29 มี.ค. 2553

แม่กระสาแห่งอุทยานแห่งชาติแม่วงก์


"น้ำตกแม่กระสาพื้นป่าแม่วงก์

โดย ต๋อยแซมเบ้
กิ่งไม้เล็ก ๆ นำมากองรวมกันสิ่งที่ได้เป็นไฟที่ลุกโชน ให้ความร้อนแสงสว่าง สิ่ง
สำคัญสำหรับคนใช้ชีวิตในป่าในดง สายธารของแหล่งน้ำธรรมชาติหากไม่มีแสงสว่างจากไฟเรายังได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ยุคสมัยหลายยุคที่ผ่านมา คนเราก็ใช้ประโยชน์จากไฟและแสงอาทิตย์เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ ศาสตร์และศิลปะของการก่อไฟมีหลายหลากวิธีแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน
บางคนก็ใช้วิธีที่เคยเรียนมาสมัยเป็นลูกเสือ เนตรนารี แต่สิ่งที่สำคัญคงไม่หนี้ไปจากการใช้ชีวิตในป่าในสภาพที่เป็นจริง ทำจริง ปฏิบัติจริง ซึ่งการเข้าป่าครั้งนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหวังอะไรมากนักแต่อยากให้ทุกคนที่ร่วมการเดินป่าครั้งนี้ได้รู้จักชีวิตในป่า การเดิน การนอน รู้ว่าการใช้ชีวิตในป่าเป็นเช่นไร กลุ่มทีมของเราซึ่งประกอบด้วยคนที่คุ้นหน้าคุ้นตาในการออกเดินป่าระยะไกลครั้งก่อนซึ่งการเดินครั้งนั้นเป็นการเดินเพื่อพิชิตยอดเขาโมโกจูโดยมุ่งหวังเพื่อให้ถึงยอดเขาที่มีก้อนหินรูปเรือใบและเป็นความใฝ่ฝันของคนหลาย ๆ คนที่ขอให้มีโอกาสสักครั้งที่จะเดินขึ้นยอดเขาหินรูปเรือใบแห่งนี้ แต่สำหรับคนเดินป่าแล้ว ยิ่งสูงหมายถึงความลำบาก ทั้งการเดิน อาหาร น้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตในป่าเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่จะต้องแบก เพื่อประทังชีวิต ของเหล่านี้ขึ้นสู่ที่สูงเป็นการเดินป่าที่เหนื่อย ทั้งอากาศที่เบาบางความเหนื่อยล้า ทั้งการก่อฟืนไฟ การคำนวณเรื่องข้าวปลา อาหาร ที่จะต้องนำไปให้พอเพียง สำหรับนักท่องเที่ยว ลูกหาบ ต่างกับการเข้าป่าครั้งนี้เป็นการเข้าป่าที่ผู้เขียนรู้สึกสบายใจมากที่สุด ต่างจากการพิชิตยอดโมโกจู จุดเริ่มของเราก็คงที่เดิมออกจากจังหวัดนนท์ ก็มืดแล้วโดยรถตู้ซึ่งผู้เขียนได้ซื้อมาใหม่ ถึงตลาดสลกบาตรก็เกือบตีหนึ่ง นั่งกินข้าวต้มร้านเดิม เติมด้วยของที่มีแอลกอฮอสักนิดหน่อย กว่าจะถึงบ้านพักเกือบตีสองทุกคนเข้านอนตามปกติที่เคยปฏิบัติกันมาจนผู้เขียนหลับไปเมื่อไร เวลาเท่าก็ไม่รู้ได้
เสียงไก่ขัน นกร้องเตือนเป็นสัญญาณ ว่าใกล้เช้า ผู้เขียนตกใจตื่นตีห้า ล้างหน้าแปรงฟัน
จากนั้นนก ก็เริ่มบรรเลงเพลงไพร ทุกคนก็เริ่มทะยอยกันตื่นที่ละคนสองคน ทำธุรกิจส่วนตัวกันเรียบรอยแล้วก็ออกเดินทางจากบ้านพักมุ่งสู่อำเภอคลองลาน ตลาดตอนเช้า โจ๊กเป็นอาหารที่เราทุกคนคุ้นเคยเป็นประจำ ข้าวเหนียว ไก่ทอด ย่าง เตรียมเป็นอุปกรณ์ตอนเที่ยงของทุกคน กว่าจะออกตลาดคลองลานได้ก็เข้าเกือบสองโมงกว่า ขับรถเข้าเส้นทางเดิมแถบไม่มีรถยนต์ตามเรามาเลย จนถึงอุทยานฯ ก็เก้าโมงแก่ ๆ เห็นจะได้ จากนั้นก็เข้าฟังการอบรมจากเจ้าหน้าที่ที่อธิบายถึงวิธีการเดิน ข้อห้ามต่าง ๆ ที่อุทยานให้ทำได้ ทำไม่ได้ เมื่อทุกคนเข้าใจก็เตรียมแบ่งสัมภาระ แบ่งอาหารกันเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ก็เกือบสิบโมงเช้าโดยปกติซึ่งเคยเข้าป่ามาการเข้าป่าครั้งนี้ถือว่าเป็นการเดินป่าที่ไม่อยากหรือมีความลำบากมากนัก ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่เองหรือนักท่องเที่ยวก็ถือว่าเดินป่าเข้าน้ำตกแม่กระสาเป็นทริปที่เดินที่สนุกทั้งในเรื่องพื้นที่การเดิน การหาอาหารในป่าเพื่อมาเสริมอาหารที่กลุ่มของเรานำไปไม่มากนักส่วนใหญ่จะเป็นผักกรูดเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเกือบจะเป็นอาหารหลักสำหรับนักเดินป่าในทุก ๆ ทริปก็ว่าได้ แต่ในทริปของเราซึ่งปีนี้เป็นปีที่ไม่มีนักท่องเที่ยวทริปใดเลยที่เดินเข้าสู่น้ำตกแม่กระสาจึงเป็นเหตุให้พวกพืชผักต่าง ๆ ไม่มีใครเดินลงมาเก็บเพื่อประกอบอาหาร โดยปกติแล้วผักกรูดเป็นเฟริ์นชนิดหนึ่งเรียกว่าเฟืร์นผักกูด