18 มี.ค. 2553

ผีตองเหลือง (Mlabri)






ผีตองเหลือง (Mlabri)

ตองเหลือง เป็นชนเผ่าหนึ่งที่เรียกตนเองว่า มลาบรี (Mlabri) ซึ่งแปลว่า “คนป่า” ดำรงชีพอยู่ในป่าทึบของเทือกเขาสูง ๆ มีผู้สันนิษฐานว่า กลุ่มชนเผ่าตองเหลือมีแหล่งกำเนินอยู่ในเขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเดินทางร่อนเร่เคลื่อนย้ายที่อยู่ไปตามทิวเขาจนเข้าสู่เขตแดนประเทศไทย และกระจายตัวอยู่ตามแนวตะเข็บไทย – ลาว โดยเฉพาะในป่าทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน แพร่ และเชียงรายชาวเขาผ่านี้รักอิสระ ไม่มีการตั้งหลักปักฐาน หรือสร้างหมู่บ้านเป็นที่เป็นทาง พวกเขาจะสร้างเพิงที่พักชั่วคราวขึ้น โดยตัดเอากิ่งไม้สะสมไว้ เมื่อใบไม้ที่ใช้มุงเป็นที่กันแดดกันฝนเหลือง พวกเขากลุ่มนี้ก็จะออกเดินทางต่อไปอีก มีความประพฤติอย่างหนึ่งคือ มักคอยจะหลบลี้หนีหน้าไม่ยอมติดต่อกับคนอื่น ๆ เมื่อใดที่รู้ว่ามีคนอื่นเข้าไปในบริเวณป่าที่ตนอาศัยอยู่ก็จะแบ่งแยกกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แล้วเดินแยกย้ายออกจากกันไปทันที การที่ไม่ยอมพบกับใครได้ง่าย ๆ และย้ายที่ไปเมื่อใบไม้เริ่มแห้งทำให้ใคร ๆ พากันเรียกชนเผ่านี้ว่า “ผีตองเหลือ” หรือแปลว่า “ผีใบไม้เหลือง” เพราะคำว่า “ตอง” ทางเหนือหมายถึงใบไม้ ชนเผ่าตองเหลืองอาจเข้าไปในหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าอื่น ๆ บ้าง เพื่อเอาขี้ผึ้งหรือน้ำผึ้งและของป่ามาแลกเปลี่ยนกับมีดเก่าและเสื้อผ้า บางทีก็ขอแลกกับเกลือและข้าวโดยเอาของไปวางกองไว้แล้วไปแอบซุ่มรออยู่ เมื่อแลกของได้แล้วก็กลับเข้าป่าทันที ชนเผ่าตองเหลืองใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพักผ่อนนอนเล่นและสูบยาด้วยกล้องไม้ไผ่เล็ก ๆ หลังจากกินอาหารแล้ว และนี่คือความสำราญใจอย่างยิ่งของพวกเขา คนเหล่านี้ไม่มีความสามารถที่จะเล่าถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีตหรือคิดถึงในอนาคตเมื่อมีใครไปตั้งคำถามอะไรหลาย ๆ คำถาม หรือที่ต้องใช้ความคิดอยู่บ้างในการตอบ พวกเขาจะต้องใช้เวลานานในการคิดคำตอบหรือตอบไม่ได้เลย ตองเหลืองไม่มีความรู้ความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ เขารู้แต่ข้อแตกต่างของพืชพันธุ์ว่าใช้กินได้หรือไม่เท่านั้น อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ ใบไม้บางชนิด หน่อไม้ และหัวเผือกหัวมัน นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่จับได้ไม่ยากนัก เช่น ตะกวด กบ ปูบางชนิด และกระรอก ตองเหลือไม่นิยมกินเนื้อนกแต่กินไข่นก ชีวิตประจำวันของพวกเขาเริ่มขึ้นด้วยผู้หญิงตื่นขึ้นมาก่อไฟ หรือหาไม้มาเติมกองไฟที่ก่อทิ้งไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืน จากนั้นคนอื่น ๆ ในครอบครัวก็จะออกไปแสวงหาอาหารจากในป่า ถ้าหากเขาได้เนื้อสัตว์มาก็จะเอาใส่ในปล้องไม้ไผ่แล้วต้มกินโดยจะเอาผักต้มไว้ในไม้ไผ่อีกปล้องต่างหาก แล้วก็จะกินเนื้อและผักพร้อม ๆ กัน