
1. เอกสารประกอบข้อมูลพื้นฐานแผนแม่บทการจัดการพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ - กำแพงเพชร 2542
2. รายงานการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน้ำ โครงการแม่วง กรมป่าไม้ 2537 การศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง สำนักงาน
3. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(เพิ่มเติม) กรมชลประทาน 2540

มารู้จักความหมายตัวย่อเครื่องยนต์ Toyota กันดีกว่า



คุณรู้ความหมายของคำย่อต่าง ๆ ของเครื่องไหมว่ามีความหมายอะไร Toyota อ่านดูนะครับ

LN 60 เป็นโฉม HERO ช่วงสั้น 4 ขอ คานแข็ง ดีเซล
YN 60 ------------------------ เบ็นซิน
LN 65 เป็นโฉม HERO ช่วงยาว 5 ขอ คานแข็ง ดีเซล
YN 67 ------------------------ เบ็นซิล
LN 100 เป็นโฉมไมตี้X ช่วงสั้น 4 ขอ คานแข็ง ดีเซ็น
ํ์ํํYN 100 ------------------------เบ็นซิน
LN 105,106,107 เป็นโฉมไมตี้X ช่วงยาว 5 ขอ คาน แข็ง ดีเซล ต่างกันปีผลิต
YN 106 เป็นโฉมไมตี้X ช่วงยาว 5 ขอ คานแข็ง เบ็นซิล

YN105 เป็นแบบ 2 ประตูก็มีครับ ไม่ได้มีแบบ 4 ประตูอย่างเดียว ทั่วๆไปก็เหมือน LN106 ทุกอย่างครับ ยกเว้นเครื่องที่เป็นเบนซินบล็อก Y แล้วก็ปีผลิตมันออกก่อน LN106 ครับแต่มีเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆคือปี 88-89 เท่านั้น พอ 89 ปลายๆปีก็เปลี่ยนเป็น LN106 แล้วครับ ลืมบอกไปว่า LN105 ก็มีครับ ปีผลิตช่วงเดียวกับ YN105 น่ะแหละครับแต่เป็นเครื่องดีเซล
HD = เคื่องดีเซลบล็อค HD
HZ = เครื่องเบนซินบล็อค HZ
B = เครื่องดีเซลบล็อค B
Y = เครื่องเบ็นซินบล็อก Y
L = เครื่องดีเซลบล็อค L
N = แชสซีกระบะขับ 2, ขับ 4, และ SUV 4x4 หลายๆรุ่น
H = แชสซีรถตู้
J = แชสซี Landcruiser


ต่อจากเครื่อง J มายังไม่ได้เก็บข้อมูลครับวันหน้าจะนำมาเสนอใหม่

20 เม.ย. 2553

กลิ่นโคลนปนกลิ่นหมอกที่น้ำตกเต่าดำ คลองวังเจ้า
















เป็นทริปการเดินทางที่ถือว่าลำบากเหนื่อยสุด ๆ และสนุกสนามพอสมควรกลับความคลุมค่าที่ได้เข้าไปสัมผัส โดยมีผู้ขนามนามใหม่ว่า"น้ำตกตัวดำ" บนเส้นทางสายโล๊ะโค๊ะ ป่าหมาก ป่าค่าเข้าสู่น้ำตกเต่าดำ โป่งแก๊ส ณ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า





















ผื่นป่าตะวันตก แม่กระสา แม่เรวา แม่กี่ กำแพงเพชร









เพิ่มรูปภาพ








อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ มีสถานที่ท่องเที่ยวเดินป่าระยะใกล หรือทริปพิชิต 3 น้ำตกแห่งผื่นป่าตะวันตกน้อยคนนักที่จะได้เข้าสัมผัส เพราะต้องใช้เวลาเดินอย่างน้ำ 4 คืน 5 วัน สัตว์ป่าหลากหลายชนิด กล้วยไม้ป่า สัมผัสธรรมชาติที่จะหาไม่ได้อีกแล้วเส้นทางเดินเดียวกัน
ภาพบนซ้าย น้ำตกแม่กระสา ขวาน้ำตกแม่เรวา ล่างน้ำตกแม่กี่
โดยใช้เส้นทางเดินจากหน่วยแม่เรวา จังหวัดนครสวรรค์ เดินตัดลัดเลาะข้ามลำห้วย สายน้ำ คลองรวมทั้งสิ้น 9 สายและเดินออกทะลุหน่วยอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ใช้เวลา 4คืน 5 วัน