สามารถนำมาประกอบอาหารได้หากไม่มีคนหรือสัตว์มากินผักเหล่านี้จะไม่ผลิตยอดอ่อนแต่ในทางกลับกันหากมีคนมาเก็บหรือสัตว์มากิน ยอดอ่อนก็จะผลิตออกมาอยู่ตลอดเวลา น้ำในลำธารที่มีระดับที่ลดลงจากเดิมเมื่อเทียบกับเดือนพฤศิจิกายน ที่ผู้เขียนเองเดินขึ้นเพื่อสู่ยอดโมโกจูเป็นทริปแรกต่างกันอย่างมากราวกับหน้ามือกับหลังมือเลยที่เดียว ซึ่งในทริปนั้นฝนตกตลอดเส้นทางที่เดินจากอุทยานฯ มีความชุ่มช่ำตลอดเวลา ฝนตกเป็นระยะ เราต้องข้ามน้ำไม่ต่ำกว่ายี่สิบคลองเป็นคลองเล็กบ้างใหญ่บ้างตลอดเส้นทาง น้ำในลำธารเชี่ยว ลึกระดับเอวหรือระดับหัวเข่าเกือบทุกสาย แต่ครั้งนี้ตลอดเส้นทางมีแต่ความแห้งแล้ง มีน้ำเป็นช่วง ๆ เราเดินในช่วงแรก ๆ ซึ่งเนินแรกเจ้าหน้าที่ ลูกหาบเรียกว่า “เนินขี้แตก” เราผ่านเนินแรกไปด้วยความทุกลักทุเล พร้อมกับกลุ่มที่เดินขึ้นพิชิตโมโกจูกลุ่มของเราออกเดินไปพร้อม ๆ กัน คุยกันไป เฮฮา เล่าเรื่องต่าง ๆ ประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ผ่านการเดินมาแล้ว เราเดินตามกันมาเรื่อย ๆ มาแยกกันตรงจุดที่จะเข้าน้ำตกแม่กระสา กลุ่มนี้ถูกทิ้งห่างมีหลงมาคนเดียวเดินพร้อมกลุ่มเราก่อนที่เราจะแยกออกเดินลงเข้าสู่ที่พักในวันแรก เราก็อธิบายให้เขาฟังว่าเดินตามทางไปเรื่อย ๆ อีกพักใหญ่ก็จะถึงที่พักให้คอยเพื่อนร่วมทางอยู่ที่นั่น จากนั้นเราก็เดินเบี่ยงขวาออกสู้เส้นทางน้ำตกแม่กระสาลัดเลาะตามป่าไม้ไม่ลำบากมากนัก ข้ามคลองแม่กระสา ถึงน้ำจะน้อยกว่าที่ผู้เขียนเคยมาเมื่อครั้งก่อน แต่น้ำก็ยังมีความเชียวพอควรกลุ่มเราค่อย ๆ ทยอยเข้าคลองกันที่ละคนสองคนไปเรื่อย ๆ ถ่ายรูปกันไป ช่วยกันถือไม้ที่ใช้จับข้ามน้ำจนถึงสุดท้ายก็คือผู้นำทางเรานั้นเอง พอข้ามน้ำได้ขึ้นบกเดินอีกนิดหน่อย ก็ถึงที่พัก เจ้าหน้าที่บอกว่าเราพักกันที่นี่ดีกว่าพรุ่งนี้ค่อยเดินตัวเปล่าขึ้นสู่น้ำตกแม่กระสา เราวางสัมภาระ ทุกคนรู้หน้าที่ตนเองว่าเมื่อถึงที่พักแล้วควรจะทำอะไรกันบ้าง ทุกคนเตรียมผู้เปล กางเต้น ผู้เขียนเองเตรียมหาฟืน ก่อกองไฟ เตรียมหุ้งข้าว บางคนก็เตรียมอาบน้ำ แล้วแต่จะทำเพราะช่วงนี้ก็สามสี่โมงเย็นแล้ว เราทำธุรกิจส่วนตัวกัน จากนั้นเราก็เริ่มทำอาหาร นั่งกันตามอัทยาศัย ของที่แบกมาก็เริ่มทยอยนำมาวาง น้ำใส ๆ ในขวดพลาสติก แก้วไม้ไผ่สำหรับใส่จัดทำขึ้นกันเองโดยใช้ไม้ไผ่ป้องเล็ก ๆ ปาดให้เป็นลักษณะแก้ว ทำก้นให้แหลมเพื่อปักกับดินโดยไม่ล้ม จากนั้นเราก็เริ่มทำกับข้าว มื้อนี้เป็นอาหารที่เราเตรียมมา แกงจืดเป็นอาหารหลัก ผัดผักกูดใส่หมู่ น้ำพริก ส่วนจานชามก็ใช้ไผ่มาตัดเป็นป้อง ๆ ผ่าเป็นจานใส่ข้าว อาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลุ่มที่กินข้าวก็เริ่ม กลุ่มที่ดื่มน้ำใส่ ๆ ก็เริ่มคุยกันไป เฮฮากันไป นิทานรอบกองไฟก็เริ่ม แล้วแต่ประสบการแต่ละคนว่ามีอะไรบ้าง ส่วนตัวผู้เขียนเองเข้าน้ำตกครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ครั้งแรกเมื่อสองสามปีก่อน ครั้งนั้นก็มีเรื่อง หลาย ๆ เรื่องที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่นำมาเล่าข้างกองไฟอยู่เสมอ ๆ เรานั่งคุยกันพักใหญ่บางคนก็ทยอยขึ้นเปลที่กางไว้เมืองช่วงบ่าย ยามค้ำคืนความเงียบ ความมืดค่อย ๆ มืดลง พักใหญ่ ๆ ผมผู้เขียนและเพื่อนผู้นำทางก็เอ่ยปาก เราไปซุปเปอร์มาเก็ตหาอาหารกันดีกว่า และแล้วผมลุกไปเอามีดที่แขวนไว้ที่ต้นไผ่ กระเป๋าคาดเอวที่ติดตัวอยู่เสมอ อย่างน้อยก็อุ่นใหญ่ว่ายังมีสิ่งป้องกันตนเองติดตัวไปด้วย เพราะเพื่อนผู้นำทางบอกว่าแถวนี้ก็เหมือนสถานที่อื่น ๆ เราออกหากิน สัตว์ป่าก็ออกหากินเช่นกัน และก็ใช้เส้นทางเดียวกัน เราเดินขึ้นเหนือน้ำส่องไฟไปทั่ว ๆ บริเวณแหล่งน้ำ สิ่งที่เราหาไม่ใช่สัตว์ใหญ่ แต่เราต้องการแค่อาหารเพื่อปะทังชีวิตและเสริมอาหารที่นำมาน้อยเท่านั้น “กบ” เราเดินลัดเลาะไปเรื่อย ๆ สักครู่ใหญ่เราก็เห็นเจ้าตาสีทับทิมนอนนิ่งอยู่ข้างตลิ่งชายน้ำ เราจับได้โดยไม่อยากนัก ซึ่งต่างจากกบที่อยู่ที่ท้องทุ่งนาที่มีความตื่นตกใจง่ายหากเห็นแสงไฟ แต่เจ้ากบทูต หรือกบภูเขาจะไม่สนใจไฟที่เราส่องใส่ แม้แต่เดินเข้าไปใกล้ ๆ มันก็ไม่สนใจ คืนนี้เราได้กบมา เกือบ 10 ตัว จึงเดินกลับที่พักพอแล้วสำหรับอาหารเช้าพรุ่งนี้ ส่วนอาหารเย็นช่วงเช้าค่อย ๆ หากเอาอีกครั้งหาแค่พอกินแค่นี้ก็พอแล้ว