คนเผ่านี้ไม่หาอาหารมาสะสมไว้เกินกว่าวันหนึ่ง เพราะไม่จำเป็น เขาไม่รู้ว่าการสะสมคืออะไร คนเผ่าตองเหลือเป็นคนรักอิสระ ไม่ชอบการกดขี่บังคับ เป็นคนซื่อและไม่พูดโกหก ไม่ชอบที่จะขโมยของใครและไม่อยากทำงาน ซึ่งนั่นเป็นปรัชญาชีวิตของพวกเขา ปัจจุบัน มีชาวตองเหลือที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทยสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีพวกมิชชันนารีเข้าไปให้ความช่วยเหลือและสอนศาสนาอยู่ในจังหวัดแพร่ กับอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในนิคมชาวตองเหลือง มีการตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่รวมกันที่บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน ๑๘ หลังคาเรือน ๒๔ ครอบครัว ๑๑๙ คน ได้รับสัญชาติไทย มีสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนกันแล้ว มีนามสกุล ๕ นามสกุล ได้แก่ เมลืองไพร สุชนคีรี หิรัญคีรี อนันตพฤกษ์ และไพรนิวาส ทั้งสองกลุ่มยังมีการไปมาติดต่อกันบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องราวของแต่ละกลุ่มมากนัก ชาวตองเหลืองที่มีอายุเกิน ๓๐ ปี ขึ้นไป ไม่มีความสุขที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเขตพื้นที่นิคม เพราะพวกเขาจะต้องทำงานให้กับชาวเผ่าม้ง โดยได้ค่าจ้างเป็นผลผลิตของพืชพันธุ์ พวกเขาไม่พอใจที่ถูกด่าว่าเมื่อทำงานไม่เป็นที่พอใจของนายจ้าง ไม่พอใจที่จะต้องกินมาม่าแทนกินหัวเผือกหัวมัน หากทางการจัดพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ให้พวกเขามีชีวิตอยู่อย่างอิสระตามชีวิตดั้งเดิม พวกเขายินดีที่จะกลับไปมีชีวิตอิสระดังเก่า ในขณะที่เด็กรุ่นอายุต่ำลงมาไม่เกิน ๒๐ ปี ไม่แน่ใจว่าจะสามารถใช้ชีวิตในป่าได้อย่างมีความสุข เพราะในช่วงชีวิตของเขาคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบมีที่อยู่อาศัยเป็นที่เป็นทางแล้ว ภาษา จัดอยู่ในตระกูลย่อยมอญ – เขมร ของกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค ลักษณะบ้านเรือน ในอดีตทำเป็นเพิงมุงด้วยใบตอง หรือใบไม้อื่น ๆ ในป่า ปัจจุบันสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งถาวรครอบครัว การแต่งงานของตองเหลือง จะเป็นการแต่งงานนอกกลุ่ม (exogamy) โดยจะไม่แต่งงานกับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน และกับบุคคลที่เป็นเครือญาติกัน นอกจากนี้ ชาวตองเหลืองยังยึดถือการแต่งงานแบบสามีภรรยาเดียว (monogamy) และการแต่งงานแบบมีคู่ครอง การหย่าร้างกับคู่ครองเดิมแล้วเท่านั้น การมีสามีหรือภรรยามากกว่าหนึ่งคนในเวลาเดียวกันถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดผี ผิดจารีตประเพณีถ้ามีการล่วงละเมิดในแบบแผน อาหารการกิน กินอาหารที่หาได้ในป่า จำพวกเผือกมัน หรือสัตว์ป่าที่ล่ามาได้ จะมีการปรุงให้สุกโดยการหลามในกระบอกไม้ไผ่ การแต่งกาย การแต่งกายแบบดั้งเดิมของผู้ชายจะใช้เปลือกไม้มานุ่ง หรือผ้าเตี่ยวพันส่วนล่าง