7 เม.ย. 2553

แม่วงก์... มนเสน่ห์แห่งไพร


ต้นน้ำอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
โดย ต๋อยแซมเบ้
จากการที่ได้มีการนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในหลาย ๆปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินเท้าเข้าน้ำตกแม่กระสา ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม โดยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินเท้าหลายชั่วโมง น้ำตกแม่กี่ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของเอเชีย และยอดเขาที่สูงที่สุดของผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้หลากหลายสายพันธุ์ สัตว์ป่านานาชนิด โดยพื้นป่าแห่งนี้ได้ต้อนรับผู้มายืนคนแล้วคนเหล้า ปีแล้วปีเล้า ทำให้ผู้ที่มาเยือนพื้นป่าแห่งนี้ได้จดจำทั้งความเหนื่อย เมื่อยล้า เพื่อที่จะไปให้ถึงยอดเขาที่สูงที่สุดในพื้นป่าแห่งนี้นามว่า โมโกจู คำ ๆ นี้เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวเขาซึ่งอาจจะแปรได้ว่าเหมือนฝนจะตก ซึ่งคำ ๆ นี้มิได้กล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงแม้แต่น้อย หากผู้ที่หลงไหนในธรรมชาติแล้วการเดินขึ้นพิชิตของโมโกจูเป็นความใฝ่ฝันของนักเดินป่า ผู้พิสมัยการใช้ชีวิตท่ามกลางป่าเขาลำนำไพร เสมือนการได้พิชิตยอดเอเวอเรสต์ก็มิปาน ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาถา (ภาษาสันสกฤต: หมายถึง หน้าผากแห่งท้องฟ้า) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาจีน: [จูมู่หลั่งหม่า] หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์< นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปาและนักปีนเขาบางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว กลับมาพูดถึงโมโกจู" ชื่อนี้อาจจะแปลกหูสำหรับคนทั่วไป บางคนยังคิดว่าเป็นชื่อที่มาจากแถวทวีปแอฟริกา แต่สำหรับนักเดินทางผู้นิยมไพรอย่างแท้จริงแล้ว มันคือความใฝ่ฝันที่ใครหลายๆคนปรารถนาจะได้ไปสัมผัสสักแม้ครั้งหนึ่งในชีวิต สำหรับบางคนแล้วครั้งเดียวคงจะไม่เพียงพอ จนมีคำพูดของนักนิยมไพรเป็นบทร้อยกรองไว้ให้เราได้ศึกษา ในบทกลอนนั้น ๆ โดยมีคำหลาย ๆ คำดังคำว่า ถ้าเวลาคือการเดินทาง....เข็มทิศก็คือจุดหมาย ความสุขมันไม่ได้เดินมาหาเราหรอก แต่มันรอให้เราเดินไปหามันต่างหาก น้ำแม่วงก์ลำน้ำสาขาสายสำคัญของแม่น้ำสะแกรัง และไหลรวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดอุทัยธานีแม่วงเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชน 2 ฝั่งแม่น้ำมาช้านาน ความยาวของลำน้ำกว่า 180 กิโลเมตร ใน จ.อุทัยธานี และ จ.นครสวรรค์ เป็นจุดก่อร่างสร้างเป็นวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำที่พึ่งพาอาศัย "น้ำ" กันมาช้านาน จนปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย ภัยแล้ง น้ำไม่พอ น้ำท่วม และน้ำเสีย แต่กระนั้นน้ำแม่วง ยังนับว่าเป็นแม่น้ำที่ยังมีชีวิต และเอื้อประโยชน์ต่อผู้คนอย่างมหาศาล จนอาจเรียกได้ว่าแม่วง เป็นแม่น้ำสายสุดท้าย ของผืนป่าตะวันตกที่ยังไม่ถูกสร้างเขื่อนป่าต้นน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงที่มีลำน้ำสาขามากมายที่ไหลมารวมกัน เดิมผืนป่าแม่วงมีการสัมปทานป่าไม้การบุกเบิกการเกษตร การลักลอบตัดไม้ และการสัมปทานป่าไม้ โดยเฉพาะไม้สัก จนมีสภาพป่าเสื่อมโทรม ไม้ใหญ่ถูกตัดจนเกือบหมด จนเมื่อปี พ.