ผมตื่นขึ้นมากก็ฟ้าสางแล้ว เดินไปล้างหน้า แปรงฟัน เตรียมทำอาหาร วันนี้เรามีแกงกบภูเขา
ทุกคนตื่นเต้นสำหรับกบ อาหารมื้อนี้เป็นอาหารที่อร่อย แปลก สำหรับคนที่อยู่ในเมืองแล้วเป็นอาหารที่เลิดรส เรากินอาหารกันเสร็จเรียบร้อยก็เตรียมตัว เดินเข้าสู่น้ำตกแม่กระสาในช่วงเช้าที่กินอาหารเช้ากันเรียบร้อยแล้ว และเตรียมสัมภาระและอาหารกลางวันเพื่อนำไปรับประทานช่วงกลางวัน มีข้าวไปนิดหน่อย ส่วนใหญ่เป็นบะหมี่สำเร็จรูป ตัวผู้เขียนเองเดินตามกลุ่มไปพักใหญ่ ๆ ก็หันหลังลัดเลาะเพื่อ กลับเดินล่องลงมาตามสายน้ำ ที่เดินมา เดินตามลำน้ำมาเรื่อย ๆ มาจบบริเวณที่เราเดินข้ามน้ำเมื่อวานและลัดขึ้นทวนสายน้ำอีกสายที่ไหลมาจบกัน ผมเดินหาผักกูดไปเรื่อย ๆ สายตาก็สอดส่องไปทางซ้ายขวา ป่าช่วงนี้เงียบเสียจนหน้าใจหาย ผมใช่เวลาสองถึงสามชั่วโมงกับการหาผักกูดและสำรวจพื้น ผมเดิน ลงสู่ลำธารเพื่อหาอาหารซึ่งการเดินในลำน้ำเป็นการเดินที่อยากเพราะลำน้ำมีก้อนหินที่ถูกน้ำพัดพาเอาเศษไม้ เศษใบไม้มาเพื่อทับถมกัน ทำให้การเดินลื่น ไม่สะดวก ดังนั้นในบางช่วงจึงต้องเดินเรียบลำธารบ้างในบางที่ผู้เขียนเดินตามลำน้ำมาเรื่อย ๆ ออกบริเวณที่น้ำสองสายมาพบกัน เจ้าหน้าที่จะเรียกจุดนี้ว่าสามแยกซึ่งสายน้ำจากสองสายไหลมาจบกันไหลรวมกันเป็นคลองแม่กระสา และไหลลงไปพบกับครองอีกหลาย ๆ คลองได้แก่คลองแม่กี่ และคลองที่ไหลจากหน่วยแม่เรวา ลงไปพบกันเป็นสายธารใหญ่อีกครั้ง สายน้ำที่มีความเย็นฉ่ำอุดมไปด้วยปลาเวียนเป็นปลาภูเขาที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กหลายขนาดปลาในน้ำแหล่งนี้ไม่มีใครเข้ามารบกวนจึงมีขนาดใหญ่ ผู้เขียนเองคิดอยู่เพียงในใจว่าหากมีข่ายเมื่อนำลงไว้ในลำธารช่วงที่เป็นวังน้ำที่มีปลามาอาศัยอยู่ในนี้จำนวนมากปลาคงติดจนข่ายแน่นอน ผู้เขียนเองเดินเก็บผักกูดไปเรื่อย ๆ ในตัวของผู้เขียนเองใส่กางเกงขาสั้น มีดที่ติดตัวเป็นประจำตัวเมื่อเข้าป่า และปืนสั้นอีกกระบอกคาดเอวในกระเป๋าคาดเอวไว้ตลอดเวลา ในป่ายามนี้มันช่างเงียบเสียนี่กระไรเมื่อเปรียบตัวเองกับป่าที่กว้างใหญ่ ตัวเรามีขนาดเล็กลงถนัดตา การอยู่ในอ้อมกอดของขุนเขา อยู่ในแผ่นกว้างของพื้นป่า ไม่มีสัตว์ให้เห็นนอกจากตกกระปูด นกระวังไพรที่ร้องมาเป็นระยะ ๆ ความเงียบของป่าทำให้ผู้เขียนเองต้องระวังตัวเองอย่างมากนึกเพียงในใจถึงคำพูดของพ่อตอนสมัยที่ยังเล็ก พอเคยเล่าให้ฟังเมื่อพอยังเป็นหนุ่ม ซึ่งตอนนั้นข้าพเจ้าก็มีอายุสิบกว่าปี จนถึงขนาดนี้แล้วก็ป่าเกือบหกเจ็ดสิบปีแล้ว พอบอกว่าช่วงนั้นเดินเข้าป่าเพื่อไปหาก๋งที่ทำไร่อยู่ในป่า เดินไปก็เคาะต้นไผ่ไปเรื่อย ๆ เอาเสียงเป็นเพื่อน พ่อบอกว่าคืบก็ป่าศอกก็ป่า เข้าป่าอย่าประมาท จึงเป็นคำพูดที่จริงและไม่เคยล้าสมัยแม้นว่าวันเวลาจะแปลเปลี่ยนไป ผู้เขียนเองนึกถึงอยู่ตลอดเวลาในยามที่อยู่ในป่า มีด ปืนจะอยู่ในระยะที่สามารถคว้า หรื อจับนำมาใช้ป้องกันตัวได้ตลอดเวลา ยามนี้ก็เช่นกันมีดอยู่ในมือตลอดเวลา มองกวาดสายตาไปรอบ ๆ บริเวณสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบข้างว่ามีสิ่งใดผิดสังเกตบ้าง เสียงนกที่ร้อง เสียงกิ่งไม้ที่หักลงสู่พื้นเป็นระยะ ๆ เสียงก่อไผ่แตกเหมือนมีใครเอาไม้ขนาดใหญ่ไปตีแรงๆ ดังโป่ง ๆ มาเรื่อย ๆ ผู้เขียนเองเดินขึ้นไป ๆ และคิดเพียงในใจว่าสายน้ำแหล่งนี้มากจากจุดไหนของตนน้ำ แล้วเราจะเดินขึ้นไปถึงจุดไหน มีจุดสิ้นสุดอยู่ที่ใด เปรียบเสมือนชีวิตของมนุษย์เรา เราต่อสู้ดินรนเพื่อต้องการอะไร