เรียกว่า ผ้า “ตะแหย้ด” ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงก็สวมชุดที่ทำจากเปลือกไม้ ปัจจุบันแต่งกายตามปกติเหมือนคนทั่วไป อาชีพ ตองเหลืองไม่รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ในอดีตยังชีพด้วยการเร่ร่อนหาของป่า ล่าสัตว์ ปัจจุบันได้เรียนรู้การเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค และมีรายได้มาจากการรับจ้างทำงานในไร่ของชาวม้ง เครื่องดนตรี ตองเหลือจะใช้กระบอกไม้ไผ่มาเคาะเป็นจังหวะประกอบการร้องคำทำเพลงเวลาที่มีความดีใจที่หาอาหารมาได้ นอกจานี้ ยังมีการเป่าแคนเป็นทำนองแบบลาว การเป่าขลุ่ยแบบชาวม้ง ความเชื่อและพิธีกรรม ชนเผ่าตองเหลืองส่วนใหญ่แล้ว มีการนับถือวิญญาณและเซ่นสรวงบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นผีผู้รักษาป่าและภูเขา แม่น้ำต่าง ๆ อันเป็นแหล่งอาหารหรือเส้นชีวิตของชาวผีตองเหลือง แต่การผิดผีของชนเผ่าตองเหลือไม่ซับซ้อนเหมือนกับชนเผ่าอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากนักล่าสัตว์อยู่ป่ามาเป็นผู้รับจ้าง ชาวตองเหลือง เป็นชนกลุ่มน้อยที่ล้าหลังที่สุดในบรรดากลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนภูเขาด้วยกันก็ว่าได้ พบเห็นว่า มีชาวตองเหลืองเข้าอาศัยอยู่ในบริเวณบ้านห้วยบ่อหอย ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยชาวตองเหลืองได้ออกจาป่าเข้าไปในไร่ของชาวเขาเผ่าม้งบริเวณลำห้วยแม่รอน บ้านห้วยบ่อหอยเพื่อขออาหารโดยมีขี้ผึ้งเป็นของแลกเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย ปรากฏว่าผู้ชายยังไม่ใส่เสื้อผ้า ใส่แต่ผ้า “ตะแยร์” ส่วนผู้หญิงนั้นใส่เสื้อผ้าแล้ว ต่อมาในระยะหลังประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เขาจึงออกมารับจ้างชาวเขาเผ่าม้งทำไร่ในบริเวณบ้านบ่อหอย บ้านภูเค็ง ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา (ปัจจุบันภูเค็งอยู่ในตำบลแม่ขะนิง) และบ้านขุนสถานอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน หน้าที่รับผิดชอบในครอบครัวของตองเหลือง
๑. ผู้ชาย มีหน้าที่สร้างเพิงที่พัก ล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหาร แต่เดิมนั้นมีแต่หอกอย่างเดียวที่ใช้ล่าสัตว์และป้องกันศัตรู อาจจะเป็นสัตว์ร้าย เช่น หมี เสือ งู แม้กระทั่งคนภายนอก


๒. ผู้หญิง จะมีหน้าที่หุงต้มอาหาร ขุดเผือกมัน ตักน้ำจากลำห้วย เลี้ยงลูก ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ชาวตองเหลือมีความเชื่อว่า เขาเป็นมลาบรี แปลว่าคนป่า ต้องอาศัยอยู่กับป่า จะมีที่อยู่อาศัยถาวรนั้นไม่ได้ และหากทำการเกษตร เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เป็นของตนเองก็ไม่ได้เช่นกัน แต่หากอาศัยอยู่กับชนเผ่าอื่น พักนอนกินอยู่บ้านถาวรได้ หากสร้างบ้านเป็นของตนเองแบบถาวร และปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เป็นของตนเอง จะถูกลงโทษจากผีสางเทวดาดังนั้น