ศ.2530 กรมป่าไม้ได้มีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ผืนป่าแห่งนี้จึงได้รับการอนุรักษ์และมีการฟื้นตัวตามธรรมชาติกลับมาอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากรายงานแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (2542-2546) พบว่าผืนป่าแม่วงมีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ มีสภาพป่าหลายประเภททั้งป่าดิบเขา ดิบแล้ง เบญจพรรณและเต็งรัง พบสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 549 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่น้อยกว่า 57 ชนิด นก 196 ชนิด ปลา 68 ชนิด เป็นต้น มีสมเสร็จ และเลียงผา เป็นสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง หมาจิ้งจอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ เสือโคร่ง เสือดำหรือเสือดาว วัวแดง หมีควาย นาก ชะนี นกเงือกกรามช้าง เป็นต้น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ยังประกอบด้วยป่าหลายประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ ซึ่งสำรวจพบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด และมีลักษณะพิเศษ คือมีไม้สักเป็นไม้เด่น โดยเฉพาะไม้สักที่กำลังฟื้นตัวขึ้นตามธรรมชาติขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น มีขนาดเส้นรอบวงโดยเฉลี่ย 80 ซม. อีกทั้งยังพบว่าเนื้อไม้สักมีสีทอง หรือที่เรียกว่า "สักทอง" ซึ่งในประเทศไทยจะพบผืนป่าสักทองธรรมชาติเช่นนี้เพียง 2 แห่งคือ ที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เท่านั้น นับเป็นพื้นที่ป่าที่รักษาพันธุกรรมสักตามธรรมชาติที่สำคัญ ป่าแม่วงก์จัดว่าเป็นป่าเต็งรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีไม้เต็งรัง พลวง ตะแบกเลือด ขึ้นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีความหนาแน่น 86.61 ต้น/ไร่ ลูกไม้ 656 ต้น/ไร่ และกล้าไม้ 2,270 ต้น/ไร่ ป่าดิบเขามีสภาพภูมิประเทศเป็นเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาถนนธงชัย มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม โดยมีเขาโมโกจูเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุด 1,964 ม.รทก. และเป็นต้นน้ำของน้ำแม่วงก์ ป่าดิบแล้ง พบพันธุ์ไม้ในวงยาง มีลูกไม้ขึ้นปกคลุมพื้นล่างอยู่อย่างหนาแน่น มีพันธุ์ไม้กว่า 43 ชนิด นอกจากนี้แม่วงก์ยังเป็นผืนป่าส่วนหนึ่งของป่าตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลกแห่งเดียวในประเทศไทย รวมเป็นป่าอนุรักษ์ที่ต่อเนื่องกันเป็นป่าผืนใหญ่กว่า 12 ล้านไร่ ถือเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเชื่อมโยงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และผืนป่าอนุรักษ์อื่นๆ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและชีวิตความเป็นอยู่ทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถเคลื่อนย้ายหากิน เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งรักษาพันธุกรรมที่สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้อยู่ได้ ป่าแม่วงก์ยังเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ยอดเขาโมโกจู ที่มีความสูงกว่า 1960 เมตร ร.ทก. น้ำตกแม่กะสา ซึ่งสูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีทั้งหมด 9 ชั้น รวมความสูง 900 เมตร บางชั้นมีความสูงกว่า 270 เมตร น้ำตกแม่เรวา มี 5 ชั้น บางชั้นมีความสูงกว่า 100 เมตร น้ำตกแม่กี่ -น้ำตกแม่วงก์ ที่มีความสวยงามมาก ซึ่งแหล่งธรรมชาติเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์กับคนท้องถิ่นและประเทศได้อย่างมาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวปีละ 30,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ต้นเหตุความขัดแย้ง…ลุ่มน้ำวิกฤต ลุ่มน้ำแม่วงจัดว่าอยู่ในสภาพที่วิกฤตอย่างยิ่ง นับตั้งแต่การขยายตัวของพื้นที่การเกษตรเป็นจำนวนมาก ในกิ่งอำเภอแม่วง และ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ จนน้ำในลำน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อประชาชนท้ายน้ำโดยเฉพาะในเขตอ.สว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.