แย่งชิงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อวัตถุประสงค์ใดกันแน่ ต้องการความเป็นหนึ่ง หรือต้องการความสะใจที่ได้สิ่งที่เราต้องการมาครอบครองมันเป็นความสุขทางใจเช่นนั้นหรือ ความคิดเรื่อยเปื่อยทำให้เราคาดสมาธิ ความคิดกลับมาอีกครั้งเมื่อได้ยินเสียงดังจากทางฝังด้านขวามือ สติ กลับมาอีกครั้ง สายตาหันไปทางทิศทางนั้นด้วยประสาททุกส่วนที่รับรู้ ตื่นตัวเต็มที่ หัวใจที่เต้นปกติเริ่มเต้นแรงขึ้น เร็วขึ้น แต่สิ่งที่ได้เห็นทำให้หัวใจเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เป็นนกที่หากินอยู่ชายน้ำ นกคงตกใจที่ได้ยินเสียงเดิน ไม่ใช่นกที่ตื่น คนเดินก็ตกใจเช่นกัน อย่างทีเคยบอกแล้วว่าป่าก็คือป่าหากมีสิ่งที่ผิดปกติจากธรรมชาติให้พึงสังเกต ต้องมีข้อสงสัยที่จะอยากรู้ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้คืออะไรเพราะสิ่งนั้นอาจหมายถึงอันตรายที่จะเข้ามาใกล้ตนก็เป็นได้ จากนั้นก็เดินเก็บผักกูดจนได้เวลาก็เดินร่องตามน้ำกลับมาเพื่อรอกลุ่มที่เดินขึ้นไปน้ำตก เริ่มหุงข้าว ทำอาหารไว้ส่วนหนึ่งเพื่อรอคนที่เดินกลับมาหิวจะได้รับกินได้เลย จนเวลาร่วงเลยสี่โมงเย็นกลุ่มที่เดินเข้าน้ำตกแม่กระสาก็เดินเข้าน้ำตกก็ทยอยเดินกลับ หลายคนโดนเห็บเกาะตามเสื้อผ้า ผิวหนัง สำหรับคนที่มีภารกิจอย่างอื่นก็เริ่มอาบน้ำ ส่วนผู้เขียนและผู้นำทางก็ทำอาหารและหุงข้าวเพิ่มเพื่อให้พอกับการรับประทานในช่วงเย็น
ก็เหมือนกับทุกค่ำคืนที่ผ่านมา สำหรับนักนิยมไพร นักเดินป่าไม่ว่าจะเป็นผู้ชำนาญหรือเริ่ม
เดินป่าก็ไม่ต่างกัน ทุกคนเมื่อทำภาระกิจกส่วนตัวเรียบร้อยแล้วก็เริ่มลงนั่งล้อมรอบกองไฟ
คุยประสบการณ์ต่าง ๆ ในการเดินบ้าง ประสบการณ์ในการพบเห็น ทั้งในเรื่องที่เหลือเชื่อที่ไม่อาจจะเป็นจริงได้ ส่วนผู้นิยมน้ำสุรา ก็นั่งคุยกันไป ในคืนที่สองผู้เขียนและน้องผู้นำทางออกเดินสำรวจพื้นที่บริเวณรอบข้างที่พักเราเดินทวนน้ำขึ้นไปทางเหนือน้ำตกแม่กระสาส่องไฟไปมาตามลำธารเพื่อหาสิ่งหนึ่งที่มีชีวิตตามลำธารในยามค่ำคืนซึ่งทุกคนเรียกว่าเคโละ เราเดินไปเรื่อย ๆ และร่องกลับมาทางเดิมและเดินตัดลงไปช่วงก่อนถึงแค็มป์ที่เราตั้งขึ้นและเดินรัดเลาะไปลำน้ำอีกสายหนึ่งที่เราผ่านมาเมื่อช่วงเย็นที่ได้กล่าวข้างต้น เราได้สิ่งของที่เราต้องการพอที่จะนำมาประกอบอาหารในมื้อเช้าได้การหาอาหารในป่าเราหาเพื่อยังชีพและไม่มีการเก็บไว้รับประทานในวันต่อไป เราก็ออกหาอาหารใหม่ ช่วงกลางวันอาจจะเป็นจำพวกปลา ผักกูด ช่วงค่ำหรือดึกก็เป็นพวกเคโละ แต่เราจะหาเพื่อพอแบ่งกันกินเท่านั้น และเดินร่องลงตามน้ำอีกครั้งกลับแค็มป์ที่พัก เวลาก็ร่วงเลยไปกับเที่ยงคืนพอจัดการสิ่งเรื่องอื่น ๆเรียบร้อยก็เข้านอน อากาศวันนี้เริ่มจะหนาวพักเดียวความเงียบก็เข้าครอบและเสียงทุกเสียงก็เงียบลงเหลือแต่กองไฟที่ยังรุกส่องสว่างจนไม่รู้ว่าดับไปเมื่อไร
ตื่นตกใจอีกครั้งก็เช้าแล้วแสงสว่างจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกิ่งไม้ เห็นลำแสงพวยพุ่งลงสู่
พื้นดิน ผู้นำทั้งสองหุงหาข้าวปลาเรียบร้อยแล้ว อาหารที่หามาเมื่อคืนเริ่มทยอยนำมาปรุงอาหาร ต้มยำ วันนี้เราทำอาหารอย่างเดียว พร้อมเตรียมตัว
เดินกลับ ผักกูดแปลสภาพเป็นยำผักกูดใส่หมูทอดฝีมือของผู้นำตอน ปกติแล้วผักกูดส่วนใหญ่ที่ผู้นิยมไพรและเดินป่าส่วนใหญ่ทำผัดกูดน้ำมันหอย กินกับน้ำพริกที่เตรียมกันมาหรือน้ำพริกกะปิมันชั่งมีรดชาดที่ไม่มีอะไรเหมือนสำหรับเราชาวเดินป่าก็ถือว่าเลิศรดแล้ว ส่วนผู้นำสารท ก็ได้กล้วยหรือหยวกกล้วยนำมาแกงป่าใส่พริกแกงเป็นอาหารที่รดชาดแปลกไปอีกแบบหนึ่งเช่นกัน แกงจืดที่เตรียมมาอีกชามใหญ่ ๆเท่านี้ก็แสนวิเศษแล้วสำหรับอาหารเช้ ส่วนอาหารเที่ยงคงต้องเป็นแม่ครัวที่อุทยานฯ เราเดินถึงอุทยานก็ช่วงบ่าย ๆ กลับถึงจังหวัดนนทบุรีเที่ยงคืนสำหรบทริปนี้ แม่จะไม่สมดังใจเกี่ยวกับน้ำตกแม่กระสา แต่น้ำใจซึ่งให้กันและกันเต็มเปี่ยม...ดูรูปคลิ๊กที่นี่เลย