ชาวตองเหลืองจึงได้แต่รับจ้างชาวเขาเผ่าอื่น ๆ และสร้างเพิงที่พักชั่วคราวตามไร่เท่านั้น ซึ่งอยู่ในลักษณะที่เร่ร่อน อยู่ไม่เป็นที่ ยากแก่การพัฒนา เท่าที่พบมา ชาวตองเหลืองจะมีสัตว์เลี้ยงชนิดเดียว คือ สุนัข เท่านั้น ตองเหลืองรอบคอบในการดำรงชีวิต พวกนี้ขุดดินกินมัน แต่ก็รักชีวิต ระวังการดื่มน้ำเพราะกลัวศัตูรจะวางยาพิษ ชีวิตลำบาก แต่พวกผีตองเหลืองก็ถือว่า ชีวิตเกิดยาก อยู่ยาก ก็ควรตายยากๆ พวกนี้จะดื่มน้ำในลำธารใส และไหลแรงๆเท่านั้น ผีตองเหลืองเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่กันเป็นพวกเล็กๆ ซ่อนตัวอยู่ในป่าลึก พวกนี้สร้างที่อยู่โดยใช้ใบตองมุงหลังคา พอใบตองนั้นเป็นสีเหลือง ก็จะอพยพย้ายที่อยู่ใหม่ จึงได้ชื่อว่าผีตองเหลือง พวกนี้ไม่ชอบคนแปลกหน้า ถ้าพบก็จะหลบหายไปอย่างรวดเร็ว ราวกับเป็นผีหายตัวได้.....ชาวเขาเผ่านี้จัดอยู่ในตระกูล มอญ เขมร พวกเดียวกับ ว้า ละว้า และขมุ พวกชาวเขาส่วนมากสูบฝิ่น(นานมาแล้ว) แต่พวกผีตองเหลืองไม่สูบ รูปร่างจึงแตกต่างไปจากเผ่าอื่น ซึ่งมักจะผอมแห้งแรงน้อยเพราะพิษฝิ่น พวกผีตองเหลืองผิวพรรณขาวกว่าพวกอื่น คอ่นข้างเหลือง จมูกโด่ง รูปร่างล่ำสัน ในขณะที่เผ่าอื่นๆส่วนมากอ้วนพุงโร และผอมแห้ง ผีตองเหลืองมีใบหน้ารูปไข่ คิ้วดก นัยน์ตาสวย ริมฝีปากไม่หนาเจ่อ ฝันแข็งแรง ผมดำยาว เรียบ ไม่หยิกหยอยน่าเกีลยดพวกผู้ชายผีตองเหลืองชอบเจาะหู เพื่อเสียบดอกไม้ เป็นชาวป่าที่ไม่ดุร้าย รักสวยรักงาม ภาษาที่พูดเป็นภาษาขมุ พวกนี้ชอบสักตามเนื้อตัวเป็นอักขระเล็กน้อย และชาวขมุนั่นเองที่สักให้ ในคราวที่ออกมาแลกของป่ากับยาเส้น ซึ่งพวกเคี้ยวเล่น และชอบหมากพลู ผู้หญิงผีตองเหลือง นิสัยขี้อายและขี้กลัวมาก และพวกผู้ชายเผ่านี้ก็จะหวงพวกผู้หญิงมาก เขาจะเก็บซ่อนเด็กๆ กับผู้หญิงไม่ยอกให้ใครพบเห็นเลย ถ้ามีคนแปลกหน้าผ่านมาเห็น พวกนี้ก็จะย้ายที่อยู่ไปทันที ชาวผีตองเหลืองไม่ชอบอาบน้ำเหมือนกัน แต่ก็ทำความสะอาดร่างกายโดยก่อไฟผิงเนื้อตัวให้ความสกปรกหลุดออกจากเนื้อตัวและหัว ซึ่งโดยมาจะมีแต่เหา พวกผู้ชายผีตองเหลืองรักและถนอมลูกเมียมาก ไม่ต้องทำงานหนักอย่างสาวชาวเขาเผ่าอื่น เพียงแต่นั่งๆนอนเลี้ยงลูก และคอยปรนนิบัตสามีในบ้าน ส่วนสามีก็จะไปหาอาหารป่ามากินกัน แล้วก็จะรีบกลับมาเลี้ยงสัตว์ หุงข้าวต้มแกงให้ลูกเมียกิน ประเพณีหนุ่มสาวก็เป็นอิสระ ใครชอบใครก็พบกันแล้วหลับนอนด้วยกันได้ โดยพ่อแม่ไม่หวงห้าม พิธีแต่งงานก็ง่ายๆ เพียงแต่หาเผือกหามัน และผลไม้มาเผาไฟเลี้ยงกันในครอบครัวฝ่ายชายหญิงเท่านั้น แล้วเพื่อนบ้านก็จะเต้นรำฉลองให้บ่าวสาว ดนตรีของพวกเขาคือการเป่าใบไม้ ตบมือ และการร้องเพลง และเมื่อเป็นสามีภรรยากันแล้ว ก็จะต้องพอใจแต่ในคู่ของตนเท่านั้น ผีตองเหลืองไม่ชอบพูด แม้แต่ในพวกเดียวกันเอง เพียงแต่นั่งมองตากันเฉยๆแทน พวกนี้อายุ 50-60 ปี ก็ตายและมักตายในวัยเด็กกันมาก จึงเป็นเผ่าที่มีเหลืออยู่น้อย อาหารของพวกเขาก็มี กบ งู กระรอก ผลไม้ หน่อไม้ ไม่ค่อยรู้จักล่าสัตว์ใหญ่ ใครหาของกินมาได้ก็จะได้รับการยกย่องว่าฉลาดดี ชาวผีตองเหลืองอาศัยอยู่ในป่าลึก จังหวัดน่าน แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง โดยมากปกปิดร่างกายด้วยเปลือกไม้. ***ไก่ย่างตำรับผีตองเหลืองคือ ฆ่าไก่ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วย่างในกองไฟจนระอุผีตองเหลือง ผีตองเหลือง เป็นชื่อของชนเผ่าหนึ่งที่มีลักษณะเป็นคนป่า มักร่อนเร่อยู่ตามป่าลึก คำว่า ผีตองเหลือง เป็นชื่อที่คนกลุ่มอื่นเรียกชนเผ่านี้โดยเรียกตามวัสดุที่ใช้มุงหลังคา คือ ใบตอง เมื่อใบไม้ใบตองที่มุงหลังคาหรือทำเป็นซุ้ม เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วคนเหล่านี้ก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่นต่อไป DT.H Barnatzik ชาวออสเตรียสำรวจพบ ผีตองเหลือง เมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๙ ในดงทึบเขตจังหวัดน่าน คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “ ยำบรี ” สันนิษฐานว่าเป็นพวกกับ ผีตองเหลือง ที่คณะสำรจวจของสยามสมาคมซึ่งมี นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ เป็นหัวหน้าค้นพบเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ . ศ . ๒๕๐๕ ครั้งนั้นนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ว่าชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “ มระบรี ” ทำเพิงอาศัยอยู่ที่ริมห้วยน้ำท่า ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดน่าน ก่อนนี้ Mr.Oliver Gordon Young รายงานว่าชาวแม้วและชาวมูเซอที่ดอยเวียงผา อ . พร้าว จ . เชียงใหม่ ได้พบ ผีตองเหลือง ในเขตของตนและว่าพวกนี้พูดภาษาว้ากับเรียกตนเองว่า “ โพล ” การที่เรียกตัวเองว่า “ มระบรี มราบรี ” เพราะคำนี้แปลว่าคนป่า “ มรา ” แปลว่า คน “ บรี ” แปลว่า ป่า กล่าวกันว่า ผีตองเหลือง เป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตจังหวัดไซยะบุรี ประเทศลาว ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามภาคเหนือของประเทศไทย อาทิ อำเภอเมือง อำเภอร้องกวาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอสา จังหวัดน่าน ถิ่นที่อยู่ของ ผีตองเหลือง มักจะเป็นเขตชุ่มชื้น ตามความลาดของไหล่เขาอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราวๆ ๓ , ๐๐๐ ฟุตขึ้นไป และตั้งที่พักใกล้แหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคตลอดจนสามารถหากุ้ง ปู ปลา และสัตว์น้ำต่างๆ มาประกอบเป็นอาหารได้ สำหรับรูปร่างลักษณะของ ผีตองเหลือง คือ รูปร่างเล็กแต่แข็งแรง บ้างว่าเหมือนคนทางภาคเหนือของประเทศไทยแต่ผิวคล้ำกว่า เครื่องนุ่งห่มมีแต่ผ้าเตี่ยวผืนเดียวและผ้านุ้งนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อจำเป็นต้องเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อเอาของป่ามาแลกกับข้าวสาร เกลือและของใช้ที่จำเป็น เช่น มีดหรือหอกเท่านั้น เพราะโดยปกติหากอยู่ในกลุ่มพวกพ้องพวกเขาจะเปลือยกาย