อุทัยธานี จนเกิดปัญหาน้ำเสียในเขตเมือง การขยายพื้นที่ทำการเกษตรในลักษณะพืชไร่เชิงเดี่ยว ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างและพังทลายของหน้าดิน ดินเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว มีการใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดมลพิษตามลำน้ำ ในขณะเดียวกัน ก็เกิดน้ำท่วมในที่ลุ่มและน้ำขัง ไม่สามารถระบายออกไปได้ เนื่องจากแนวถนนหลายสายได้กีดขวางทางน้ำ ท่อน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และในกรณีที่เกิดน้ำเอ่อหนุนจากแม่น้ำเจ้าพระยา (เหนือเขื่อนเจ้าพระยา) ยิ่งทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกไปได้ แม่น้ำวงและลำน้ำสาขามีสภาพตื้นเขิน ท้องน้ำมีแต่ตะกอนทราย เขื่อนขนาดเล็กและฝายต่าง ๆ ก็ตื้นเขินจากตะกอนทรายเช่นเดียวกัน ไม่สามารถรองรับน้ำได้เท่าที่ควร เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้แล้ว การลดลงของพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำ ก็เป็นปัจจัยทำให้ปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ในช่วงปี พ.ศ.2504-2538 จ.นครสวรรค์และ จ.อุทัยธานี มีพื้นที่ป่าลดลงถึง 2.8 ล้านไร่ มีการประเมินว่าลุ่มน้ำแม่วง มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ไม่ถึง 15 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และตอนบนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเท่านั้น จากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ลุ่มน้ำแม่วง อยู่ในภาวะวิกฤตเป็นอย่างยิ่ง เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ น้ำไม่พอใช้ น้ำท่วมขัง ฯลฯ การแก้ไขปัญหาของลุ่มน้ำ จึงต้องพิจารณาแก้ไขที่สาเหตุของปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และยั่งยืน อย่างไรก็ตาม น้ำแม่วงยังเป็นแม่น้ำที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดทั้งปี (ช่วงที่ไหลในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์) ปัจจุบันคาดว่าในประเทศไทยมีแม่น้ำไม่ถึง 10 สายที่ยังมีน้ำไหลตลอดทั้งปีเช่นนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ จึงนับว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ คือ ป่าต้นน้ำที่ป้อนน้ำให้กับประชาชนในลุ่มน้ำแม่วง แต่ความล้มเหลวในการบริหารการใช้ประโยชน์ที่ดิน และขาดประสิทธิภาพในการจัดการน้ำ ที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำแม่วง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมขัง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น เขื่อนแม่วงศ์เสียมากได้ ท่ามกลางปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ความพยายามในการจะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังนั้นกลับมีอยู่น้อยมาก และมีความพยายามจะทำให้เห็นว่ามีเพียงทางเดียวเท่านั้นในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด นั่นคือการสร้างเขื่อนแม่วง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขื่อนแม่วงถูกนำเสนอโดยกรมชลประทาน มาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเขื่อนขนาดใหญ่มีความสูง 57 เมตร ยาว 730 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 11,000 ไร่ ที่ระดับเก็บกักน้ำปกติ และ 12,375 ไร่ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด จะกักเก็บน้ำใช้งานได้ 230 ล้านลูกบาศทเมตร เพื่อพื้นที่ชลประทานเดิม 230,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานใหม่ 61,000 ไร่ และประเมินราคาก่อสร้างเมื่อปี 2539 จะใช้งบประมาณถึง 4,043 ล้านบาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือการสร้างเขื่อนแม่วง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าทันทีไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ ประเมินในเชิงปริมาณว่าจะมีไม้ใหญ่ 556,614 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้ 147,410 ลบ.