18 มี.ค. 2553

ผีตองเหลือง (Mlabri)






ผีตองเหลือง (Mlabri)

ตองเหลือง เป็นชนเผ่าหนึ่งที่เรียกตนเองว่า มลาบรี (Mlabri) ซึ่งแปลว่า “คนป่า” ดำรงชีพอยู่ในป่าทึบของเทือกเขาสูง ๆ มีผู้สันนิษฐานว่า กลุ่มชนเผ่าตองเหลือมีแหล่งกำเนินอยู่ในเขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเดินทางร่อนเร่เคลื่อนย้ายที่อยู่ไปตามทิวเขาจนเข้าสู่เขตแดนประเทศไทย และกระจายตัวอยู่ตามแนวตะเข็บไทย – ลาว โดยเฉพาะในป่าทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน แพร่ และเชียงรายชาวเขาผ่านี้รักอิสระ ไม่มีการตั้งหลักปักฐาน หรือสร้างหมู่บ้านเป็นที่เป็นทาง พวกเขาจะสร้างเพิงที่พักชั่วคราวขึ้น โดยตัดเอากิ่งไม้สะสมไว้ เมื่อใบไม้ที่ใช้มุงเป็นที่กันแดดกันฝนเหลือง พวกเขากลุ่มนี้ก็จะออกเดินทางต่อไปอีก มีความประพฤติอย่างหนึ่งคือ มักคอยจะหลบลี้หนีหน้าไม่ยอมติดต่อกับคนอื่น ๆ เมื่อใดที่รู้ว่ามีคนอื่นเข้าไปในบริเวณป่าที่ตนอาศัยอยู่ก็จะแบ่งแยกกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แล้วเดินแยกย้ายออกจากกันไปทันที การที่ไม่ยอมพบกับใครได้ง่าย ๆ และย้ายที่ไปเมื่อใบไม้เริ่มแห้งทำให้ใคร ๆ พากันเรียกชนเผ่านี้ว่า “ผีตองเหลือ” หรือแปลว่า “ผีใบไม้เหลือง” เพราะคำว่า “ตอง” ทางเหนือหมายถึงใบไม้ ชนเผ่าตองเหลืองอาจเข้าไปในหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าอื่น ๆ บ้าง เพื่อเอาขี้ผึ้งหรือน้ำผึ้งและของป่ามาแลกเปลี่ยนกับมีดเก่าและเสื้อผ้า บางทีก็ขอแลกกับเกลือและข้าวโดยเอาของไปวางกองไว้แล้วไปแอบซุ่มรออยู่ เมื่อแลกของได้แล้วก็กลับเข้าป่าทันที ชนเผ่าตองเหลืองใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพักผ่อนนอนเล่นและสูบยาด้วยกล้องไม้ไผ่เล็ก ๆ หลังจากกินอาหารแล้ว และนี่คือความสำราญใจอย่างยิ่งของพวกเขา คนเหล่านี้ไม่มีความสามารถที่จะเล่าถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีตหรือคิดถึงในอนาคตเมื่อมีใครไปตั้งคำถามอะไรหลาย ๆ คำถาม หรือที่ต้องใช้ความคิดอยู่บ้างในการตอบ พวกเขาจะต้องใช้เวลานานในการคิดคำตอบหรือตอบไม่ได้เลย ตองเหลืองไม่มีความรู้ความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ เขารู้แต่ข้อแตกต่างของพืชพันธุ์ว่าใช้กินได้หรือไม่เท่านั้น อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ ใบไม้บางชนิด หน่อไม้ และหัวเผือกหัวมัน นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่จับได้ไม่ยากนัก เช่น ตะกวด กบ ปูบางชนิด และกระรอก ตองเหลือไม่นิยมกินเนื้อนกแต่กินไข่นก ชีวิตประจำวันของพวกเขาเริ่มขึ้นด้วยผู้หญิงตื่นขึ้นมาก่อไฟ หรือหาไม้มาเติมกองไฟที่ก่อทิ้งไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืน จากนั้นคนอื่น ๆ ในครอบครัวก็จะออกไปแสวงหาอาหารจากในป่า ถ้าหากเขาได้เนื้อสัตว์มาก็จะเอาใส่ในปล้องไม้ไผ่แล้วต้มกินโดยจะเอาผักต้มไว้ในไม้ไผ่อีกปล้องต่างหาก แล้วก็จะกินเนื้อและผักพร้อม ๆ กัน คนเผ่านี้ไม่หาอาหารมาสะสมไว้เกินกว่าวันหนึ่ง เพราะไม่จำเป็น เขาไม่รู้ว่าการสะสมคืออะไร คนเผ่าตองเหลือเป็นคนรักอิสระ ไม่ชอบการกดขี่บังคับ เป็นคนซื่อและไม่พูดโกหก ไม่ชอบที่จะขโมยของใครและไม่อยากทำงาน ซึ่งนั่นเป็นปรัชญาชีวิตของพวกเขา ปัจจุบัน มีชาวตองเหลือที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทยสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีพวกมิชชันนารีเข้าไปให้ความช่วยเหลือและสอนศาสนาอยู่ในจังหวัดแพร่ กับอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในนิคมชาวตองเหลือง มีการตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่รวมกันที่บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน ๑๘ หลังคาเรือน ๒๔ ครอบครัว ๑๑๙ คน ได้รับสัญชาติไทย มีสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนกันแล้ว มีนามสกุล ๕ นามสกุล ได้แก่ เมลืองไพร สุชนคีรี หิรัญคีรี อนันตพฤกษ์ และไพรนิวาส ทั้งสองกลุ่มยังมีการไปมาติดต่อกันบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องราวของแต่ละกลุ่มมากนัก ชาวตองเหลืองที่มีอายุเกิน ๓๐ ปี ขึ้นไป ไม่มีความสุขที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเขตพื้นที่นิคม เพราะพวกเขาจะต้องทำงานให้กับชาวเผ่าม้ง โดยได้ค่าจ้างเป็นผลผลิตของพืชพันธุ์ พวกเขาไม่พอใจที่ถูกด่าว่าเมื่อทำงานไม่เป็นที่พอใจของนายจ้าง ไม่พอใจที่จะต้องกินมาม่าแทนกินหัวเผือกหัวมัน หากทางการจัดพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ให้พวกเขามีชีวิตอยู่อย่างอิสระตามชีวิตดั้งเดิม พวกเขายินดีที่จะกลับไปมีชีวิตอิสระดังเก่า ในขณะที่เด็กรุ่นอายุต่ำลงมาไม่เกิน ๒๐ ปี ไม่แน่ใจว่าจะสามารถใช้ชีวิตในป่าได้อย่างมีความสุข เพราะในช่วงชีวิตของเขาคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบมีที่อยู่อาศัยเป็นที่เป็นทางแล้ว ภาษา จัดอยู่ในตระกูลย่อยมอญ – เขมร ของกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค ลักษณะบ้านเรือน ในอดีตทำเป็นเพิงมุงด้วยใบตอง หรือใบไม้อื่น ๆ ในป่า ปัจจุบันสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งถาวรครอบครัว การแต่งงานของตองเหลือง จะเป็นการแต่งงานนอกกลุ่ม (exogamy) โดยจะไม่แต่งงานกับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน และกับบุคคลที่เป็นเครือญาติกัน นอกจากนี้ ชาวตองเหลืองยังยึดถือการแต่งงานแบบสามีภรรยาเดียว (monogamy) และการแต่งงานแบบมีคู่ครอง การหย่าร้างกับคู่ครองเดิมแล้วเท่านั้น การมีสามีหรือภรรยามากกว่าหนึ่งคนในเวลาเดียวกันถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดผี ผิดจารีตประเพณีถ้ามีการล่วงละเมิดในแบบแผน อาหารการกิน กินอาหารที่หาได้ในป่า จำพวกเผือกมัน หรือสัตว์ป่าที่ล่ามาได้ จะมีการปรุงให้สุกโดยการหลามในกระบอกไม้ไผ่ การแต่งกาย การแต่งกายแบบดั้งเดิมของผู้ชายจะใช้เปลือกไม้มานุ่ง หรือผ้าเตี่ยวพันส่วนล่าง เรียกว่า ผ้า “ตะแหย้ด” ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงก็สวมชุดที่ทำจากเปลือกไม้ ปัจจุบันแต่งกายตามปกติเหมือนคนทั่วไป อาชีพ ตองเหลืองไม่รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ในอดีตยังชีพด้วยการเร่ร่อนหาของป่า ล่าสัตว์ ปัจจุบันได้เรียนรู้การเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค และมีรายได้มาจากการรับจ้างทำงานในไร่ของชาวม้ง เครื่องดนตรี ตองเหลือจะใช้กระบอกไม้ไผ่มาเคาะเป็นจังหวะประกอบการร้องคำทำเพลงเวลาที่มีความดีใจที่หาอาหารมาได้ นอกจานี้ ยังมีการเป่าแคนเป็นทำนองแบบลาว การเป่าขลุ่ยแบบชาวม้ง ความเชื่อและพิธีกรรม ชนเผ่าตองเหลืองส่วนใหญ่แล้ว มีการนับถือวิญญาณและเซ่นสรวงบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นผีผู้รักษาป่าและภูเขา แม่น้ำต่าง ๆ อันเป็นแหล่งอาหารหรือเส้นชีวิตของชาวผีตองเหลือง แต่การผิดผีของชนเผ่าตองเหลือไม่ซับซ้อนเหมือนกับชนเผ่าอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากนักล่าสัตว์อยู่ป่ามาเป็นผู้รับจ้าง ชาวตองเหลือง เป็นชนกลุ่มน้อยที่ล้าหลังที่สุดในบรรดากลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนภูเขาด้วยกันก็ว่าได้ พบเห็นว่า มีชาวตองเหลืองเข้าอาศัยอยู่ในบริเวณบ้านห้วยบ่อหอย ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยชาวตองเหลืองได้ออกจาป่าเข้าไปในไร่ของชาวเขาเผ่าม้งบริเวณลำห้วยแม่รอน บ้านห้วยบ่อหอยเพื่อขออาหารโดยมีขี้ผึ้งเป็นของแลกเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย ปรากฏว่าผู้ชายยังไม่ใส่เสื้อผ้า ใส่แต่ผ้า “ตะแยร์” ส่วนผู้หญิงนั้นใส่เสื้อผ้าแล้ว ต่อมาในระยะหลังประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เขาจึงออกมารับจ้างชาวเขาเผ่าม้งทำไร่ในบริเวณบ้านบ่อหอย บ้านภูเค็ง ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา (ปัจจุบันภูเค็งอยู่ในตำบลแม่ขะนิง) และบ้านขุนสถานอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน หน้าที่รับผิดชอบในครอบครัวของตองเหลือง
๑. ผู้ชาย มีหน้าที่สร้างเพิงที่พัก ล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหาร แต่เดิมนั้นมีแต่หอกอย่างเดียวที่ใช้ล่าสัตว์และป้องกันศัตรู อาจจะเป็นสัตว์ร้าย เช่น หมี เสือ งู แม้กระทั่งคนภายนอก