นอกจากนี้ ผีตองเหลือง ไม่เคยกังวลเรื่องรายได้เพราะพวกเขาไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเงินเลย แม้แต่นับจำนวนก็จะได้อย่างมากแค่สามเท่านั้น การดำรงชีวิตของ ผีตองเหลือง ขึ้นอยู่กับเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือใหญ่รวมทั้งหนู งู เม่น และผึ้งป่า สำหรับผักก็เป็นจำพวกถั่ว ลูกไม้และรากไม้ที่ขุดหามาได้พวกเขาไม่เคยทำไร่ไถนาและไม่เคยปลูกพืชผักใดๆ อาวุธที่ ผีตองเหลือง ใช้คือหอกด้ามยาวซึ่งใช้แทงเท่านั้น เพราะเขาพุ่งหอกไม่เป็น กล่าวกันว่าหอกขิงชนกลุ่มนี้ยาวไม่น้อยกว่า ๑๒ ฟุต นอกจากนี้ ผีตองเหลือง ยังมีความชำนาญในการล่าหมูป่า แม้แต่ชาวมูเซอที่ได้ชื่อว่าเป็นพรานฝีมือฉกาจยังต้องยอมยกให้ ผีตองเหลือง เพราะเวลาที่ออกล่าหมูป่า พวกเขานี้จะเอาขี้หมูมาทาตัวก่อน เมื่อเข้าใกล้ฝูงหมูป่า พวกมันจะไม่รู้สึกตัวเลยจนกระทั่งถูกแทงด้วยหอกในระยะประชิดตัวโดยฝีมือของ ผีตองเหลือง ชาว ผีตองเหลือง มีความเชื่อคล้ายกับชาวเขาเผ่าอื่นๆซึ่งเกี่ยวกับสิ่งลึกลับ เช่น ภูตผีปีศาจ และวิญญาณต่างๆ โดยเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีอำนาจเหนือวิถีชีวิตของพวกเรา จึงมีการเส้นบวงสรวงสิ่งต่างๆ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย อนึ่ง ในคืนวันที่พระจันทร์เต็มดวง ผีตองเหลือง จะทำพิธีถวายเครื่องเซ่นแก่ผีทั้งหลายที่พวกเขานับถือ แล้วจะมีงานรื่นเริง พวกเขาจะเต้นรำไปรอบๆ หอกประจำตัวของแต่ละคนที่นำมาตั้งรวมกันไว้กลางวง การเต้นรำของพวกเขาเป็นเพียงการเดินโยกตัวไปมารอบๆ วง พร้อมกับพลิกมือไปมา ขณะที่โยกตัวก็จะมีการพึมพำเนื้อเพลงไปด้วย สำหรับเนื้อเพลงก็คล้ายกับเพลงของพวกโยนกโบราณ คนที่ไม่ร่วมเต้นรำก็จะล้อมวงปรบมือให้จังหวะเมื่อดึกมากเข้า จึงแยกย้ายกันไปนอนหลับนอกจากนี้ ผีตองเหลือง ยังได้รับการปลูกฝังจากบรรพชนมาเป็นเวลาช้านาน ว่าหากอยู่เป็นหลักแหล่งโดยไม่โยกย้ายไปไหน ผีร้ายจะส่งเสือให้มาคร่าทำลายพวกเขา จึงต้องย้ายที่อยู่เกือบทุก ๕ – ๑๐ วัน ซึ่งการปฏิบัติตามความเชื่อนี้สอดคล้องกับหลักความสมดุลและหลักทางวิชาการบางประการ นั่นคือ อาหารที่มีอยู่รอบบริเวณที่พัก ลดน้อยลง ก็จะย้ายไปหาที่อยู่แห่งใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าลักษณะเพิงที่พักของชนเผ่า ผีตองเหลือง คล้ายกับเพิงหมาแหงนแต่ภายในไม่มีการยกพื้น และปลูกแคร่คร่อมดิน เหมือนเพลิงหมาแหงนโดยทั่วไป ท้ายเพิงมักจะสูงกว่าหน้าเพิงพัก ใช้พื้นดินเป็นพื้นเพิงและนำหญ้าฟางแห้งหรือใบตองมาปูบนพื้น เวลานอนจะไม่หนุนหมอน แต่ตะแคงหูแนบพื้น เพื่อให้สามารถได้ยินฝีเท้าคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้เพิงพักได้ พวกผู้หญิงและเด็กจะอยู่ในกระท่อมที่สร้างบนภูเขาสูง เมื่อพวกผู้ชายไปล่าสัตว์หาของป่า หรืออาหารได้เพียงพอแล้ว จึงจะกลับไปหาลูกเมียครั้งหนึ่ง ด้านสุขนิสัยนั้น ผีตองเหลือง มักจะขับถ่ายตามสุมทุมพุ่มไม้รอบเพิงพัก เมื่อเกิดโรคระบาดจึงสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว การย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยไปยังแห่งใหม่จึงช่วยบรรเทาการระบาดของโรคได้ ในการย้ายที่อยู่จะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า และจะหยุดสร้างที่พักก่อนตะวันจะลับฟ้าด้วยเกรงว่าจะเกิดอันตรายจากการเดินทางและสัตว์ป่าต่าง ๆ ในกรณีที่สมาชิกคนหนึ่งคนใดเสียชีวิต ญาติพี่น้องจะช่วยกันทำศพ โดยนำศพไปวางบนแคร่ที่สร้างไว้บนต้นไม้ใหญ่เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย เช่น เสือมาขุดคุ้ยกินศพ เพราะเชื่อว่าถ้าเสือได้กินศพแล้วอาจติดใจและจำกลิ่นเนื้อคนได้ ต่อมาพบว่ามีการฝังศพแทนการทิ้งศพดังกล่าว และภายหลังจากการฝังศพแล้วจะโยกย้ายที่อยู่อาศัยทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนของวันก็ตาม การสร้างที่พักจึงเป็นแบบเพิงชั่วคราว เนืองจากมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อย ๆ นั่นเอง ธรรมเนียมอย่างหนึ่งของ ผีตองเหลือง คือ ชายหญิงทุกคนต้องเจาะหูทั้งสองข้างตั้งแต่เด็ก รูหูที่เจาะมีขนาดประมาณ 0. ๕ - ๑ . ๐ เซนติเมตร โดยใช้ไม้ไผ่เหลากลมปลายแหลมแทงลงไปบนเนื้ออ่อนบริเวณติ่งหู สมัยก่อนมักจะนำดอกไม้มาเสียบไว้ในรูหูเพื่อเป็นการประดับร่างกาย แต่ในปัจจุบันเมื่อติดต่อกับชนเผ่าอื่น ๆ เช่น ม้งหรือเย้า ทำให้ธรรมเนียมนี้ลดความนิยมลงไป แต่ก็ยังมีปรากฏให้เห็นบ้างประปราย ในจำนวนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ผีตองเหลืองชอบติดต่อแลกเปลี่ยนของป่ากับพวกแม้วและมูเซอเท่านั้น สำหรับชาวเขาเผ่าอื่นนั้น พวกเขาจะไม่กล้าเข้าไปหา เคยมีเรื่องเล่าว่ามีชาวเขาเผ่าอื่นที่ไม่รู้จักผีตองเหลือง เมื่อเห็นพวกเขาเข้าไปในถิ่นของตนจึงยิงเอา อนึ่ง ชาวเขาหลายเผ่าเชื่อว่าพวกผีตองเหลืองเป็น “ ผี ” จริง ๆ ไม่ใช่คน และเชื่อว่าผีเหล่านี้จะนำความหายนะมาสู่ตน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ติดต่อกับผีตองเหลือง ทว่า ผีตองเหลืองสามารถอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านของชาวเขากลุ่มนั้น โดยที่พวกเขาไม่มีโอกาสรู้เลย แม้ว่าชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นจะรับเอาความเจริญจากสังคมพื้นราบเข้าไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมตลอดจนวิถีความเป็นอยู่ต่าง ๆ แต่สำหรับผีตองเหลืองการเปลี่ยนแปลงยังคงมีน้อย สามารถรักษาวิถีชีวิตแบบเก่า ๆไว้ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการย้ายที่อยู่บ่อย จึงไม่ค่อยได้สมาคมกับคนภายนอกเผ่า อีกทั้งอิทธิพลความเชื่อถือที่ยึดมั่นมาตั้งแต่ครั้งอดีตยังฝังอยู่ในจิตใจของชนกลุ่มนี้อย่างเหนียวแน่น ปัจจุบันนี้ ประมาณกันว่าจำนวนของผีตองเหลืองในประเทศไทยมีไม่เกิน ๑๕๐ คน จึงนับว่าพวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนน้อยที่สุดในประเทศไทย

ข้อมูลจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น