ม. ในจำนวนนี้เป็นไม้สักกว่า 57,913 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้ 12,260 ลบ.ม. และรวมถึงลูกไม้ 3,923,128 ต้น และกล้าไม้ 12,344,904 ต้น ต้องถูกน้ำท่วม หรือคิดง่าย ๆ ว่าในพื้นที่ 1 ไร่ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ 80 ต้น เป็นไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น ซึ่งหากใช้เวลาในการปลูกไม้เหล่านี้ต้องใช้เวลานับสิบปี และอีกหลายสิบปีกว่าที่ไม้จะโตได้มากขนาดนี้ ในเชิงคุณภาพ ป่าที่ราบลุ่ม (ไม่เกิน 300 ม.รทก.) จะมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่าป่าที่อยู่ในพื้นที่สูง และพื้นที่มีลักษณะแตกต่างจากกันในการดำรงชีพของสัตว์ป่า ป่าที่ราบลุ่ม มีความสำคัญมากต่อสัตว์ป่า และเป็นพื้นที่ที่สัตว์ป่าต้องใช้ประโยชน์ ทั้งแบบชั่วคราว และบางชนิดจะอาศัยอยู่ได้เฉพาะที่ราบลุ่มเท่านั้น เช่น เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ แหล่งหากินที่สำคัญของสัตว์ป่า โดยเฉพาะในหน้าแล้ง สัตว์ป่าบางชนิดจะอาศัยอยู่เฉพาะที่ลุ่มหรือใกล้แม่น้ำ เท่านั้น ป่าที่ลุ่ม เช่นในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน เพราะหากไม่กลายเป็นที่ตั้งบ้านชุมชนหรือทำเกษตรกรรมแล้ว ก็จะมีการสร้างเขื่อนท่วมพื้นที่ป่าที่ลุ่มไปจนเกือบจะหาไม่ได้แล้วในประเทศไทย ป่าที่ราบลุ่ม ในอุทยานแห่งชาติแม่วง เป็นแหล่งน้ำ เส้นทางเดินของสัตว์ป่า และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า หากถูกน้ำท่วม อ่างเก็บน้ำจะเป็นตัวกีดขวางทางเดินของสัตว์ป่า (พื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์จะถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อน) และแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น 2 ส่วน จึงนับเป็นการสูญเสียในด้านระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้ ยังไม่นับการสูญเสียที่จะตามมาจากการสร้างเขื่อนในป่า ดังจะเห็นได้จากเขื่อนหลายแห่ง เช่น เขื่อนทับเสลา ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ปรากฏว่าภายหลังการสร้างเขื่อนเพียงไม่กี่ปี ป่าต้นน้ำเหนือเขื่อนก็ถูกบุกรุกทำลายไปเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนเขาแหลม ก็มีการบุกรุกพื้นที่ป่านับแสนไร่ และเป็นปัญหาที่ยากในการแก้ไขดังเช่น ที่เห็นในปัจจุบันกรณีบ้าน 3 หลัง การสูญเสียระบบนิเวศจากการสร้างเขื่อนแม่วง จึงเป็นการสูญเสียที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคนในลุ่มน้ำแม่วงในระยะยาว หากผืนป่าแม่วงต้องถูกทำลายไปจนส่งผลกระทบต่อความสามารถของป่าในการป้อนน้ำให้กับคนในลุ่มน้ำ และจะทำให้ปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำรุนแรงมากกว่าในปัจจุบัน ทางออก มีมากกว่าการสร้างเขื่อนการที่ปัญหาในลุ่มน้ำแม่วง มีอยู่มาก และสะสมมาเป็นระยะนานนับสิบปี การแก้ไขจึงไม่สามารถจะใช้วิธีการใด วิธีการหนึ่ง แต่หากจะต้องมีการผสมผสานวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ซึ่งจะทำให้สามารถการแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร ยั่งยืน มากกว่าการสร้างเขื่อนแม่วง แหล่งน้ำขนาดเล็กใกล้บ้าน ไม่สูญเสียน้ำ แหล่งน้ำขนาดเล็ก ถือเป็นการกักเก็บน้ำแบบหนึ่ง จึงควรมีการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งถึงแม้ว่าจะกักเก็บน้ำได้น้อย แต่จะมีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมากกว่า ลดการสูญเสียน้ำในการขนส่งน้ำ ซึ่งมีการสูญเสียน้ำมากกว่า 50-60 % และหากมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วยก็จะ สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำได้มากซึ่งหากนำงบประมาณที่จะใช้สร้างเขื่อน 4,000 กว่าล้านบาท(เมื่อปี 2539 ปัจจุบันอาจมากกว่า 7,000 