๒. ผู้หญิง จะมีหน้าที่หุงต้มอาหาร ขุดเผือกมัน ตักน้ำจากลำห้วย เลี้ยงลูก ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ชาวตองเหลือมีความเชื่อว่า เขาเป็นมลาบรี แปลว่าคนป่า ต้องอาศัยอยู่กับป่า จะมีที่อยู่อาศัยถาวรนั้นไม่ได้ และหากทำการเกษตร เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เป็นของตนเองก็ไม่ได้เช่นกัน แต่หากอาศัยอยู่กับชนเผ่าอื่น พักนอนกินอยู่บ้านถาวรได้ หากสร้างบ้านเป็นของตนเองแบบถาวร และปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เป็นของตนเอง จะถูกลงโทษจากผีสางเทวดาดังนั้น ชาวตองเหลืองจึงได้แต่รับจ้างชาวเขาเผ่าอื่น ๆ และสร้างเพิงที่พักชั่วคราวตามไร่เท่านั้น ซึ่งอยู่ในลักษณะที่เร่ร่อน อยู่ไม่เป็นที่ ยากแก่การพัฒนา เท่าที่พบมา ชาวตองเหลืองจะมีสัตว์เลี้ยงชนิดเดียว คือ สุนัข เท่านั้น ตองเหลืองรอบคอบในการดำรงชีวิต พวกนี้ขุดดินกินมัน แต่ก็รักชีวิต ระวังการดื่มน้ำเพราะกลัวศัตูรจะวางยาพิษ ชีวิตลำบาก แต่พวกผีตองเหลืองก็ถือว่า ชีวิตเกิดยาก อยู่ยาก ก็ควรตายยากๆ พวกนี้จะดื่มน้ำในลำธารใส และไหลแรงๆเท่านั้น ผีตองเหลืองเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่กันเป็นพวกเล็กๆ ซ่อนตัวอยู่ในป่าลึก พวกนี้สร้างที่อยู่โดยใช้ใบตองมุงหลังคา พอใบตองนั้นเป็นสีเหลือง ก็จะอพยพย้ายที่อยู่ใหม่ จึงได้ชื่อว่าผีตองเหลือง พวกนี้ไม่ชอบคนแปลกหน้า ถ้าพบก็จะหลบหายไปอย่างรวดเร็ว ราวกับเป็นผีหายตัวได้.....ชาวเขาเผ่านี้จัดอยู่ในตระกูล มอญ เขมร พวกเดียวกับ ว้า ละว้า และขมุ พวกชาวเขาส่วนมากสูบฝิ่น(นานมาแล้ว) แต่พวกผีตองเหลืองไม่สูบ รูปร่างจึงแตกต่างไปจากเผ่าอื่น ซึ่งมักจะผอมแห้งแรงน้อยเพราะพิษฝิ่น พวกผีตองเหลืองผิวพรรณขาวกว่าพวกอื่น คอ่นข้างเหลือง จมูกโด่ง รูปร่างล่ำสัน ในขณะที่เผ่าอื่นๆส่วนมากอ้วนพุงโร และผอมแห้ง ผีตองเหลืองมีใบหน้ารูปไข่ คิ้วดก นัยน์ตาสวย ริมฝีปากไม่หนาเจ่อ ฝันแข็งแรง ผมดำยาว เรียบ ไม่หยิกหยอยน่าเกีลยดพวกผู้ชายผีตองเหลืองชอบเจาะหู เพื่อเสียบดอกไม้ เป็นชาวป่าที่ไม่ดุร้าย รักสวยรักงาม ภาษาที่พูดเป็นภาษาขมุ พวกนี้ชอบสักตามเนื้อตัวเป็นอักขระเล็กน้อย และชาวขมุนั่นเองที่สักให้ ในคราวที่ออกมาแลกของป่ากับยาเส้น ซึ่งพวกเคี้ยวเล่น และชอบหมากพลู ผู้หญิงผีตองเหลือง นิสัยขี้อายและขี้กลัวมาก และพวกผู้ชายเผ่านี้ก็จะหวงพวกผู้หญิงมาก เขาจะเก็บซ่อนเด็กๆ กับผู้หญิงไม่ยอกให้ใครพบเห็นเลย ถ้ามีคนแปลกหน้าผ่านมาเห็น พวกนี้ก็จะย้ายที่อยู่ไปทันที ชาวผีตองเหลืองไม่ชอบอาบน้ำเหมือนกัน แต่ก็ทำความสะอาดร่างกายโดยก่อไฟผิงเนื้อตัวให้ความสกปรกหลุดออกจากเนื้อตัวและหัว ซึ่งโดยมาจะมีแต่เหา พวกผู้ชายผีตองเหลืองรักและถนอมลูกเมียมาก ไม่ต้องทำงานหนักอย่างสาวชาวเขาเผ่าอื่น เพียงแต่นั่งๆนอนเลี้ยงลูก และคอยปรนนิบัตสามีในบ้าน ส่วนสามีก็จะไปหาอาหารป่ามากินกัน แล้วก็จะรีบกลับมาเลี้ยงสัตว์ หุงข้าวต้มแกงให้ลูกเมียกิน ประเพณีหนุ่มสาวก็เป็นอิสระ ใครชอบใครก็พบกันแล้วหลับนอนด้วยกันได้ โดยพ่อแม่ไม่หวงห้าม พิธีแต่งงานก็ง่ายๆ เพียงแต่หาเผือกหามัน และผลไม้มาเผาไฟเลี้ยงกันในครอบครัวฝ่ายชายหญิงเท่านั้น แล้วเพื่อนบ้านก็จะเต้นรำฉลองให้บ่าวสาว ดนตรีของพวกเขาคือการเป่าใบไม้ ตบมือ และการร้องเพลง และเมื่อเป็นสามีภรรยากันแล้ว ก็จะต้องพอใจแต่ในคู่ของตนเท่านั้น ผีตองเหลืองไม่ชอบพูด แม้แต่ในพวกเดียวกันเอง เพียงแต่นั่งมองตากันเฉยๆแทน พวกนี้อายุ 50-60 ปี ก็ตายและมักตายในวัยเด็กกันมาก จึงเป็นเผ่าที่มีเหลืออยู่น้อย อาหารของพวกเขาก็มี กบ งู กระรอก ผลไม้ หน่อไม้ ไม่ค่อยรู้จักล่าสัตว์ใหญ่ ใครหาของกินมาได้ก็จะได้รับการยกย่องว่าฉลาดดี ชาวผีตองเหลืองอาศัยอยู่ในป่าลึก จังหวัดน่าน แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง โดยมากปกปิดร่างกายด้วยเปลือกไม้. ***ไก่ย่างตำรับผีตองเหลืองคือ ฆ่าไก่ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วย่างในกองไฟจนระอุผีตองเหลือง ผีตองเหลือง เป็นชื่อของชนเผ่าหนึ่งที่มีลักษณะเป็นคนป่า มักร่อนเร่อยู่ตามป่าลึก คำว่า ผีตองเหลือง เป็นชื่อที่คนกลุ่มอื่นเรียกชนเผ่านี้โดยเรียกตามวัสดุที่ใช้มุงหลังคา คือ ใบตอง เมื่อใบไม้ใบตองที่มุงหลังคาหรือทำเป็นซุ้ม เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วคนเหล่านี้ก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่นต่อไป DT.H Barnatzik ชาวออสเตรียสำรวจพบ ผีตองเหลือง เมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๙ ในดงทึบเขตจังหวัดน่าน คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “ ยำบรี ” สันนิษฐานว่าเป็นพวกกับ ผีตองเหลือง ที่คณะสำรจวจของสยามสมาคมซึ่งมี นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ เป็นหัวหน้าค้นพบเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ . ศ . ๒๕๐๕ ครั้งนั้นนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ว่าชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “ มระบรี ” ทำเพิงอาศัยอยู่ที่ริมห้วยน้ำท่า ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดน่าน ก่อนนี้ Mr.Oliver Gordon Young รายงานว่าชาวแม้วและชาวมูเซอที่ดอยเวียงผา อ . พร้าว จ . เชียงใหม่ ได้พบ ผีตองเหลือง ในเขตของตนและว่าพวกนี้พูดภาษาว้ากับเรียกตนเองว่า “ โพล ” การที่เรียกตัวเองว่า “ มระบรี มราบรี ” เพราะคำนี้แปลว่าคนป่า “ มรา ” แปลว่า คน “ บรี ” แปลว่า ป่า กล่าวกันว่า ผีตองเหลือง เป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตจังหวัดไซยะบุรี ประเทศลาว ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามภาคเหนือของประเทศไทย อาทิ อำเภอเมือง อำเภอร้องกวาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอสา จังหวัดน่าน ถิ่นที่อยู่ของ ผีตองเหลือง มักจะเป็นเขตชุ่มชื้น ตามความลาดของไหล่เขาอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราวๆ ๓ , ๐๐๐ ฟุตขึ้นไป และตั้งที่พักใกล้แหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคตลอดจนสามารถหากุ้ง ปู ปลา และสัตว์น้ำต่างๆ มาประกอบเป็นอาหารได้ สำหรับรูปร่างลักษณะของ ผีตองเหลือง คือ รูปร่างเล็กแต่แข็งแรง บ้างว่าเหมือนคนทางภาคเหนือของประเทศไทยแต่ผิวคล้ำกว่า