ล้านบาท) มาใช้ก็อาจช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมได้มากกว่าที่จะได้จากการสร้างเขื่อนแม่วง ทั้งนี้ หากนำงบประมาณในการสร้างเขื่อน มาใช้ในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งมีทั้งหมด 22 ตำบล 136 หมู่บ้าน จะทำให้ท้องถิ่นมีงบประมาณในการจัดหาน้ำอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่นไม่น้อยกว่า ตำบลละ 200 ล้านบาทหรือหมู่บ้านละ 30 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้น้ำเท่านั้น แต่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในทุกๆ ด้าน เช่น การพัฒนาอาชีพ ฯลฯ อนึ่ง จากการศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง (2537) พบว่าการสร้างเขื่อนแม่วงตอนบนจะแก้ไขการขาดแคลนน้ำได้เพียง 19 % เท่านั้น (เขื่อนแม่วงตอนล่างแก้ได้ 56 %) และเขื่อนแม่วงยังอาจเป็นไม่มีน้ำกักเก็บตามที่คาดการณ์ไว้ จากความความแปรปรวนของปริมาณน้ำท่า เช่น เขื่อนทับเสลาที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเฉลี่ยไม่ถึง 60 % ของความจุอ่างเก็บน้ำ2. คืนชีวิต..ฟื้นฟูแม่น้ำลำน้ำสาขาของแม่วงหลายแห่ง ณ ปัจจุบันมีสภาพเหมือนแม่น้ำที่ตายแล้ว คือมีสภาพตื้นเขินและมีแต่ตะกอนทราย ทำให้ประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำในลำน้ำลดลงน้อย และมีผลต่อการทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น การฟื้นฟูแม่น้ำ ด้วยการขุดลอกทราย และขจัดสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำ จะทำให้แม่น้ำมีส่วนบรรเทาปัญหาได้ รวมถึงการขุดลอกตะกอนหน้าฝาย ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของฝายลดลง ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ 3. สู่การเกษตรยั่งยืนหากยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชอย่างไม่เหมาะสมกับสภาพของดินและน้ำ ดังเช่นที่ผ่านมา ก็เชื่อว่าถึงแม้ว่าจะมีการสร้างเขื่อนแม่วงขึ้นก็จะไม่สามารถจ่ายน้ำได้อย่างเพียงพอ จะเกิดการแย่งชิงและความขัดแย้งในการใช้น้ำมากขึ้น ดังเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ความเหมาะสมของดินและน้ำ ในลักษณะเกษตรผสมผสาน จึงเป็นการจัดการด้านความต้องการน้ำให้เกิดความสมดุล กรณีเขื่อนทับเสลา ก็พบว่าเพียงระยะเวลาไม่กี่ปีหลังจากการสร้างเขื่อน ก็เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำขึ้นมาอีกเหมือนเดิม เพราะการปลูกพืชไม่เหมาะสมกับน้ำที่มีอยู่ (ไม่นับที่มีการขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นมากเกินไป) 4. ป่าต้นน้ำ…แหล่งเก็บน้ำถาวร ป่าต้นน้ำซึ่งเปรียบเหมือนแหล่งผลิตน้ำถาวร และเป็นความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งของลุ่มน้ำ ทำให้ปริมาณฝนตกเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงมา น้ำท่าในฤดูแล้งลดลง นอกจากนี้ป่าสามารถช่วยชะลอการไหลของน้ำมิให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน กักเก็บน้ำซึมลงในดินและปล่อยออกมาในช่วงฤดูแล้งได้ การที่ป่าต้นน้ำที่เหลืออยู่ไม่ถึง 15 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำ จึงเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ซึ่งหากยังปล่อยให้มีการบุกรุกตัดไม้ ทำลายป่า ล่าสัตว์ ต่อไปอีก ทั้งปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้การฟื้นฟูป่าในชุมชน ป่าริมแม่น้ำ จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของพื้นที่ ลดการระเหยของน้ำได้ 5. ปรับปรุงประสิทธิภาพชลประทาน ได้น้ำเพิ่มขึ้น 10 %จากการศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง (2537) พบว่าหากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการจ่ายน้ำในพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นอีก 10 % จะทำให้มีน้ำชลประทานเพิ่มขึ้น 264 ล้านลบ.ม./ปี ซึ่งมากกว่าน้ำที่จะได้จากเขื่อนแม่วง (230 ล้านลบ.ม.) เสียอีก ซึ่งหากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบชลประทาน จะทำให้ประหยัดงบประมาณหลายพันล้านบาท และไม่มีผลกระทบต่อป่าไม้ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นอกจากนี้ ควรหยุดการขยายพื้นที่ชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ ใช้เงินลงทุนสูง และทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างคนที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานและไม่ได้อยู่ จึงควรให้ความสำคัญกับการชลประทานขนาดเล็กที่เหมาะสมกับพื้นที่ กระจายให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 6. สร้าง "แก้มลิง" ป้องกันน้ำท่วมจากข้อมูลน้ำฝนรายปี พบว่าฝนมีการกระจายทั่วไปในพื้นที่ลุ่มน้ำ ดังนั้นไม่มีประโยชน์แต่อย่างไรที่จะสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำ การป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม จึงควรมีการสร้าง "แก้มลิง" หรือพื้นที่รับน้ำหลากในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม การขุดลอกคูคลองให้สามารถระบายน้ำท่วม และที่สำคัญจะต้องทำลายสิ่งกีดขวางการระบายของน้ำ โดยเฉพาะ "ถนน" ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นทราบดีว่าถนนหลายสายเช่น สายลาดยาว-เขาชนกัน คือตัวการที่กักน้ำให้”ท่วมขัง” ไม่สามารถระบายไปไหนได้ จนสร้างความเสียหายให้กับพืชผลการเกษตรและพื้นที่ในเขตอำเภอลาดยาว ในขณะที่การสร้างเขื่อนแม่วงตอนบน สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้เพียง 25 % เท่านั้น ตอนล่างแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ 62 % จากรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(เพิ่มเติม) 2540) เพราะเป็นเขื่อนแม่วงตอนบนตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ มีพื้นที่รับน้ำเพียง 11.8 %ของพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกรังเท่านั้น การสร้างเขื่อนแม่วงในพื้นที่ต้นน้ำจึงไม่มีประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วม 7. การสร้างเขื่อนนอกป่าหากได้มีการตรวจสอบจากสาธารณะเป็นที่ชัดแจ้ง ว่าเขื่อนจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนและน้ำท่วมได้จริง ก็ควรมีการดำเนินการก่อสร้างนอกพื้นที่ป่า ซึ่งอาจมีการลดขนาดเพื่อลดปัญหาด้านสังคม ทั้งนี้ควรจะมีการดูแลผลกระทบด้านสังคมอย่างดีและให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วม แนวทางออกข้างต้น จึงควรได้รับการพิจารณาให้ความสำคัญและควรดำเนินการในทันทีไม่ว่าจะมีการสร้างเขื่อนหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที ดีกว่าจะมารอการสร้างเขื่อนและไม่ทำให้ชาวบ้านคิดแต่เพียงการสร้างเขื่อน เพราะเข้าใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยไม่มีการคิดหาแนวอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหา น้ำแม่วง สายน้ำสุดท้ายของป่าตะวันตก ที่ยังมีชีวิตและไม่ถูกกั้นทำลายจากการสร้างเขื่อน ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ แหล่งรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทั้ง ป่า สัตว์ป่า และป่าต้นน้ำสุดท้ายของลุ่มน้ำแม่วง ที่เป็นแหล่งป้อนน้ำให้กับคนทั้งหมดในลุ่มน้ำ จะอยู่ต่อไปก็เพื่อประโยชน์ของคนในลุ่มน้ำทั้งหมดนั่นเอง เอกสารอ้างอิง 1. เอกสารประกอบข้อมูลพื้นฐานแผนแม่บทการจัดการพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ - กำแพงเพชร 2542 2. รายงานการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน้ำ โครงการแม่วง กรมป่าไม้ 2537 การศึกษาศักยภาพการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรัง สำนักงาน 3. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(เพิ่มเติม) กรมชลประทาน 2540