เครื่องนุ่งห่มมีแต่ผ้าเตี่ยวผืนเดียวและผ้านุ้งนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อจำเป็นต้องเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อเอาของป่ามาแลกกับข้าวสาร เกลือและของใช้ที่จำเป็น เช่น มีดหรือหอกเท่านั้น เพราะโดยปกติหากอยู่ในกลุ่มพวกพ้องพวกเขาจะเปลือยกาย นอกจากนี้ ผีตองเหลือง ไม่เคยกังวลเรื่องรายได้เพราะพวกเขาไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเงินเลย แม้แต่นับจำนวนก็จะได้อย่างมากแค่สามเท่านั้น การดำรงชีวิตของ ผีตองเหลือง ขึ้นอยู่กับเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือใหญ่รวมทั้งหนู งู เม่น และผึ้งป่า สำหรับผักก็เป็นจำพวกถั่ว ลูกไม้และรากไม้ที่ขุดหามาได้พวกเขาไม่เคยทำไร่ไถนาและไม่เคยปลูกพืชผักใดๆ อาวุธที่ ผีตองเหลือง ใช้คือหอกด้ามยาวซึ่งใช้แทงเท่านั้น เพราะเขาพุ่งหอกไม่เป็น กล่าวกันว่าหอกขิงชนกลุ่มนี้ยาวไม่น้อยกว่า ๑๒ ฟุต นอกจากนี้ ผีตองเหลือง ยังมีความชำนาญในการล่าหมูป่า แม้แต่ชาวมูเซอที่ได้ชื่อว่าเป็นพรานฝีมือฉกาจยังต้องยอมยกให้ ผีตองเหลือง เพราะเวลาที่ออกล่าหมูป่า พวกเขานี้จะเอาขี้หมูมาทาตัวก่อน เมื่อเข้าใกล้ฝูงหมูป่า พวกมันจะไม่รู้สึกตัวเลยจนกระทั่งถูกแทงด้วยหอกในระยะประชิดตัวโดยฝีมือของ ผีตองเหลือง ชาว ผีตองเหลือง มีความเชื่อคล้ายกับชาวเขาเผ่าอื่นๆซึ่งเกี่ยวกับสิ่งลึกลับ เช่น ภูตผีปีศาจ และวิญญาณต่างๆ โดยเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีอำนาจเหนือวิถีชีวิตของพวกเรา จึงมีการเส้นบวงสรวงสิ่งต่างๆ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย อนึ่ง ในคืนวันที่พระจันทร์เต็มดวง ผีตองเหลือง จะทำพิธีถวายเครื่องเซ่นแก่ผีทั้งหลายที่พวกเขานับถือ แล้วจะมีงานรื่นเริง พวกเขาจะเต้นรำไปรอบๆ หอกประจำตัวของแต่ละคนที่นำมาตั้งรวมกันไว้กลางวง การเต้นรำของพวกเขาเป็นเพียงการเดินโยกตัวไปมารอบๆ วง พร้อมกับพลิกมือไปมา ขณะที่โยกตัวก็จะมีการพึมพำเนื้อเพลงไปด้วย สำหรับเนื้อเพลงก็คล้ายกับเพลงของพวกโยนกโบราณ คนที่ไม่ร่วมเต้นรำก็จะล้อมวงปรบมือให้จังหวะเมื่อดึกมากเข้า จึงแยกย้ายกันไปนอนหลับนอกจากนี้ ผีตองเหลือง ยังได้รับการปลูกฝังจากบรรพชนมาเป็นเวลาช้านาน ว่าหากอยู่เป็นหลักแหล่งโดยไม่โยกย้ายไปไหน ผีร้ายจะส่งเสือให้มาคร่าทำลายพวกเขา จึงต้องย้ายที่อยู่เกือบทุก ๕ – ๑๐ วัน ซึ่งการปฏิบัติตามความเชื่อนี้สอดคล้องกับหลักความสมดุลและหลักทางวิชาการบางประการ นั่นคือ อาหารที่มีอยู่รอบบริเวณที่พัก ลดน้อยลง ก็จะย้ายไปหาที่อยู่แห่งใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าลักษณะเพิงที่พักของชนเผ่า ผีตองเหลือง คล้ายกับเพิงหมาแหงนแต่ภายในไม่มีการยกพื้น และปลูกแคร่คร่อมดิน เหมือนเพลิงหมาแหงนโดยทั่วไป ท้ายเพิงมักจะสูงกว่าหน้าเพิงพัก ใช้พื้นดินเป็นพื้นเพิงและนำหญ้าฟางแห้งหรือใบตองมาปูบนพื้น เวลานอนจะไม่หนุนหมอน แต่ตะแคงหูแนบพื้น เพื่อให้สามารถได้ยินฝีเท้าคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้เพิงพักได้ พวกผู้หญิงและเด็กจะอยู่ในกระท่อมที่สร้างบนภูเขาสูง เมื่อพวกผู้ชายไปล่าสัตว์หาของป่า หรืออาหารได้เพียงพอแล้ว จึงจะกลับไปหาลูกเมียครั้งหนึ่ง ด้านสุขนิสัยนั้น ผีตองเหลือง มักจะขับถ่ายตามสุมทุมพุ่มไม้รอบเพิงพัก เมื่อเกิดโรคระบาดจึงสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว การย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยไปยังแห่งใหม่จึงช่วยบรรเทาการระบาดของโรคได้ ในการย้ายที่อยู่จะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า และจะหยุดสร้างที่พักก่อนตะวันจะลับฟ้าด้วยเกรงว่าจะเกิดอันตรายจากการเดินทางและสัตว์ป่าต่าง ๆ ในกรณีที่สมาชิกคนหนึ่งคนใดเสียชีวิต ญาติพี่น้องจะช่วยกันทำศพ โดยนำศพไปวางบนแคร่ที่สร้างไว้บนต้นไม้ใหญ่เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย เช่น เสือมาขุดคุ้ยกินศพ เพราะเชื่อว่าถ้าเสือได้กินศพแล้วอาจติดใจและจำกลิ่นเนื้อคนได้ ต่อมาพบว่ามีการฝังศพแทนการทิ้งศพดังกล่าว และภายหลังจากการฝังศพแล้วจะโยกย้ายที่อยู่อาศัยทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนของวันก็ตาม การสร้างที่พักจึงเป็นแบบเพิงชั่วคราว เนืองจากมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อย ๆ นั่นเอง ธรรมเนียมอย่างหนึ่งของ ผีตองเหลือง คือ ชายหญิงทุกคนต้องเจาะหูทั้งสองข้างตั้งแต่เด็ก รูหูที่เจาะมีขนาดประมาณ 0. ๕ - ๑ . ๐ เซนติเมตร โดยใช้ไม้ไผ่เหลากลมปลายแหลมแทงลงไปบนเนื้ออ่อนบริเวณติ่งหู สมัยก่อนมักจะนำดอกไม้มาเสียบไว้ในรูหูเพื่อเป็นการประดับร่างกาย แต่ในปัจจุบันเมื่อติดต่อกับชนเผ่าอื่น ๆ เช่น ม้งหรือเย้า ทำให้ธรรมเนียมนี้ลดความนิยมลงไป แต่ก็ยังมีปรากฏให้เห็นบ้างประปราย ในจำนวนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ผีตองเหลืองชอบติดต่อแลกเปลี่ยนของป่ากับพวกแม้วและมูเซอเท่านั้น สำหรับชาวเขาเผ่าอื่นนั้น พวกเขาจะไม่กล้าเข้าไปหา เคยมีเรื่องเล่าว่ามีชาวเขาเผ่าอื่นที่ไม่รู้จักผีตองเหลือง เมื่อเห็นพวกเขาเข้าไปในถิ่นของตนจึงยิงเอา อนึ่ง ชาวเขาหลายเผ่าเชื่อว่าพวกผีตองเหลืองเป็น “ ผี ” จริง ๆ ไม่ใช่คน และเชื่อว่าผีเหล่านี้จะนำความหายนะมาสู่ตน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ติดต่อกับผีตองเหลือง ทว่า ผีตองเหลืองสามารถอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านของชาวเขากลุ่มนั้น โดยที่พวกเขาไม่มีโอกาสรู้เลย แม้ว่าชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นจะรับเอาความเจริญจากสังคมพื้นราบเข้าไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมตลอดจนวิถีความเป็นอยู่ต่าง ๆ แต่สำหรับผีตองเหลืองการเปลี่ยนแปลงยังคงมีน้อย สามารถรักษาวิถีชีวิตแบบเก่า ๆไว้ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการย้ายที่อยู่บ่อย จึงไม่ค่อยได้สมาคมกับคนภายนอกเผ่า อีกทั้งอิทธิพลความเชื่อถือที่ยึดมั่นมาตั้งแต่ครั้งอดีตยังฝังอยู่ในจิตใจของชนกลุ่มนี้อย่างเหนียวแน่น ปัจจุบันนี้ ประมาณกันว่าจำนวนของผีตองเหลืองในประเทศไทยมีไม่เกิน ๑๕๐ คน จึงนับว่าพวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนน้อยที่สุดในประเทศไทย

ข้อมูลจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน

17 มี.ค. 2553

พิชิตยอดเขาหินรูปเรือใบทริปแรกของปี 51 (โหดๆ)










ทริปเดินขึ้นโมโกจู ที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ทริปแรก ที่สุดของที่สุด น้ำเยอะมาก ทริปนี้เป็นทริปที่โหดพอสมควรดูภาพเอาเอง คลิ๊กที่นี้เลย

ตามรอยนักย่ำดง...สู่ยอดเขาเจดีย์..เหมืองโบราณ..เขานัน


ทริปสำรวจเขานัน เดินสู่ยอดเจดีย์ 5 คืน หลง หนาว สี่หนุ่ม คนละมุม ดูรูปคลิ๊กได้เลย และดูรูปตอนที่2คลิ๊กที่นี่ ช่วงนี้มีสามตอน เป็นเพียงทริปสำรวจทริปแรกที่เดินเขาใต้ตอนที่3 คลิ๊กที่นี่เลย

บ้านโล๊ะโค๊ะ ป่าหมาก ป่าคา ที่คลองวังเจ้า ช่วงฤดูฝน









เป็นการเข้าป่าของกลุ่มคนจากโรงพยาบาลสงฆ์ที่ให้นำเข้าไปเพื่อดูน้ำตกเต่าดำ เป็นช่วงปลายฝน ต้นหนาว แต่ผลที่ได้รับเป็นการไปเจอฝนทั้งกลางวัน กลางคืน รถที่นำเข้าไปไม่สามารถเข้าถึงได้ และได้พบเพื่อเก่าที่เคยเดินป่าที่เขาหลวงด้วยกัน Hotice(พี่เอก)ลองเข้าไปดูก่อน หากสนใจเข้าไปเที่ยวเชิญได้ครับ ดูรูปคลิ๊กที่นี่เลยครับ

16 มี.ค. 2553

พิชิตยอดเขาหินรูปเรือใบ 10-14 มกราคม 2552



ปี 2552 เดินขึ้นพิชิตยอดโมโกจู หินรูปเรือใบ ความใผ่ฝันของหลาย ๆ คนที่อยากพิชิตแม้สักครั้งในชีวิตหรือเพียงครั้งเดียวก็ไม่อยากที่จะกลับไปอีกก็ได้ สนใจดูคลิกที่นี่

เขาหลวง สันเย็น ป่าหลังคาแดนใต้ เก้าคืน










ทริปนี้เป็นทริปสำรวจพื้นที่ป่าหลังคาแดนใต้เขาหลวงสันเย็น จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดทำเอกสารและหนังสือการท่องเที่ยว โดย1.ทาร์ซานบอยผู้คล่ำหวอดในการเดินป่าทางใต้ 2.บ่าววังลุง 3Hotice (เอก) ช่างกล่องอิสระมืออาชีพ ต๋อยแซมเบ้ นักเดินป่าอิสระ และสามสาวใจถึง สาวคนแรกน้องเล็ก คนที่สองน้องเอ๋ สาวสวยแพน และคลิกดูที่นี่ได้ และคลิ๊กที่นี่เลย

15 มี.ค. 2553

เดินป่าหน้าหนาวพิชิตยอด 1964 เมตร(โมโกจู)ทริปที่ 3



ทริปนี้เป็นทริปสุดท้ายของปปีที่เดินสำหรับการพิชิตยอดโมโกจู ยอดหินรูปเรือใบ วันที่ 30 มกราคม 2553 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2553 คลิกดูรูปได้ที่นี้เลย

เดินป่าหน้าหนาวพิชิตยอด 1964 เมตร(โมโกจู)

ช่วงปลายเดือน ตุลาคมของทุกปี จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ฤดูการท่องเที่ยว ทริปที่ขอแนะนำสำหรับการออกกำลังกายที่ดีที่สุด ไม่ต้องเข้าห้องฟิตเนส ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องวิ่งออกกำลังกายท่านจะสามารถลดน้ำหนักได้อย่างน้อย 3-5 กิโลกรัมต่อการเที่ยว 1 ทริป 5 วัน 4 คืนสำหรับการท่องเที่ยวเดินป่าระยะไกลดูรายละเอียดก่อนเข้ามาตัดสินใจ ทริปแรกตุลาคม 52 รายละเอียดดูได้ที่นี่เลย

มาเดินป่าเพื่อรักษาสุขภาพกันเถอะวันมาฆบูชา(ม่อนจอง)


ช่วงที่เป็นวันหยุดวันมาฆบูชาออกเดินป่าที่ดอยม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2553ถึง วันที่ 1 มีนาคม 2553 ทริปสุดท้ายของการเดินขึ้นม่อนจอง เพราะอาจเจอไฟป่า และช้างเข้ามาหากินในป่านี้ รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่